เดือนที่สาม-สี่ โครงการเขียนบำบัดผู้ต้องขังปีที่ 4

  เราให้พวกเขาเป็นครูของตัวเอง และครูของแก่กันและกัน เพื่อปลุกจิตสำนึก การเคารพคุณค่าในตัวเองและผู้อื่น และสร้างสุขภาวะทางปัญญา ด้วยมีการเขียนบำบัด กระบวนการกิจกรรมและการแลกเปลี่ยนเป็นสะพานให้ครูในตัวพวกเขาได้ปรากฎออกมาเป็นแสงสว่างให้แก่กัน การเข้าไปอบรมให้แก่พวกเขาในแต่ละครั้งยังคงเป็นความท้าทายอยู่เสมอ แม้เราจะดำเนินการกิจโครงการนี้เป็นปีที่ 4 ไม่รวมกิจกรรมย่อยๆ เราก็เข้าออกเรือนจำมามากว่ายี่สิบครั้งแล้ว แต่วิธีคิดของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดูแลพวกเขา ระบบและกระบวนการต่างๆ ก็ยังเป็นข้อจำกัดในการพัฒนาคุณค่าของความเป็นมนุษย์อยู่มาก แต่การได้อยู่ตรงนั้น ฟังพวกเขาแลกเปลี่ยน ได้รับรู้ในสิ่งที่เขาเขียน และความร่วมมือเอาใจใส่ในการทำกิจกรรม ล้วนทำให้รู้สึกว่าคุ้มค่าต่อการเผชิญกับอุปสรรคต่างๆ แล้ว ในการเรียนรู้สองเดือนสุดท้าย เราชวนเขาตั้งคำถามถึงความหมายและค่านิยมของการเป็นคนดี คุณค่าและความต้องการของชีวิต ตลอดจนถึงการเตรียมตัวตาย และการเขียนผลงานเพื่อฝากไว้แก่โลกใบนี้ มีจิตใจที่งดงามซ่อนอยู่ภายใต้หลังคาเรือนจำและกรงเหล็ก มีดอกไม้เบ่งบานที่เราไม่ได้ถ่ายภาพมา แต่เตือนใจทั้งผู้เรียนและผู้สอนเสมอ เมื่อก้าวเข้ามาในแดน 3 ของเรือนจำกลางแห่งนี้ อยู่ที่ใดๆ เราก็งดงามและเบ่งบานได้ ถ้าเราเคารพในความหมายของสิ่งที่เป็นและเกิดมาเพื่อจะเป็น ไม่ว่าทำผิดพลาดหรือร่วงโรยลงกี่ครั้ง มันก็ไม่ได้ทำให้ความมนุษย์หรือต้นไม้นั้นมีค่าลดลง มีแต่สายตาของตัวเราเองและผู้อื่นเท่านั้น ที่จะบั่นทอนคุณค่าหรือบดบังให้มันเลือนหายไป ในโอกาสต่อไปเราจะนำงานเขียนของพวกเขามาแบ่งปัน มีงานเขียนและข้อคิดดีๆ มากมายในสมุดของพวกเขา รวมสิ่งที่เขาอยากเขียนให้แก่โลกใบนี้ หากเขาสามารถเขียนได้เพียงแค่งานชิ้นเดียว ภาพในกิจกรรมเดือนที่ 3 และ 4 ของการอบรมการเขียนบำบัด เพื่อผู้ต้องขังเรือนจำกลางสมุทรปราการที่มีโรคเรื้อรัง ปีที่ 4 เพื่อส่งเสริมสุขภาวะทางปัญญาและการเห็นคุณค่าในตัวเอง ในเรือนจำแดนชาย… Continue reading เดือนที่สาม-สี่ โครงการเขียนบำบัดผู้ต้องขังปีที่ 4

ร่วมแบ่งปันน้ำใจ ให้ผู้ประสบภัย และองค์กรการกุศล กับโครงการ “คุณให้เขา เราให้คุณ ครั้งที่ 6”

