เราควรมีแนวทางการดําเนินชีวิตของเราในขณะนี้อย่างไร… เพื่อนสนิทของข้าพเจ้าคนหนึ่งซึ่งเป็นซิสเตอร์ในนิกายคาทอลิค เธอชื่อว่า คาซึโกะ วาตานาเบะ เคยดํารงตําแหน่งเป็น อธิการบดีของมหาวิทยาลัยสตรีนอเทรอดาม ประเทศญี่ปุ่น ในสมัยที่อาจารย์คาซึโกะยังเป็นซิสเตอร์ฝึกหัดอยู่ที่อเมริกา อาจารย์คาซึโกะ ได้รับมอบหมายให้ทําหน้าที่หน้าที่เป็นคนจัดเตรียมอาหาร ในขณะที่จัดเรียงจานก็คิดอยู่ในใจว่า “มันช่างเป็นงานที่แสนน่าเบื่ออะไรเช่นนี้”
.
ในตอนนั้นมีเสียงทักของหัวหน้าซิสเตอร์ดังมาจากทางด้านหลังว่า “ซิสเตอร์ คุณเรียงจานเหล่านั้นด้วยความรู้สึกเช่นไร” แม้ว่า อาจารย์จะตอบกลับไปว่า “ไม่เลย ไม่รู้สึกอะไรเป็นพิเศษ” แต่ท่าทาง ของอาจารย์แสดงให้เห็นว่าเธอกําลังทํางานนี้ตัวความรู้สึกว่า “มันเป็นงานที่แสนน่าเบื่อ” หัวหน้าซิสเตอร์จึงตักเตือนเธอว่า “ซิสเตอร์ คุณใช้เวลาให้ผ่านไปอย่างไร้ประโยชน์ การเรียงจานก็เช่นกัน ทําไมคุณไม่เรียงจานเหล่านั้นด้วยใจที่ภาวนาขอให้คนที่จะมานั่งที่โต๊ะนั้นมีความสุขละ”
.
กลายเป็นว่าเราได้ใช้เวลาที่ผ่านมาด้วยความรู้สึกที่ซังกะตายและท่างานโดยคิดแค่ว่าขอให้มันผ่านพ้นไปเท่านั้น หากเราทํางานเช่นเดียวกับหุ่นยนต์แล้ว ก็เท่ากับว่าเราใช้เวลาที่มีอยู่อย่างสูญเปล่าและไร้ค่า แต่หากเราจัดเรียงจานโดยอธิษฐานว่า “ขอให้ท่านจงมีความสุข จงมีความสุข” เท่ากับว่าเราใช้เวลานั้นไปเพื่อความรักและการอธิษฐาน ขอพร โดยไม่ต้องสนใจว่าสิ่งที่เราอธิษฐานนั้นจะส่งถึงผู้ที่จะมานั่งที่โต๊ะนั้นหรือไม่ก็ตาม
.
จานถูกเรียงให้เป็นระเบียบขึ้นได้ไม่ว่าผู้เรียงจะเรียงจานนั้นด้วยความรู้สึกเช่นไร แต่วิธีการใช้เวลาของแต่ละคนจะแตกต่างกันไปตาม ความใส่ใจในการจัดเรียงจานเหล่านั้น อาจารย์กล่าวว่า “ใช้เวลาเช่นไร ก็ใช้ชีวิตเช่นนั้น หมายความว่าเราใช้เวลา 6 ชั่วโมงที่ผ่านอย่างไรก็เท่ากับว่าเราใช้ชีวิตใน 6 ชั่วโมงที่ผ่านมาเช่นนั้นนั่นเอง”
.
ทุกเวลาทุกวินาทีตลอด ๒๔ ชั่วโมง ไม่ว่าจะเป็นตอนที่เรา หลับอยู่ ตอนที่เราทําธุระส่วนตัวภายในห้องน้ํา ตอนที่เราพูดคุยกับเพื่อนๆ หรือตอนที่เราโมโหและพูดบ่นเรื่องต่างๆ ออกไป หากเรา ตระหนักเสมอว่าทุกช่วงเวลานั้นเป็นทุกย่างก้าวของชีวิตที่ไม่สิ่งใด มาทดแทนหรือกลับไปแก้ไขได้อีกต่อไปแล้วเราก็จะใช้ชีวิตในทุกเวลาทุกวินาทีนั้นอย่างคุ้มค่าที่สุด
.
ข้าพเจ้าจะขอยกตัวอย่างอีกสักตัวอย่างหนึ่งที่ญี่ปุ่นมีศิลปะการแสดงที่สืบทอดมาแต่โบราณอย่าหนึ่งเรียกว่า “ละครโน” ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายสํานัก เช่น คันเซ, โฮโซ, คมปารุ เป็นต้น อยู่มาวันหนึ่ง ข้าพเจ้าและเจ้าสํานักในคมปารุได้มาร่วมเป็นวิทยากรในงานแสดงปาฐกถาเกี่ยวกับนิกายเซนร่วมกัน เมื่อไปถึงห้องพัก พบว่าท่านเจ้า สํานักรออยู่แล้ว และเขาเอ่ยถามข้าพเจ้าว่า “ข้าพเจ้ามีความสนใจในพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พุทธศาสนานิกายเซนมาตั้งแต่วัยเยาว์ ข้าพเจ้าปรารถนาจะลองทํา สมาธิตามวิถีแห่งเซน อีกทั้งฟังเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธศาสนานิกายเซน แต่ข้าพเจ้ายุ่งอยู่กับการฝึกฝนละครใน ทําให้ต้องพลาดโอกาส เหล่านี้ไป ข้าพเจ้าตั้งตารอคอยให้ถึงวันนี้ เซนคืออะไร และเซนเกี่ยวข้องกับชีวิตเราอย่างไร”
.
