การเขียนบำบัดร่วมกับกระบวนการจิตปัญญาศึกษา เพื่อส่งเสริมสุขภาวะผู้ต้องขังที่ติดเชื้อเอชไอวี
สถาบันธรรมวรรณศิลป์ ร่วมกับ กลุ่มเพื่อนรัก โรงพยาบาลบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ได้ศึกษาและรายงานผลการศึกษา การเขียนบำบัดร่วมกับกระบวนการจิตปัญญาศึกษา เพื่อส่งเสริมสุขภาวะผู้ต้องขังที่ติดเชื้อเอชไอวี
ใน โครงการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (Routine to Research) จังหวัดสมุทรปราการ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๘ ณ อิมพีเรียล สำโรง จังหวัดสมุทรปราการ
เอกสารรายงานโครงการ *ขอสงวนสิทธิ์ในการเผยแพร่เว้นได้รับอนุญาตจากผู้เกี่ยวข้อง
โครงการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาผ่านการเขียนบำบัด กลุ่มผู้ต้องขังแดนหญิงในเรือนจำสมุทรปราการ
มองตนเองอย่างหม่นหมอง และ สภาพปัญหาที่พบ
- ผู้ติดเชื้อรู้สึกด้อยคุณค่า และ น่ารังเกียจ
- ผู้ติดเชื้อขาดแรงจูงใจรักษาตนเอง และไม่เรียนรู้พัฒนาตนเองจากปัญหา
- ผู้ติดเชื้อรู้สึกขาดความมั่นใจในการอยู่ร่วมกับสังคม
และมีปัญหาด้านความสัมพันธ์ - ผู้ติดเชื้อขาดเจตจำนงเชิงบวกต่อการใช้ชีวิต
- ผู้ติดเชื้อไม่สามารถดูแลความรู้สึกเชิงลบในจิตใจ
- ผู้ติดเชื้อมีมุมมองเชิงลบต่อร่างกายตนเอง
- ผู้ติดเชื้อรู้สึกขาดอิสระ ขาดแรงบันดาลใจ และความฝัน
กิจกรรมที่ดำเนินการ ระยะเวลา 6 เดือน มากราคม – มิถุนายน 2558
- 1. รับสมัครผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้แก่ผู้ต้องขังหญิง (เรือนจำสมุทรปราการ แดน 4) ที่ติดเชื้อเอชไอวีชี้แจงขั้นตอนของกระบวนการ
- 2. นัดหมายการทำกิจกรรมโดยกำหนดทำกิจกรรมในวันพุธที่ 3 ของเดือน เดือนละ 1 ครั้ง
- 3. ดำเนินกิจกรรมตามกระบวนการที่กำหนดไว้
เนื้อหาของกิจกรรม
ครั้งที่ 1 วันที่ 14 เดือน มกราคม พ.ศ. 2558 เวลา 09.30-12.30 น. เรือนจำกลางสมุทรปราการ
ผู้เข้าร่วมสร้างสัมพันธภาพ / ทำสมุดบันทึกของตนเอง เป็นสมุดบันทึกที่เย็บด้วยเข้าเล่มด้วยตนเอง / ปรับเปลี่ยนมุมมองต่อการเขียนบันทึกเพื่อแปรเปลี่ยนทัศนคติต่อการเขียนจากเพื่อการสื่อสารต่อผู้อื่นอย่างถูกจำกัดเงื่อนไข เป็นการกลับมาสื่อสารกับตนเอง และมีพื้นที่อิสระ การสร้างความสัมพันธ์ต่อการเขียนเป็นการผูกใจต่อเครื่องมือบำบัดและส่งเสริมความสัมพันธ์ต่อตนเอง ผู้เข้าร่วมได้เขียนบันทึกจากการสังเกตความรู้สึก ความคิด ความต้องการ และใคร่ครวญชีวิต และให้ไปบันทึกต่อเพื่อกลับมาพบกันในครั้งต่อไป
ครั้งที่ 2 วันที่ 17 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 เวลา 09.30-12.30 น. เรือนจำกลางสมุทรปราการ