  ร่วมแบ่งปันน้ำใจ ให้ผู้ประสบภัย และองค์กรการกุศล กับโครงการ “คุณให้เขา เราให้คุณ ครั้งที่ 6” สถาบันธรรมวรรณศิลป์ขอเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยและองค์กรที่ทำงานเพื่อสังคม ด้วยการสนับสนุนและตอบแทนผู้มีจิตอาสา   🙏  เมื่อท่านบริจาคให้กับองค์กรการกุศลที่ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย หรือองค์กรที่ทำงานเพื่อสังคม เราขอสนับสนุนท่าน ด้วยส่วนลดค่าลงทะเบียนหลักสูตร “รู้จักตัวเองผ่านไพ่ทาโรต์ รุ่นที่ 19” ตามยอดที่ท่านบริจาค สูงสุดท่านละ 1,000 บาท !   🌈 สิ่งที่ท่านจะได้รับในการเข้าร่วมโครงการ * เปิดโอกาสให้กับตัวเอง : ได้เรียนรู้ไพ่ทาโรต์เพื่อรู้จักตัวเอง ดูแลความรู้สึก ค้นหาสิ่งที่ซ่อนอยู่ในตนเอง และเป็นที่ปรึกษาให้กับตนและผู้อื่น * ร่วมสร้างสังคมที่ดีขึ้น : ช่วยเหลือผู้ประสบภัยและสนับสนุนการทำงานขององค์กรการกุศลให้ก้าวพ้นสถานการณ์อุทกภัยและวิกฤติเศรษฐกิจในช่วงนี้ * รับส่วนลดจากโครงการ : ลดค่าลงทะเบียนหลักสูตร รู้จักตัวเองผ่านไพ่ทาโรต์ ได้สูงสุด 1,000 บาท จากค่าลงทะเบียนเริ่มต้น 4,200 บาท เหลือเพียง 3,200 บาท พร้อมไพ่ทาโรต์ ตำราเล่มหนา… Continue reading ร่วมแบ่งปันน้ำใจ ให้ผู้ประสบภัย และองค์กรการกุศล กับโครงการ “คุณให้เขา เราให้คุณ ครั้งที่ 6”

เข้าอบรมฟรี !! ในกิจกรรมหัวข้อ ” ฟั ง ค รู ใ น เ ร า “

  เข้าอบรมฟรี !! ฝึกการฟังเสียงภายในกายและจิตใจ เพื่อค้นหาปัญญาแห่งชีวิต ในกิจกรรมหัวข้อ   ” ฟั ง ค รู ใ น เ ร า “   มาสำรวจครูที่ซ่อนในตนเองและทุกสิ่งรอบตัว กิจกรรม “ห้องเรียน วิถีครู” รุ่นที่ 6 – บ่มเพาะครูภายในตน เรียนทักษะสำคัญเพื่อเป็นที่พึ่งแก่ตัวเองและผู้อื่น (เข้าเรียนได้ทุกอาชีพ) คืนวันที่ 21 – 22 กันยายน 2567 รวมสองคืน เวลา 19.30 น. – 21.30 น. ออนไลน์ผ่าน Zoom ลงทะเบียนล่วงหน้าทาง Inbox เพจเฟสบุ๊ค “สถาบันธรรมวรรณศิลป์” หรือไลน์โครงการ https://lin.ee/k1LOh5d ในกิจกรรมนี้ ผู้เข้าร่วมจะได้ฝึกฝนการฟังเสียงภายใน เพื่อค้นหาปัญญาในกายและจิตของตัวเอง ใคร่ครวญทางออกของชีวิต และวิธีในการช่วยให้ผู้อื่นได้ฟังเสียงภายในตน… Continue reading เข้าอบรมฟรี !! ในกิจกรรมหัวข้อ ” ฟั ง ค รู ใ น เ ร า “