ข้าพเจ้าตอบเขาว่า “ไม่ว่าเซนหรือพุทธศาสนา ไม่ได้มีไว้เพื่อให้ใครคนใดคนหนึ่งมาเรียนรู้ หากแต่เป็นวิถีแห่งการดารงชีวิตอันสูงสุดของเราทุกคนโดยให้เราทุกคนใช้ชีวิตเพียงชีวิตเดียวที่ได้มานี้อย่างมีความหมายและไม่กลับ คิดเสียใจในภายหลัง อีกทั้งยังเป็นสถานที่พึ่งทางใจแห่งสุดท้ายของเราทุกคน
.
ยกตัวอย่างเช่น หากท่านเจ้าสํานักต้องรําละครในหนึ่งเพลง เมื่อท่านขึ้นไปบนเวทีแสดงแล้ว ท่านร่ายรําและร้องเพลง ท่านใส่ใจ ในทุกท่วงท่าของมือและเท้า รวมทั้งเสียงร้องทุกๆ เสียงอย่างเต็ม ความสามารถ เมื่อท่านลงจากเวทีไปแล้วจึงถือว่าการแสดงบนเวทีแห่งนี้ จบลงอย่างยอดเยี่ยมสง่างาม ไม่ใช่เป็นการเพียงบางช่วงบางตอนของ การแสดงให้ดูสวยสดงดงาม โดยไม่สนใจการแสดงในช่วงตอนอื่นที่เหลือ
.
เช่นเดียวกัน ลองคิดว่าชีวิตของท่านเจ้าสํานักคือการแสดงละครบนเวที หากชีวิตทั้งชีวิตของเราเป็นดังการแสดงฉากหนึ่งบนเวที บนเวทีชีวิตแห่งนี้มีเรื่องราวต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย ในหนึ่งวัน เราตื่นขึ้นมาในตอนเช้า เก็บที่นอนให้เป็นระเบียบ ท่าธุระส่วนตัวในห้องน้ําล้างหน้า ทําอาหารและรับประทานอาหารเช้า ทําความสะอาด แล้ว ต่างออกไปทํางาน และหากเปรียบกับชั่วชีวิตหนึ่งของเราแล้ว เราต่างเกิด เติบโตขึ้น มีครอบครัว เลี้ยงลูก แล้วท้ายที่สุดก็แก่ตัวลง เจ็บป่วยและตายไปในที่สุด ในระหว่างนั้นมีหลายสิ่งหลายอย่างรอเราอยู่ อาจจะมีทั้งวันที่อยู่ในห้วงแห่งความรัก และมีวันที่รักแปรเปลี่ยนไป เป็นความเกลียดชัง มีวันที่เจ็บป่วย และมีวันที่ล้มเหลว
.
ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นล้วนเป็นเครื่องประดับตกแต่งเวทีชีวิต ของเราแล้ว ลองพิจารณาดูเถิดว่าเราต่างมีท่าทีในการเผชิญหน้ากับสิ่ง ต่างๆ เหล่านี้อย่างไรบ้าง ตลอดเวลาเราไม่ยอมเผชิญหน้ากับมัน เราต่างวิ่งไล่ตามในสิ่งที่เราปรารถนา และพยายามหลีกหนีสิ่งที่เราไม่ชอบไม่ พอใจ ต่างตามหาผู้อื่นมาช่วย หากทุกอย่างดําเนินไปด้วยดีก็หลงระเริง หากไม่ราบรื่นก็ท้อแท้ผิดหวัง เราหลีกหนีความจริงตลอดเวลา
.
ไม่ว่าจะประสบกับเหตุการณ์ใดก็ตามเราต้องไม่หนี ไม่ตามมันไป ไม่งอแง ไม่ย่อท้อ และเผชิญหน้ากับมันด้วยท่าทีที่ถูกต้องตามจริง โดยคิดเสียว่าเหตุการณ์นั้นเป็นฉากสําคัญที่เราต้องทําให้ดีที่สุด และ พยายามทําสิ่งเหล่านั้นอย่างเต็มความสามารถ มีเพียงวิธีนี้วิธีเดียวเท่านั้นที่จะทําให้การแสดงบนเวทีชีวิตของเราเป็นการแสดงที่สวยสง่าและงดงาม
.
วิถีการดำเนินชีวิตแบบนี้เรียกว่า “วิถีการดาเนินชีวิต แบบเซน”
.
.
จากหนังสือ “งามอย่างเซน”
โดย อาจารย์ ชุนโด อาโอยาม่า
(แปลจากภาษาญี่ปุ่นโดย นวพร หาญไพบูลย์)
ภาพประกอบ : chichi.co.jp