“ปกติเป็นคนไม่ชอบการเขียนเท่าใดนัก จะชอบเล่าเรื่อง ชอบพูดมากกว่า พอได้เขียนเรื่องราวในอดีตของตนเอง เป็นที่น่าแปลกใจมาก มันทำให้เรามองเห็นตัวเองมากขึ้น ทั้งไที่ความจริงแล้ว เราเล่าเรื่องเหล่านี้บ่อยๆ แต่เรากลับรู้สึกเฉยๆ อย่างมากก็แค่ตลกขบขันแค่นั้น ทำให้รู้สึกรักการขีดเขียนมากขึ้น และเห็นประโยชน์ในการนำใช้ กับผู้อื่นได้ด้วยค่ะ อีกสิ่งหนึ่งที่ประทับใจมากคือ ครู ที่ตอบและให้คำแนะนำเร็วมาก และ ทำให้เราปลดล็อกเป็นเรื่องๆ ขอบคุณมากค่ะ ชอบหัวข้อ ที่เขียน เกี่ยวกับในวันเด็ก. ที่มีส่วนขโมยเงินเพื่อนบ้าน เพราะมันช่วยปลดล็อก เรื่องนี้ได้ เพราะมันจะบอกตัวเองตลอดว่าเราทำผิด. ทำให้เรากลายเป็นคนปฏิเสธเงิน หาได้เยอะก็หมดไปอย่างง่ายดาย
.
“ความจริงเรามีศักยภาพมากพอในตัวเอง ในสมัยเด็กๆ เราตัวเล็กๆ เรายังสามารถแก้ปัญหาได้อย่างยอดเยี่ยม และประสบความสำเร็จทุกอย่างที่เราแก้ บางอย่างน่าทึ่ง พอเราโต เรามีความกลัวปิดกั้น จนมองไม่เห็นศักยภาพของตน ทำให้เรามีพลังที่จะเดินสู่เป้าหมาย และเชื่อมั่นว่าเราทำได้แน่นอน”
.
ฌณาธิปว์ (ยูอีส) อาชีพ รับราชการ
.
.
“ได้เรียนรู้ว่า ปมปัญหาที่เลือกมาตอนต้นการเรียน 3 ประเด็น คือ วิพากษ์วิจารณ์ตัวเองสูง เต็มไปด้วยความอับอายไม่อดทน/ไม่ใจกว้างกับพฤติกรรมคนอื่น และขาดทักษะในการทำสิ่งต่างๆ ให้สำเร็จ/ขาดพลัง หรือความพยายามให้ประสบความสำเร็จ มีความเชื่อมโยงกันอย่างมาก ดังนั้นเมื่อเริ่มทำความเข้าใจประเด็นใดประเด็นหนึ่ง ก็ทำให้ประเด็นอื่นเริ่มคลี่คลายลงด้วย เช่น เมื่อฉันเริ่มสนทนากับตัวตนของฉันเอง และเริ่มพิจารณาแง่มุมต่างๆ ของการวิพากษ์วิจารณ์ตัวเอง ว่าสัมพันธ์กับความรู้สึก หรือมาจากความต้องการใดกันแน่ (ที่จริงกระบวนการเขียนโดยไม่หยุดปากกา หรือเขียนโดยไม่ตัดสินตัวเองก็ช่วยให้เข้าใจประเด็นนี้ได้มากขึ้นด้วย ในทางที่กายภาพสัมพันธ์กับความคิด) กระบวนการไม่ได้ทำฉันย้อนกับไปแก้ไขความเข้าใจเรื่องราวในอดีต แต่ทำให้เห็นความเป็นไปได้ที่จะเปลี่ยนท่าทีการตอบสนองแบบเดิมที่เคยทำมาซ้ำๆ หลังจากทำแบบฝึกภายในตัวฉันได้เงียบเสียงวิพากย์วิจารณ์ตัวเองลง โดยไม่ได้ผ่านความเข้าใจตามเหตุผล ซึ่งทำให้ฉันสังเกตว่าตัวเองสามารถทำงานต่างๆ ได้ง่ายขึ้น ร้อนรนน้อยลง รู้สึกกดดันน้อยลง และเมื่อทำงานเสร็จแล้วฉันรู้สึกประหลาดใจ ที่ฉันชอบผลงานของตัวเองมากกว่าแต่ก่อน อย่างไรก็ตามฉันคิดว่ากระบวนการอบรม ไม่ใช่ยาวิเศษที่สามารถแก้ปัญหาได้ทันทีเมื่อเริ่มใช้ แต่เป็นวิธีการในการฝึกฝนตนเอง เพื่อเติบโตขึ้นทีละเล็กทีละน้อย
.