หยุดนิ่งเพื่อเปลี่ยนแปลง

  หยุดนิ่งเพื่อเปลี่ยนแปลง   จากบทความ “5 ข้อคิดการริเริ่มจาก “ผีเสื้อ” (ตอนแรก)” โดยครูโอเล่ สถาบันธรรมวรรณศิลป์ . เมื่อถึงจุดหนึ่ง หนอนผีเสื้อต้องหยุดลงและสร้างรังดักแด้ ห่อหุ้มกายและหยุดนิ่ง ดูจากภายนอกแล้วเหมือนกับว่ามันตายและไม่ทำอะไรเลย แต่นั่นคือช่วงเวลาสำคัญของการเปลี่ยนแปลง . หากเราใช้ชีวิตอย่างวิ่งวุ่นเหมือนตั๊กแตนหรือบินยุ่งเหมือนยุง เราก็ไม่อาจที่จะเปลี่ยนแปลงตนเองและเริ่มต้นสิ่งใหม่ได้ เพราะการเกิดก่อต้องบ่มจากการหลอมรวม ดังนั้น การให้เวลาอยู่กับตัวเอง ทบทวนใคร่ครวญ สงบใจด้วยใจกระจ่าง เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลงชีวิตและการเริ่มต้นสิ่งใด ๆ . การรู้หยุดบ้างจะทำให้เราสลัดจากคราบและร่องเดิมที่มีอยู่ ก้าวออกจากพื้นที่ปลอดภัยหรือการยึดติด นิ่งเพื่อทบทวนสิ่งต่างๆ อย่างชัดเจน มิใช่วุ่นวายกับสิ่งต่างๆ นอกตัว จนเราสับสนและกลบบังสิ่งสำคัญ และใช้ชีวิตไปตามร่องรอยเดิมอย่างที่เคยยึด เราจะเห็นหนทางที่จะก้าวไปข้างหน้าอย่างชัดเจนได้ ต่อเมื่อเรากลับมาหยุดนิ่งอยู่กับตนเองเท่านั้น . เปรียบเหมือนการเกิดใหม่จากหนอนแก้วกลายเป็นผีเสื้อ ช่วงเวลาของการเป็นดักแด้นั้นคือหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญ เขาจะต้องหยุดนิ่งอยู่ตรงนั้นเกือบเท่าระยะเวลาชีวิตที่คืบคลาน นานเพียงพอที่ปีกภายในจะก่อเกิดและตัวตนใหม่เข้มแข็งพอ คนเราต้องมีช่วงเวลาอยู่ในดักแด้ คือรู้สงบภายใน ทบทวนก้าวย่างชีวิตที่ล่วงเลย ให้เวลาตนได้ฝึกฝนตัวเอง ก่อนที่จะก้าวไปยังวาระใหม่แห่งชีวิต . คนที่ไม่มีเวลา หรือกล่าวให้ตามจริง คือ ไม่ให้เวลาตนเองอยู่ในดักแด้เลย ไม่หาความรู้ ไม่รู้หยุดนิ่ง ไม่รู้พักวางและฝึกฝนตน… Continue reading หยุดนิ่งเพื่อเปลี่ยนแปลง

สิ่งที่ได้รับจาก “ โปรแกรมจิตตัวเอง” รุ่นที่สาม

  ขอขอบคุณและยินดีกับผู้จบหลักสูตรทั้ง 40 ท่านที่ได้รับสิ่งดีๆ จากการฝึกฝนจิตตนเอง ในการอบรม 12 คืนเสาร์อาทิตย์ที่ผ่านมา ในหลักสูตร Self-Hypnosis “โปรแกรมจิตตัวเอง” รุ่นที่ 3 การฝึกสมาธิและเทคนิคในการฝึกฝนจิต เพื่อเป็นนายเหนือความคิดและกายใจ ในคืนวันที่ 20 กรกฎาคม – 25 สิงหาคม 2567 ที่่ผ่านมา . บางข้อความจากผู้เรียนหลังจบการอบรม . “ดีใจที่ตัดสินใจเข้าเรียนหลักสูตรนี้ ได้รับทักษะดี ๆ มากมายที่ทำให้ตัวเองมีความมั่นใจมากขึ้นว่า ชีวิตเราเอง เรากำหนดได้ เพราะเราเป็นนายของกายใจและความคิด การสร้างนิยามที่ทรงพลัง และเรามีทางเลือกที่จะทำให้ชีวิตเราดีขึ้น” “ขอบคุณคุณครูที่จัดทำคอร์สนี้ขึ้นมาช่วยให้เราสามารถเข้าใจและจัดการกับจิตใจ ความคิดของตัวเองได้ดีมากขึ้น ได้กลับมาดูแลจิตใจตัวเองมากขึ้น ได้เพื่อนใหม่จากข้างในใจตัวเอง ถ้ามีโอกาสเข้าเรียนซ้ำอีก” “สิ่งที่ได้รับคือทุกอย่างที่ครูสอนสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง ได้ปลดปล่อยอารมณ์ความรู้สึกผ่านการเขียน ได้ใช้จินตนาการจากการวาด visual note เห็นการพัฒนาของตัวเองในเรื่องการเขียนสรุป / เขียนไดอารี่ส่วนตัวค่ะ สิ่งที่ได้รับอีกอย่างคือการได้แชร์เรื่องราวและได้รับฟังประสบการณ์จากเพื่อนทั้งในกลุ่มใหญ่และกลุ่มย่อยค่ะ อันนี้ทำให้ได้เห็นมุมมองที่หลากหลายและได้ข้อคิดจากการรับฟังจากเพื่อนค่ะ” “มีโอกาสเยียวยาใจตนเอง ได้รับความรู้/ทักษะ /วิธีการ พร้อมฝึกทำจริงในการช่วยฟื้นชีวิตภายในของตัวเอง สามารถนำทักษะง่ายๆที่ได้รับและฝึกฝนมาแบ่งปันให้นักเรียนในขั้นต้นด้วย”… Continue reading สิ่งที่ได้รับจาก “ โปรแกรมจิตตัวเอง” รุ่นที่สาม