เนื้อหาของการอบรมประกอบด้วย การสร้างความสัมพันธ์ และการกลับมาสื่อสารกับตนเองในพื้นที่อิสระคือการเขียน ในครั้งนี้ผู้เข้าร่วมการอบรมได้มีการขยายพื้นที่การรับรู้ของตนเองให้เพื่อนร่วมกลุ่มรับทราบ กระบวนการอบรมในครั้งที่สองนี้ได้เปิดพื้นที่ดูแลใจและทบทวนความทุกข์ในชีวิตที่ผ่านมา ซึ่งการเล่าถึงประสบการณ์อันเจ็บปวดในอดีต จะช่วยให้อารมณ์ด้านลบที่เก็บอยู่ในจิตใจและมีอิทธิพลต่อร่างกายได้รับการดูแลและรู้เท่าทัน (Louise Desalvo อาจารย์แห่ง Hunter College เด็กที่ถูกกระทำความรุนแรงทางเพศ และบาดแผลทางด้านจิตใจอื่นๆ เช่น การถูกข่มขืน การสูญเสียบุคคลใกล้ชิดด้วยอุบัติเหตุหรือการฆ่าตัวตาย หากพวกเขาไม่ได้เล่าเรื่องหรือกล่าวถึงประสบการณ์เลวร้ายและความรู้สึกของตนเอง มีแนวโน้มว่าจะต้องเจ็บป่วยอย่างรุนแรงมากกว่ากลุ่มเด็กที่ได้เล่าเรื่องราวของตัวเอง ได้ปล่อยปล่อยความคิดเชิงลบที่เก็บไว้ในจิตใจ ซึ่งทำให้ระบบภูมิคุ้มกันเสื่อมถอยและเพิ่มความเจ็บป่วยของร่างกาย(๑๙๙๙))
ครั้งที่ 3 วันที่ 10 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2558 เวลา 09.30-12.30 น. เรือนจำกลางสมุทรปราการ
ครั้งที่ 4 วันที่ 22 เดือนเมษายน พ.ศ. 2558 เวลา 09.30-12.30 น. เรือนจำกลางสมุทรปราการ
การอบรมในครั้งที่สามและสี่ ผู้ต้องขังได้เรียนรู้จักตนเอง ทั้งด้านลักษณะนิสัย ความเหมือนและความแตกต่างของตนกับเพื่อน ใคร่ครวญสิ่งดีงามของตนเองและสิ่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไข เห็นหนทางพัฒนาชีวิตด้วยการคิดทบทวนอย่างเห็นคุณค่าในตัวเอง การเห็นคุณค่าในตัวเองเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาสุขภาวะด้วยตนเองของคนไข้ “ไม่มีอะไรที่จะเป็นอุปสรรคขัดขวางการสร้างสุขภาพจิตที่ดี และสังคมที่ดีได้มากไปกว่าความรู้สึกว่าเราเป็นคนไม่สำคัญ ไม่น่ารัก ไม่น่าปรารถนา”(เอ็ม. สก็อต เปค, 2553 : 87)
ครั้งที่ 5 วันที่ 20 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558 เวลา 09.30-12.30 น. เรือนจำกลางสมุทรปราการ
ครั้งที่ 6 วันที่ 24 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558 เวลา 09.30-12.30 น. เรือนจำกลางสมุทรปราการ
การอบรมครั้งที่ห้าและหก เนื้อหาสำคัญหนึ่งคือการมองยังคนที่ตนเองรู้สึกรักและคนที่รู้สึกชัง เพื่อตระหนักว่าคนๆ นั้นมีสิ่งที่ชื่นชมและรังเกียจเช่นเดียวกับตัวเรา การมองลึกในตัวผู้อื่นยังบ่มเพาะความเมตตากรุณา อันจะนำมาสู่การดูแลตนเอง และปรับเปลี่ยนท่าทีต่อความสัมพันธ์ผู้อื่นใช้กิจกรรมพูดคุยเพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองต่อกันและกันหลังบันทึก และถอดบทเรียนจากกิจกรรมกลุ่มเพื่อจุดประกายการสร้างพื้นที่ความไว้วางใจให้แก่เพื่อนและในสังคมที่ตนอยู่อาศัย
