คัดบางถ้อยคำจากบันทึกและสรุปบทเรียน
คอร์ส “ปฏิบัติ #เขียนภาวนา” พฤษภาคม 2564 (4)
สิ่งที่ได้รับจากการฝึกเขียนภาวนา…
“โลดแล่น กระโจน ยึดเกาะ บีบคั้น หลง ส่งไป ลืมลม
ลมเข้า ลมออก จังหวะชีวิต ดึงกลับ ความจริง ปัจจุบัน
อย่างอื่น จบลง ผ่านมา แฉลบไป ไม่ฝัง เข้าใน
เห็นฝืน เห็นขัด เห็นร้อน เห็นอยาก เห็นหลง เห็นเร็ว ไม่ฝัง เข้าใน
อาการ จบลง ผ่านมา แฉลบไป อยู่ได้ ความจริง เป็นกลาง
ไม่ใช่เรา เป็นแค่
สมมติ ละคร
แต่ยังไม่จบ วางเราที่ดูละคร
“Breath out = ครู (ติดตัวปัจจุบัน)”
/ คุณวาว ผู้เขียน
.
.
“หายใจออก กำหนด ประคองสติ
เขียน-เมื่อออก หยุด-เมื่อเข้า สติตั้ง
หยุดแล้วรู้ สติมา กุศลยิ่ง
ไม่เตลิด เพลิดเพลิน เป็นอาจิณ
ตั้งสติรู้ การโลดแล่น ของจิตเรา
สติรู้ การกระทำ กรรมที่ก่อ
รู้กุศล เพลินกุศล หลงกรรม
วิบากตาม กรรมที่ก่อ อย่างแท้จริง
หยุดวิบาก ด้วยกรรมดี ด้วยสติ”
/ คุณหมู ผู้เขียน
.
.
“การเปลี่ยนแปลงสำคัญของตนเองจากการฝึกที่ผ่านมา : มุมมองต่อพุทธศาสนา และการปฏิบัติสมาธิ เพราะปกติไม่ค่อยมีความเชื่อไม่ปฏิบัติมาก่อน ทำแค่เข้าวัด ตักบาตร ปกติ , ท้าทายตนเอง พบเจอสิ่งใหม่ และภาคภูมิใจตนเอง , รู้สึกว่า ได้ใช้ชีวิต เพราะทำด้วยความสนุก ปีติใจ
“ข้อความหรือภาพวาดที่วาดเขียนในคอร์สสอนอะไรกับตนเองบ้าง : ทบทวนตัวเองในบางโจทย์ว่าเรากำลังรู้สึกนึกคิดอะไร , ค้นหาตัวเองในบางโจทย์กับคำถามที่เราไม่ได้เคยถามตัวเอง , ต่อสู้กับตนเองต่อนิวรณ์ กิเลสที่เกิดขึ้น อาจจะทั้งแพ้หรือชนะ แต่เป็นการได้รู้จักตัวเอง ว่ากำลังทำอะไร รู้สึกอะไร”
/ คุณหมูแดง ผู้เขียน
.
.
“มีจุดเด่นต่างจากการภาวนาแบบอื่น คือต้องการให้เราคงรูปแบบการเขียนไว้ แต่ก็ทำการภาวนาไปด้วย คือ เขียนแบบมีสติด้วย และเขียนตามจังหวะลมหายใจตามธรรมชาติด้วย และเขียนโดยไม่คิดด้วย ถือเป็นการฝืนความเคยชิน กว่าจะหาจุด balance ได้ ถือว่าเป็นความท้าทายค่อนข้างมาก และทำให้เราต้องค้นพบจุดที่ “เหมาะสม พอดี” ของตัวเราให้เจอ
“กิจกรรมจากการอบรมที่เห็นว่าเป็นประโยชน์และหลักการของการเขียนภาวนาที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง คือ “ฝึกทบทวนตนเองด้วยกระบวนการเขียนภาวนา ตั้งแต่ เดินคิด-นั่งสมาธิ-เขียนบันทึก” เพื่อใครครวญตนเอง ทบทวนชีวิต สะท้อนจิตใจ เป็นการฝึกโยนิโสมนสิการเป็นหนทางพัฒนาตัวเองให้มีปัญญาอย่างแท้จริง
“สิ้นลมหายใจ สิ้นไร้ชีวิต
แต่ถ้ามีชีวิต แบบขาดสติ
จะมีประโยชน์อันใด
รู้ลมหายใจเข้า จึงรู้ลมหายใจออก
เขียนเพื่อหยุด หยุดเพื่อเขียน
ไม่อาจปราศจากกันและกัน
เขียนตามลม ใช่เขียนตามใจ
เขียนตามหัวใจ ใช่เขียนตามความคิด
เขียนเพื่อภาวนา ใช่เขียนเพื่ออัตตา
หยุดเพื่อฟัง ถ่ายทอดสิ่งที่รับรู้
ใคร่ครวญเพื่อเข้าใจ
เห็นตน เห็นทุกข์ เห็นธรรม
ปล่อยวาง อัตตา และสรรพสิ่ง
เป็นอยู่ ดั่งไม่เป็น
มีดั่งไม่มี
เขียน ดั่งไม่เขียน
“เห็นทางออกของปัญญา รู้ว่าการเดินสายกลางควรเป็นเช่นไร ทำทีละน้อย ทำด้วยมานะ และมีศรัทธา ว่านี่คือทางพ้นทุกข์ เหมือนเห็นแผนที่ ได้ลองเดินทีละก้าว มีกำลังใจ มีตัวเองเป็นเพื่อน”
/ คุณอี๊ด ผู้เขียน
.
.
“บนเส้นทางแห่งเวลา
มีเจ้านายหลายคน
ควบคุมจังหวะ รู้จักเจ้านาย
ปล่อยเป็นตามจังหวะ
เห็นบทเพลง ทั้งหมด
เป็นเพื่อนร่วมทาง
จบบทความ ยังมีเวลา ยังมีหนทาง
เพื่อนร่วมทางเดินร่วมไป
จนถึงกาลไร้เวลา
“โจทย์ของการเขียนภาวนา = ศีล ทำให้เวลาช้าลง ทำให้เราหยุดวิ่งและเดินตามกิเลสได้ จังหวะที่มีการจดจ่อต่อการเขียน มีพลังมาก มีความเต็มทำให้เราหนักแน่น
ข้อความและภาพวาดในโจทย์เขียนภาวนา สะท้อนความจริงในใจที่อาจสะท้อนความจริงของสรรพสิ่ง เราให้ค่ากับความหมายของคำและภาพวาดน้ำ สุดท้ายกลับมาดูมันก็คือ ตัวอักษรบนหน้ากระดาษ ถ้าเรารื้อฟื้นดึงอารมณ์และให้ค่ามัน “ตัวตน” ก็เกิดขึ้นทันที
ทั้งหมดนี้ต้องหาทางสร้างสมดุล รูปธรรม vs นามธรรม โลก vs ธรรม ชีวิตต้องดำเนิน ความเรียบง่ายบนความซับซ้อนที่อยู่เบื้องหลัง รู้เป้าหมายใหญ่และเป้าหมายย่อย เพียรและวิริยะ จะช่วยในเราพัฒนาโยนิโสมนัสสิการ จะป็นดวงไฟส่องสว่าง ไปยังหนทางข้างหน้า”
/ คุณอุ๊ ผู้เขียน
หลักสูตร ปฏิบัติ เขียนภาวนา
https://punnspace.com/p/practice-meditationwriting
โครงการ ห้องเรียน เขียนภาวนา
https://www.dhammaliterary.org/เขียนภาวนา/