ฟังเสียงข้างน้อยในใจบ้าง…” ประชาธิปไตยในกายจิต

  ฟังเสียงข้างน้อยในใจบ้าง : . การฟังคือหัวใจสำคัญของการปกครอง รวมทั้งการปกครองหรือดูแลตัวเองก็ย่อมต้องใช้การฟังด้วยเช่นกัน การฟังที่ดี มิใช่การเลือกฟังแต่เพียงบางส่วน แต่คือการรับฟังทั้งหมดอย่างลึกซึ้ง แม้ในส่วนที่เราไม่อยากได้ยินและเสียงกลุ่มเล็กๆ ที่มักถูกละเลย . ในสังคมภายนอกมักมีคนชายขอบที่ถูกละเลยความใส่ใจ ในจิตใจเราเองก็มีคนชายขอบที่มักถูกละเลยการรับฟังจากเราเช่นกัน คนชายขอบเหล่านี้คือตัวตนและตัวแทนของความรู้สึกกับความต้องการพื้นฐานที่ถูกปิดกั้นหรือปล่อยปละ . “จิตสำนึก” คือส่วนของจิตที่รับรู้ เป็นเสมือนเมืองหลวงของประเทศ มี “จิตใต้สำนึก” เป็นดั่งจังหวัดอื่นๆ ที่ไกลออกไปตามลำดับ ประเทศมิใช่จังหวัดเมืองหลวงเพียงหนึ่งเดียว เหมือนกับความเป็นตัวเรานั้นมิใช่แค่บุคลิกภาพเดียว แต่ประกอบด้วยบุคลิกภาพย่อยและตัวตนหลากหลายมากมาย ซึ่งในจำนวนเหล่านี้ก็จะมีบางด้านที่ถูกใส่ใจมาก เรียกว่า “ตัวตนหลัก” ในจิตสำนึก และอีกหลายด้านที่ถูกใส่ใจน้อย เรียกว่า “ตัวตนรอง” ซ่อนอยู่ในจิตใต้สำนึก . ตัวตนอย่างหลังนี้ก็จะมีอีกบางส่วนซึ่งเราแทบไม่ได้สนใจเลย อยู่ในจังหวัดของจิตที่ไกลออกไปตามชายแดนของความใส่ใจ พวกเขาจะคอยประท้วงและสื่อสารกับเรา เป็นเสียงเล็กๆ ดังในจิตใจเช่นว่า ควรใส่ใจอย่างนี้บ้างนะ หรือทำอย่างนี้บ้างนะ คอยเอ่ยถามบ้างว่า “นี่คือคุณค่าจริงๆ ของชีวิตแล้วหรือ” หรือบอกเตือนล่วงหน้าว่าทำอย่างนี้ต่อไปอาจเป็นอย่างไร แต่เราก็มิได้แลเหลียวหรือให้ค่าเสียงเหล่านั้นเท่าที่ควร . เสียงข้างน้อยในใจเหล่านี้มักจะเป็นความรู้สึก ความต้องการ และศักยภาพในตัวเราที่ถูกละเลย เมื่อส่วนใดของประเทศไม่ได้รับความใส่ใจก็ขาดการพัฒนา หรือเมื่อเราพยายามพัฒนาจากศูนย์กลางหรือเมืองหลวง โดยที่มิได้เข้าใจอัตลักษณ์ของภาคส่วนนั้นๆ ก็จะกลายเป็นการบั่นทอนและปิดกั้นคุณค่าของที่นั่น… Continue reading ฟังเสียงข้างน้อยในใจบ้าง…” ประชาธิปไตยในกายจิต