การอบรมทุกครั้งผู้ต้องเข้าร่วมจะได้ฝึกสมาธิภาวนาระยะสั้นเพื่อกลับมารับรู้อารมณ์ความรู้สึกภายใน และเพื่อให้ใจกระจ่างสามารถทบทวนสิ่งต่างๆ ได้อย่างดี ผ่านการสงบนิ่ง กิจกรรมเคลื่อนไหว และการวาดเขียน โดยการเขียนจะพากลับมาอยู่กับอารมณ์ความรู้สึกและการคิดของตน ใคร่ครวญอย่างมีสติ เพื่อความผ่อนคลายและเกิดปัญญา ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาตัวเองและการเยียวยาตามหลักศีล สมาธิ และปัญญา (อนุรักษ์ เม่นหรุ่ม ,2557)
แบบทดสอบอ้างพัฒนาจาก Charles L. Whitfield , M.D. กับ Cathryn L. Taylor , M.A. , M.F.C.C
ผลจากการศึกษาพบในเชิงสถิติ ดังนี้
หลัง | ก่อน | ต่าง | |||
ประเมินผลด้านการตระหนักในอารมณ์ความรู้สึก ความสามารถรับมือความทุกข์ และการมีความรู้สึกเชิงบวก | |||||
เข้าใจความรู้สึกของตนเอง | 4.333333 | 3.833333 | 0.5 | ||
รับฟังผู้อื่นได้ | 4.333333 | 3.75 | 0.583333 | ||
สามารถดูแลความรู้สึกด้านลบในตนเอง | 3.916667 | 3 | 0.916667 | ||
ฉันเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น | 4.25 | 3.166667 | 1.083333 | ||
แสดงออกความรู้สึกและความต้องการได้ | 4.166667 | 3.333333 | 0.833333 | ||
มั่นใจในคุณค่าของตน | 4.5 | 3.916667 | 0.583333 | ||
รู้สึกเป็นอิสระ | 2.916667 | 2.25 | 0.666667 | ||
เรียกร้องขอความเห็นใจ | 3.666667 | 3.166667 | 0.5 | ||
กล้าตัดสินใจด้วยตนเอง | 4.25 | 3.75 | 0.5 | ||
รู้สึกปลอดภัย | 3.75 | 3.5 | 0.25 | ||
สามารถเผชิญหน้ากับด้านที่เปราะบางในตัวเอง | 3.5 | 3.166667 | 0.333333 | ||
ให้อภัยผู้อื่นต่อสิ่งที่เขาทำผิดต่อฉัน | 4 | 3.166667 | 0.833333 | ||
ปฏิบัติต่อตนเองอย่างเห็นคุณค่า | 4.166667 | 4 | 0.166667 | ||
ปฏิบัติต่อชีวิตอื่นและคนอื่นอย่างเห็นคุณค่า | 4.25 | 3.5 | 0.75 | ||
อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ | 4.5 | 4 | 0.5 | ||
มีแรงผลักดันและความใฝ่ฝัน | 4.333333 | 3.833333 | 0.5 | ||
นัยยะสำคัญ | 0.0001 |
ประเมินผลด้านทัศนคติเห็นคุณค่าและมีท่าทีเชิงบวกต่อร่างกาย | |||||
รักร่างกายตนเอง | 4.75 | 4.583333 | 0.166667 | ||
เห็นคุณค่าของส่วนต่างๆ ของร่างกายนี้ | 4.75 | 4.166667 | 0.583333 | ||
ใช้ร่างกายอย่างถนอม | 4.5 | 3.666667 | 0.833333 | ||
