(ดอกไม้และความหวัง) สนับสนุนโครงการเขียนบำบัดผู้ต้องขัง ประจำปี 2567

 

***  ขณะนี้หนังสือของทางโครงการหมดแล้ว สามารถสั่งจองล่วงหน้าได้ที่อินบ๊อกเพจเฟสบุ๊ค สถาบันธรรมวรรณศิลป์ หรือ อีเมล dhammaliterary@gmail.com ***

 

ร่วมมอบโอกาสแก่ผู้ต้องขังเรือนจำได้เรียนรู้การดูแลสุขภาวะทางจิตใจและปัญญา เพื่อเขียนชีวิตบทใหม่ของตนเองที่ดีกว่า

ด้วยการอุดหนุนหนังสือ “ดอกไม้และความหวัง” แปลโดยครูโอเล่ อนุรักษ์ เม่นหรุ่ม ในราคาเพียง 300 บาท (รวมค่าจัดส่ง ลดจากราคาเต็ม 350 บาท) เพื่อร่วมสนับสนุนโครงการอบรมการเขียนบำบัดผู้ต้องขังเรือนจำกลางสมุทรปราการ ครั้งที่ 4 โดยผู้แปลและทีมงาน สถาบันธรรมวรรณศิลป์

📚 เหลือจำหน่ายไม่เกิน 40 เล่มเท่านั้น ! สามารถสั่งซื้อเพื่อเลือกฝากบริจาคหนังสือให้องค์กรการกุศลอื่นๆ หรือให้โครงการเก็บไว้ใช้ในอบรมผู้ต้องขังก็ได้ และสามารถขอลายเซ็นผู้แปลพร้อมลงชื่อหากต้องการ

📚 ติดต่อสั่งซื้อได้ที่อินบ็อก เพจเฟสบุ๊ค “สถาบันธรรมวรรณศิลป์” หรืออีเมล dhammaliterary@gmail.com

___

เกี่ยวกับหนังสือ “ดอกไม้และความหวัง”

🦋 แปลจากหนังสือ Hope for the flowers โดย ทริน่า เพาลัส นักกิจกรรมเพื่อสังคมตลอดชีวิต ปัจจุบันมีอายุ 92 ปี ห้าสิบสองปีแล้วที่เธอได้ส่งต่อ ดอกไม้และความหวัง ออกไปทั่วโลก เพื่อตั้งคำถามต่อความหมายของชีวิต การเปลี่ยนแปลงสังคม และตัวตนที่แท้จริงของมนุษย์ โดยได้รับการแปลกว่า 20 ภาษา ฉบับแปลไทยได้ตีพิมพ์ไทยครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2555

🦋 “ดอกไม้และความหวัง” ว่าด้วยการเดินทางตามหาความหมายของชีวิตของหนอนแก้ว ผู้มีคำถามเช่นเดียวกับใครหลายคนว่า ชีวิตเกิดมาเพื่ออะไร และสิ่งที่กำลังทำตามกันอยู่นี้ แท้จริงแล้วคือความหมายของชีวิตจริงๆ หรือไม่ หนังสือเล่มนี้ไม่เพียงบอกเล่าการเติบโตของคนๆ หนึ่ง (หรือหนอนแก้วตัวหนึ่ง) หากยังให้กำลังใจแก่การช่วยเหลือผู้อื่นและคนที่เรารัก สะท้อนแง่มุมของชีวิตและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างแนบเนียน

___

เกี่ยวกับ โครงการอบรมการเขียนบำบัดผู้ต้องขังเรือนจำกลางสมุทรปราการ

🌼 โครงการนี้เริ่มต้นในปี 2558 มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมสุขภาวะทางจิตใจและปัญญา เพื่อช่วยปรับพฤติกรรมในการดูแลตนเอง การใช้ชีวิต และการตัดสินใจอย่างเห็นคุณค่าในตัวเอง ซึ่งจะทำให้การพัฒนาสุขภาวะจากโรงพยาบาลทำได้ง่ายขึ้น และเพิ่มโอกาสในการเริ่มต้นชีวิตใหม่ทั้งระหว่างต้องขังและหลังจากพ้นโทษ

🌼 มีกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มเปราะบางอาทิ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และผู้ติดเชื้อเฮชไอวี โดยได้จัดกิจกรรมในแดนหญิงจำนวนสองครั้ง เป็นเวลา 6 และ 12 เดือน และได้จัดในแดนชายจำนวน 1 ครั้ง เป็นระยะเวลา 2 เดือน (เฉลี่ยเดือนละหนึ่งวัน) โดยในปีนี้ได้ตั้งใจขยายกลุ่มเป้าหมายด้วยการจัดกิจกรรมให้กับผู้ต้องขังแดนชายอย่างต่อเนื่อง ในระหว่างเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2567 รวมเป็นจำนวน 8 ครั้ง

___

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหนังสือได้ที่

ดอกไม้และความหวัง (Hope for the flowes)

 

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ

https://drive.google.com/file/d/1A21CnAjh3R9IFDZdKynkOsqEZjlCzjMT/view?usp=share_link

 

อ่านรายละเอียดโครงการเขียนบำบัดผู้ต้องขังประจำปีนี้

กรอบโครงการส่งเสริมสุขภาวะผู้ต้องขังเรือนจำ 2567