เดือนที่สอง โครงการเขียนบำบัดผู้ต้องขังปีที่ 4

  กิจกรรมเดือนที่สองของการอบรมการเขียนบำบัด เพื่อผู้ต้องขังเรือนจำกลางสมุทรปราการที่มีโรคเรื้อรัง ปีที่ 4 เพื่อส่งเสริมสุขภาวะทางปัญญาและการเห็นคุณค่าในตัวเอง ในเรือนจำแดนชาย จากการสร้างความรักต่อการเขียนบันทึกและการทบทวนความสุขกับเรื่องราวชีวิตในเดือนแรก สำหรับเดือนที่สองนี้เราได้ชวนพวกเขาสู่การทบทวนตัวเอง ผ่านวาดภาพรูปธรรม-นามธรรม การเขียนบันทึก Self-Reflection และการทำกิจกรรมกลุ่ม แล้วสรุปปิดท้ายด้วยการสรุปบุคลิกภาพสี่แบบ ตามหลักสี่ทิศ ผู้เรียนได้เห็นและยอมรับคามหลากหลายของเพื่อน ได้รู้จักกันมากขึ้น ได้ทบทวนและยอมรับในสิ่งที่ตนเองเป็น ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาตัวเองและการเข้าใจในคุณค่าที่แท้จริงของชีวิตต่อไป กิจกรรมโครงการมีระยะเวลาทั้งสิ้น 4 เดือน ร่วมกับนักจิตวิทยาและทีมพยาบาลเรือนจำกลางสมุทรปราการ ในการฝึกการเขียนบันทึกและการเขียนบำบัด ด้วยโมเดลการเขียนบำบัดสี่แบบที่โครงการพัฒนาขึ้นจากการศึกษาในปีที่ผ่านมา โดยจะมีการเก็บข้อมูลและประเมินพัฒนาการด้านสุขภาวะทางปัญญาและการเห็นคุณค่าในตัวเองเมื่อจบโครงการ เป็นอีกหนึ่งโครงการการกุศลที่ทางเราจัดทำขึ้นในปีนี้โดยใช้งบประมาณจากการเปิดหลักสูตรอบรมและการจำหน่ายสื่อต่างๆ โดยไม่ได้ขอทุนสนับสนุนจากองค์กรใด ในระหว่างนี้ทางเราก็ได้เปิดหลักสูตร เขียนเปลี่ยนชีวิต รุ่นที่ 56 แบบมีค่าใช้จ่ายตามกำลังทรัพย์ เป็นจำนวน 3 เดือน เพื่อให้พื้นที่เรียนรู้และดูแลจิตใจแก่บุคคลทั่วไปในการเขียนบำบัดพัฒนาชีวิตของตนเอง ด้วยการเรียนรู้แบบออนไลน์ทุกคืนวันพุธ-วันพฤหัสบดี เริ่มคืนวันที่ 14 สิงหาคมนี้เป็นต้นไป ติดตามกิจกรรมต่างๆ ของทางโครงการได้ที่เพจ สถาบันธรรมวรรณศิลป์ และไลน์แอด @khianpianchiwit   กิจกรรมเปิดรับสมัคร  

“ความอยากมีตัวตนนั้นเอง จึงเป็นศัตรูที่แท้จริงของเรา มิใช่ใครเลย”