ไม่บั่นทอนสุขภาพด้วยความคิดด้านลบ | 3.25 | 3.083333 | 0.166667 | ||
ไม่บั่นทอนสุขภาพด้วยการกิน ดื่ม หรือ เสพ | 3.666667 | 3.666667 | 0 | ||
ดูแลรักษาความสะอาดร่างกาย | 4.5 | 4.166667 | 0.333333 | ||
รู้สึกมั่นใจในศักยภาพของร่างกาย | 3.75 | 3.166667 | 0.583333 | ||
กระชับกระเฉง มีชีวิตชีวา | 3.666667 | 3.333333 | 0.333333 | ||
ร่างกายของฉันมีความสุข | 3.666667 | 3.333333 | 0.333333 | ||
ดูแลปัญหาสุขภาพด้วยความรู้สึกเชิงบวก | 3.666667 | 3.666667 | 0 | ||
ปรารถนาดีต่อร่างกาย | 4.416667 | 4 | 0.416667 | ||
สามารถรับฟังสัญญาณและการสื่อสารจากร่างกาย | 3.75 | 3.166667 | 0.583333 | ||
สามารถสื่อสารกับร่างกายอย่างกรุณา | 3.083333 | 2.833333 | 0.25 | ||
มีกิจกรรมดูแลหรือออกกำลังกาย | 2.666667 | 2.583333 | 0.083333 | ||
รู้สึกมีพื้นที่ส่วนตัวที่ปลอดภัย | 3.166667 | 3 | 0.166667 | ||
ดูแลและใช้งาน หัวคิด – จิตใจ – ร่างกาย สมดุล | 3.666667 | 3.333333 | 0.333333 | ||
นัยยะสำคัญ | 0.0001 |
ประเมินผลด้านทัศนคติเชิงบวกต่อตัวเอง | |||||
เข้าใจว่าทุกชีวิตมีคุณค่า | 4.583333 | 4.25 | 0.333333 | ||
เห็นจุดเด่น จุดด้อยในตนอย่างหลากหลาย | 4.25 | 3.083333 | 1.166667 | ||
เห็นศักยภาพและความสามารถของตนเอง | 3.75 | 3.25 | 0.5 | ||
ตนมีคุณค่า | 4.5 | 4.083333 | 0.416667 | ||
สมควรได้รับความรักและการยอมรับ | 4.083333 | 3.75 | 0.333333 | ||
มีศักดิ์ศรีและเกียรติ | 4.416667 | 3.916667 | 0.5 | ||
มีความบริสุทธิ์ภายในจิตใจ | 4.666667 | 3.916667 | 0.75 | ||
เข้าใจว่าด้านบวกและด้านลบต่างสำคัญ | 4.333333 | 3.75 | 0.583333 | ||
เห็นคุณค่าของเรื่องราวชีวิตตนเอง | 4.583333 | 4.166667 | 0.416667 | ||
ไม่แน่ใจว่าคุณค่าในตัวเองอยู่ที่สิ่งใด | 2.666667 | 2.666667 | 0 | ||
มีตัวตนหรือบุคลิกภาพย่อยอันหลากหลาย สามารถยอมรับและปรับตน | 4.25 | 3.583333 | 0.666667 | ||
นัยยะสำคัญ | 0.0002 |
ประเมินผลด้านทัศนคติเชิงบวกต่อชีวิตและการเรียนรู้ชีวิต | |||||
เข้าใจว่าการเรียนรู้สำคัญเช่นใด | 4.666667 | 4.083333 | 0.583333 | ||
เข้าใจตนเอง | 4.333333 | 3.5 | 0.833333 | ||
สามารถวิเคราะห์ตนเองจากเหตุการณ์ในอดีต | 4.25 | 3.25 | 1 | ||
รู้เท่าทันตน | 3.666667 | 3 | 0.666667 | ||
เข้าใจว่าการรู้จักตนเองสำคัญเพียงใด | 4.416667 | 3.666667 | 0.75 | ||
ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับตนเอง | 3.916667 | 3.25 | 0.666667 | ||
เข้าใจว่าการฝึกฝนตนเองเป็นสิ่งสำคัญ | 4 | 3.416667 | 0.583333 | ||
