วิทยาศาสตร์แห่งการเขียนบำบัด

ทุกวันนี้ มีการศึกษาคุณประโยชน์จากการเขียนบันทึกอย่างแพร่หลาย ซึ่งค้นพบว่ามิเพียงส่งผลสำคัญด้านจิตใจเท่านั้น แต่ยังส่งผลถึงสุขภาพทางร่างกายและระบบอวัยวะอีกด้วย (Smyth, 1998) นักวิจัยหลายท่าน (อย่าง Greenberg et al., 1996; Spera et al., 1994; Pennebaker and Francis, 1996) รายงานว่าผู้ที่ได้เขียนบันทึกจะช่วยคลายความทุกข์ ความเจ็บปวด และความโศกเศร้า และรู้สึกดีขึ้นมาก มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อีกท่าทีต่อผู้อื่น (Pennebaker & Graybeal, 2001) งานศึกษาอื่นพบว่าผู้ที่เขียนบันทึกต่อเนื่องเป็นช่วงเวลาหนึ่ง (1เดือน) ทำให้อารมณ์ความรู้สึกอยู่ดีมีสุขมากยิ่งขึ้น (Park & Blumberg, 2002) แต่ละวันรู้สึกแจ่มใสกว่าแต่ก่อน (Páez et al, 1999) มีอาการซึมเศร้าน้อยกว่าเดิม (Lepore, 1997)

 

การเขียนบันทึกช่วยฟื้นฟูสภาพจิตใจ สำหรับความผิดปกติหลังผ่านภยันอันตราย (Posttraumatic stress disorder) ดูแลความหลังฝังใจ ฝันร้าย และประสบการณ์ที่ไม่พึงปรารถนา และช่วยพวกเขาค่อยๆเชื่อมโยงกับกิจกรรมและสถานที่ที่พวกเขาพยายามปฏิเสธ (Klein & Boals, 2001; Sloan & Marx, 2004a) ทั้งผู้ที่รอดชีวิตจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ (Smyth et al, 2002) สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก (O’Connor et al, 2003) ผู้ที่มีผู้ปกครองติดเหล้า (Gallant & Lafreniere, 2003) ผู้ที่วัยเด็กประสบกับความเจ็บป่วยเรื้อรัง (Schwartz & Drotar, 2004) ผู้ที่เพิ่งผ่านความสัมพันธ์ที่แตกสลาย (Lepore & Greenberg, 2002) นักเรียนที่คิดฆ่าตัวตาย (Kovac & Range, 2002) และผู้หญิงที่ติดในมุมมองเชิงลบต่อร่างกายตัวเอง (Earnhardt et al, 2002) โดยยังไม่ปรากฏชัดเจนว่าบุคคลแบบไหนจึงจะใช้วิธีการเขียนบันทึกได้ผลหรือไม่ได้ผล (Christensen et al., 1996)

 

มีหลายกรณีศึกษาที่สังเกตว่าการเขียนบันทึกเกี่ยวกับอารมณ์และประเด็นส่วนตัวอย่างต่อเนื่องมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (Petrie et al, 2004) รวมทั้งเพิ่มปริมารณเซลล์ทีเฮลล์เปอร์ แอนตี้บอดี้ที่ตอบสนองต่อไวรัส Eptstein-Barr และ วัสซีนต้านไวรัสตับอักเสบบี (Pennebaker, 1997) ด้วยเหตุผลนี้ ผู้ที่ไปโรงพยาบาลพบว่าความเจ็บป่วยโดยรวมลดลง (Norman et al, 2004) ทั้งระบบตับ (Francis & Pennebaker, 1992) ระบบรังไข่ (Smyth et al, 1999) และความดันโลหิต (Davidson et al, 2002) เป็นต้น

 

การเขียนบันทึกยังส่งผลให้ผู้ที่เพิ่งถูกขับออกจากงานได้กลับมาทำงานใหม่ (Spera et al, 1994) หยุดงานน้อยลง (Francis & Pennebaker, 1992) มีค่าเฉลี่ยเกรดสูงขึ้น (Cameron & Nicholls, 1998) ศักยภาพโดยรวมด้านกีฬาสูงขึ้น (Scott et al, 2003 และแม้กระทั่งมีความจำดีขึ้น (Klein & Boals, 2001) และพบว่าการเขียนบันทึกส่งผลกระทบให้เกิดการจังหวะหัวใจเต้นช้าลง การเปลี่ยนแปลงการนำไฟฟ้าบนผิวหนัง (electrodermal activity) และการทำงานของกล้ามเนื้อ ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนไปในทิศทางของสุขภาพดี (Pennebaker, 1997)

 

กว่า 20ปีที่ผ่านมาของการวิจัยเกี่ยวกับการเขียนบันทึก หลักฐานสนับสนุนคุณประโยชน์ของการเขียนบันทึกอย่างแข็งขันและเติบโตขึ้นทุกๆปี (Baikie and Wilhelm, 2005)