  เพราะสิ่งที่เชื่อว่าดี จิตมักนำมาเป็นตัวแทนของตัวตนและคุณค่าของตนเอง เราจึงหวังให้คนอื่นยอมรับในสิ่งที่ดีนั้นๆ มิว่าจะเป็นบุคคล สัตว์ สิ่งของ หรือนามธรรมใด เพื่อให้เรารู้สึกว่าตนเองได้รับความสำคัญไปด้วย เมื่อถืออะไรเป็นตัวแทนของตนและคุณค่าของเราแล้ว เราก็ย่อมพยายามปกป้องสิ่งนั้น เสมือนปกป้องเลือดเนื้อของตน ใครดูหมิ่นเหยียดหยามหรือทำร้ายเจ้าสิ่งนั้นก็ทำให้รู้สึกเหมือนกับว่าคุณค่าของเราน้อยลงไปด้วย ดังนั้นการทะเลาะวิวาทกันด้วยอุดมการณ์หรือความเห็นต่างอย่างไรก็มาจากความอยากมีตัวตนของทั้งสองฝ่าย มิว่าเรื่องใดๆ ที่เชื่อว่าดีก็ตาม เมื่อมีคนเห็นต่าง เมื่อมีคนกล่าวโจมตี หรือไม่พอใจสิ่งที่เราเชื่อว่าดี เราจึงรู้สึกเจ็บปวดเหมือนกับตัวตนของเราได้รับบาดเจ็บ เราต้องถามตนเองว่า อะไรกันแน่ที่ทำให้เราทุกข์ใจ สิ่งที่เขาเป็น สิ่งที่เขาทำ สิ่งที่เขาเชื่อ มันทำร้ายกายและใจเราจริงๆ หรือเป็นความคาดหวังและความเชื่อของเราเองที่ทำร้ายตัวเราให้เจ็บปวด ในเมื่อเราก็รู้ดีอยู่แก่ใจว่า เขาไม่จำเป็นต้องเป็นเหมือนเรา ไม่จำเป็นต้องทำหรือคิดเหมือนกันกับเรา ไม่จำเป็นต้องดีเหมือนกัน และไม่สามารถที่จะเป็นเหมือนเราได้ทุกคน เหตุใดเราจึงคาดหวังในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ สิ่งที่ทำให้เราโกรธก็คือตัวเราเองที่พยายามรักษาตัวตนไว้ สิ่งที่ผลักดันให้เขาทำ คิด หรือเป็นเช่นนั้นก็คือความอยากมีตัวตนของเขาเอง ดังนั้นความอยากมีตัวตนนั้นเองจึงเป็นศัตรูที่แท้จริงของเรา มิใช่ใครเลย เมื่อเราลืมไปว่าแต่ละคนมีสิทธิที่จะชื่นชอบ ชื่นชม หรือศรัทธา ไม่เหมือนกัน เมื่อลืมไปว่าแต่ละคนมีความแตกต่างกันอยู่เป็นธรรมดา จึงเกิดสิ่งที่เรียกว่า การเหมารวม ดังเช่นคำพูดประมาณว่า ทุกๆ คนต้อง… คนไทยทุกคนกำลัง… คนทั้งเมืองรู้สึก… ทั้งๆ ที่เราก็รู้ดีว่าคำพูดแบบนี้เป็นการขยายความเพื่อเร้าอารมณ์ และมีสิทธิ์ไม่ใช่ความจริงสูง เพราะเราไม่ได้นำความเห็นของทุกคนมาแยกแยะจริง… Continue reading “ความอยากมีตัวตนนั้นเอง จึงเป็นศัตรูที่แท้จริงของเรา มิใช่ใครเลย”