“กระบวนการอบรมให้ประสบการณ์ในการมองเห็นการเปลี่ยนแปลงของความสัมพันธ์ของความคิด ความรู้สึก และความต้องการ พอองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งเปลี่ยน อย่างอื่นก็เปลี่ยนตามไปด้วย ซึ่งฉันเป็นผู้ตัดสินใจเลือกตอบสนองกับมันด้วยตนเองได้ และเมื่อฉันเฝ้ามองและสนทนากับตัวตนภายในของฉันเอง จนจบกระบวนการ ฉันก็ได้เห็นความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ไปจนตลอดทาง ทำให้เกิดการเรียนรู้ข้างในใจ หลักๆ แล้ว ฉันเรียนรู้ว่าไม่ว่าความคิด ความรู้สึก หรือความต้องการ ล้วนเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ ไม่คงที่ เรียนรู้ว่าฉันไม่จำเป็นต้องตัดสินถูกผิดกับปรากฏการณ์หรือเรื่องราวเหล่านี้ว่าดีหรือไม่ดีก็ได้ และเรียนรู้ว่าตัวเองมีศักยภาพที่จะโอบอุ้มสิ่งที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของฉันเองได้ มอบมิตรภาพให้กับตัวเองได้
.
“ฉันรู้สึกใกล้ชิดกับตัวเองมากขึ้น ฉันได้ทำความรู้จักกับเด็กน้อยที่อยู่ข้างในจิตใจมากขึ้น เด็กน้อยช่วยให้ฉันค้นพบแง่มุมของตัวเองที่ถูกพับเก็บซ่อนไว้ และช่วยกันคลี่คลายเรื่องราวต่างๆ ออกมาอย่างกล้าหาญ และทำความเข้าใจร่วมกัน ฉันพบว่าเด็กน้อยไม่ได้อ่อนแออย่างที่ฉันเคยเข้าใจ ฉันจึงคิดว่าฉันไม่จำเป็นต้องพยายามปกป้องเด็กน้อยอย่างที่เคยทำมาอีกต่อไป แต่สิ่งที่ฉันจะทำคือการจูงมือกับเธอ สำรวจโลกแห่งความเป็นไปได้ใหม่ๆ ไปด้วยกัน”
.
เพ็ญรุ่ง (ฟาง) อาชีพ เกษตรกรฝึกหัด
.
.
“รู้สึกว่าการอบรมแบบนี้ทำให้ได้มีเวลาให้กับตัวเอง ได้ทบทวนตัวเองมากขึ้น ได้เอาความคิดและ สิ่งที่เคยลืมไปแล้วมาปัดฝุ่นใหม่ ทำให้รู้สึกว่า ชีวิตของเราที่ผ่านมา มีความสวยงามเพียงใด ได้เห็นความแตกต่างระหว่าง วัยเด็กในอดีต กับ ปัจจุบันมากขึ้น ได้เห็นการเติบโต และ การพัฒนาด้านความคิดที่เปลี่ยนไปจากอดีต รู้สึกดีที่มีครูช่วยป้อนคำถาม หาก ครูรู้สึกว่า เราสามารถสืบค้นได้อีก เพราะ การทำอีก การเขียน เขียนเยอะ ๆ ยิ่งทำให้เราได้มีโอกาสคุยกับตัวเองมากขึ้น ซึ่งหากไม่ได้อบรม ก็คงไม่ได้คุยกับตัวเอง ค้นหาตัวเองได้มากขนาดนี้ เพราะ เราคงเวลาไปทำอย่างอื่น ที่เราคิดว่า มันเร่งด่วน
.
“การทำแบบฝึกหัด ในมุมหนึ่ง เหมือนได้ผ่อนคลาย เพราะมีกิจกรรมวาดรูป มีกิจกรรม การให้จิตนาการ โดยใช้ความเงียบ การหลับตา นึกภาพ ซึ่งทำให้รุ้สึกผ่อนคลาย และ เหมือนได้พักผ่อน รวมถึงการได้วาดรูป และระบายสี ส่วนตัวมีความรู้สึกว่า เป็นกิจกรรมที่ไมได้ทำบ่อยนัก ในชีวิตประจำวัน ดังนั้น จึงชอบช่วงนี้ของกิจกรรมมาก และ คิดว่า หากมีความต้องการ การพักผ่อน การทำแบบนี้จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่คิดว่า จะทำ ค่ะ นอกจากนั้น ก็ยังทำให้เราได้เข้าใจคนอื่นมากขึ้น หลังจากที่เราได้ เขียนถึงตัวเองมาก ๆ เพราะคิดว่า แต่ละคนไม่เหมือนกัน เราเป็นคนที่ชอบช่วยเหลือ ชอบเรื่องผู้คน แคร์คน กิจกรรมนี้ ก็ทำให้เราได้เข้าใจคนอื่นมากขึ้น ว่า แต่ละคนต่างกัน และ ก้พบว่า ตัวเองก็มีอะไรที่อยากทำอีก ดังนั้นเราควรให้เวลากับตัวเราให้มากขึ้นกว่านี้”
.
วิชภา (อึ๊บ) อาชีพ นักศิลปะบำบัด
???????? คอร์ส “เด็กน้อยภายใน” Recovery Of Your Inner Child
เพื่อการบ่มเพาะความรักและการเยียวยาตนเอง ในหลักสูตร เขียนเปลี่ยนชีวิต
????ผ่านการเรียนรู้ทางไกลสี่สัปดาห์ ผ่านการเขียนบันทึก การศึกษาเนื้อหา และการตอบคำถามแลกเปลี่ยนกับครู
???? อ่านรายละเอียดและสมัครได้ที่
www.dhammaliterary.org/เด็กน้อยภายใน/