เข้าใจว่าการยอมรับตนเองตามที่เป็นจริงสำคัญ | 4.333333 | 3.916667 | 0.416667 | ||
เข้าใจว่าความจริงไม่ได้ตายตัว หรือเพียงหนึ่งเดียว | 3.583333 | 3.25 | 0.333333 | ||
รับฟังความคิดที่แตกต่างได้อย่างสบายใจ | 3.833333 | 3.416667 | 0.416667 | ||
เข้าใจว่า คนที่เกลียดหรือรบกวนใจก็สะท้อนตัวฉัน | 3.25 | 2.416667 | 0.833333 | ||
เห็นคุณค่าในความทุกข์ที่ผ่านมา | 4.25 | 3.5 | 0.75 | ||
สามารถเรียนรู้จากบทเรียนชีวิตตนเอง | 4.333333 | 4.083333 | 0.25 | ||
เข้าใจว่าความสัมพันธ์เป็นกระจกเงาส่องตน | 4.25 | 3.166667 | 1.083333 | ||
ตนมีสติปัญญา มีภูมิปัญญา | 4.083333 | 3.25 | 0.833333 | ||
เห็นปัญญาในจิตใจและร่างกาย | 4.25 | 3.5 | 0.75 | ||
เข้าใจว่าชีวิตมีมากกว่าเนื้อหนังกายใจและวัตถุลาภยศ | 4.333333 | 3.583333 | 0.75 | ||
ตระหนักและใส่ใจสัญญาณของชีวิต | 4.5 | 3.5 | 1 | ||
มีมุมมองที่เปิดกว้างและละเอียดอ่อน | 4 | 3.25 | 0.75 | ||
นัยยะสำคัญ | 0.0001 |
ประเมินผลด้านทัศนคติต่อการเขียน | |||||
ชอบการเขียน | 2.666667 | 2.666667 | 0 | ||
การเขียนบำบัดเป็นมากกว่าการระบายอารมณ์ | 2.083333 | 1.75 | 0.333333 | ||
สามารถเขียนหรือบันทึกเพื่อดูแลจิตใจ | 3.916667 | 3.166667 | 0.75 | ||
สามารถเขียนหรือบันทึกเพื่อเข้าใจตนเอง | 4 | 3.25 | 0.75 | ||
สามารถเขียนหรือบันทึกเพื่อดูแลร่างกาย | 3.416667 | 2.916667 | 0.5 | ||
สามารถเขียนหรือบันทึกเพื่อการเรียนรู้ | 3.666667 | 3.166667 | 0.5 | ||
เขียนไม่เก่ง ไม่ได้ประโยชน์ต่อตนและคนอื่น | 3.25 | 3 | 0.25 | ||
การเขียนเยียวยาและดูแลตนได้ | 3.916667 | 3.666667 | 0.25 | ||
นัยยะสำคัญ | 0.0027 |
ผลจากการศึกษา
จากการวิเคราะห์ผู้ต้องขังที่เข้าร่วมการเขียนบำบัดร่วมกับกระบวนการจิตปัญญาศึกษามีสุขภาวะที่ดีขึ้นในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะการเห็นคุณค่าในตน เข้าใจความรู้สึกที่เข้าใจและใส่ใจผู้อื่น สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการดูแลจัดการอารมณ์ความรู้สึกและความละเอียดอ่อน ความเข้าใจและรู้จักตนเอง และจากการสังเกตบันทึกสะท้อนถึงความรู้สึกเชิงบวกในการใช้ชีวิตประจำวัน สะท้อนผ่านการมีความหวัง ความฝัน และความตั้งใจที่จะพัฒนาตนเอง การรับยาต่อเนื่องตรงเวลา ไม่พบการดื้อยาจากการขาดการรักษาในกลุ่มนี้ ระดับ VL < 20 copies/ML ต่อเนื่องทั้งหกเดือน และพบการเพิ่มขึ้นของค่าภูมิคุ้มกันของร่างกาย
ความท้าทายสู่อนาคต
ศึกษาเพิ่มเติม
( คลิกที่หัวข้อเพื่อเปิดอ่าน )