“มั่นคงจากข้างใน” ชุดหลักสูตร ห้องเรียน วิถีครู รุ่นที่ 6 ได้จบลงแล้ว

  มั่นคงจากภายในตนเอง ไม่ยากเลย เพียงเรียนรู้ที่จะกลับมาสังเกตตนเอง ฝึกยึดวางกำปล่อย กลับมาที่ฐายกาย และทดลองออกไปเผชิญกับจุดหวั่นไหวบนรอยต่อของพื้นที่ปลอดภัย กิจกรรมอบรม 2 คืน ในวิชา “มั่นคงจากข้างใน” ชุดหลักสูตร ห้องเรียน วิถีครู รุ่นที่ 6 ได้จบลงแล้ว เมื่อคืนวันที่ 29 – 30 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา เรียนออนไลน์ผ่านทาง Zoom มีผู้เข้าร่วมประมาณ 128+ ท่านในรอบนี้ ยินดีกับทุกท่านที่ได้ฝึกฝนตนเองผ่านการเขียนใคร่ครวญตน (Self-Reflection) และการเขียนปรับกิริยาทางกาย (Kinesthetic Writing) ร่วมแลกเปลี่ยนการบ่มเพาะจากวัยเด็ก ความเชื่อเรื่องความมั่นคงของชีวิต และธรรมะเพื่อพัฒนาความมั่นคงของชีวิตต่อไป รวมข้อความส่วนหนึ่งหลังการอบรม… “ทุกสิ่งล้วนแล้วไม่แน่นอน สิ่งที่แน่นอนคือการสร้างความมั่นคงจากข้างใน” “รู้สึกปลอดโปร่ง ได้เข้าใจตัวเองเพิ่มขึ้น, ได้เกิดมุมมองใหม่จากการเขียน “ขอบคุณที่จัดอบรมคอร์สนี้ เรียนจบทำให้ได้ข้อคิดเกี่ยวกับความมั่นคงเข้าใจมากขึ้น มั่นคงมากขึ้น” “การเขียนแบบต่างๆที่เป็นบทเรียนช่วยให้เราค่อยๆปล่อยวางและยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้น ซึ่งคิดว่าต้องหาเวลาในการทำกิจกรรมต่างๆเหล่านี้เพื่อให้กลับมาอยู่กับใจตัวเองและเข้าใจตัวเองมากขึ้น” “รู้สึกปล่อยวาง ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ก็ยอมรับมัน” “ได้ทบทวนความต้องการที่แท้จริงในใจ และเห็นกิเลสที่เข้ามาทำให้เขว” “รู้สึกดีกับตัวเอง… Continue reading “มั่นคงจากข้างใน” ชุดหลักสูตร ห้องเรียน วิถีครู รุ่นที่ 6 ได้จบลงแล้ว

ร่างกายเป็นโรค… ฉันเป็นโรค…

  มิใช่ไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หรือภัยจากธรรมชาติ ที่พึงเห็นว่าเป็นโรค แต่ร่างกายนี้เองที่พึงเห็นเป็นโรค เราไม่ค่อยกล่าวกันว่าไวรัสเป็นโรค เชื้อรา แบคทีเรีย ฯ เป็นโรค ในการพูดสื่อสารทั่วไป แต่เรามักจะพูดกันว่า ฉันเป็นโรค… ร่างกายเป็นโรค… นั่นก็เป็นปริศนาธรรมให้ทายกันในชีวิตประจำวันแล้ว เพราะไวรัสไม่ใช่โรคในทางธรรมะ แต่ร่างกายเรานี้เองที่เป็นโรค และการยึดมั่นในตัวตนฉันนี่เองที่เป็นโรค… . ความไม่มีโรค สำหรับคนทั่วไป คือการมีร่างกายที่แข็งแรงและไม่เจ็บป่วย แต่ในทางธรรมะหรือความเป็นจริงแล้ว ความไม่มีโรค คือการพ้นจากอำนาจของร่างกาย ซึ่งเป็นโรคอย่างแท้จริง เหตุใดพุทธศาสนาจึงกล่าวว่า ร่างกายคือโรค ลองพิจารณาจากคำตรัสของพระพุทธเจ้าที่ตรัสว่า . “กายนี้มีรูป (เป็นวัตถุ) เป็นที่ประชุมมหาภูต (ธาตุ) ทั้งสี่ มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด เจริญด้วยข้าวสุกและขนมสด ต้องอบและขัดสีกันเป็นนิจ มีความแตกกระจัดกระจายเป็นธรรมดา ท่านควรพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นความเจ็บไข้ เป็นดังผู้อื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของว่างเปล่า เป็นของมิใช่ตน . “เมื่อท่านพิจารณาเห็นกายนี้ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์… Continue reading ร่างกายเป็นโรค… ฉันเป็นโรค…