จบการอบรมแล้ว ???? ห้องเรียน พลังแห่งจิต ขั้นต้น-กลาง รุ่นที่ 16 เมื่อวันที่ 14 – 15 , 21 – 22 พฤษภาคม 2565 (Zoom) ผ่านการอบรมทั้งสิ้นแปดท่าน ดังนี้ ???? พวงแก้ว (นุ้ย) อาชีพ พนักงานบริษัท ???? อัญชลี (อัญ) อาชีพ อิสระ ???? กิตติมา (มด) อาชีพ รับจ้าง ???? วริศษาว์ (ตาล) ธุรกิจส่วนตัว ???? กนกวรรณ (หมี) อาชีพ แม่บ้าน ???? สุวิมล (สุ) อาชีพ ค้าขาย ???? ณฐาพัทธ์ (พีช) อาชีพ ธุรกิจส่วนตัว… Continue reading จบการอบรมแล้ว ???? ห้องเรียน พลังแห่งจิต ขั้นต้น-กลาง รุ่นที่ 16
Author: admin
เขียนคลายทุกข์ เพื่อค่ายยุวโพธิชน ประจำปี 2565
โครงการเขียนคลายทุกข์ สถาบันธรรมวรรณศิลป์ เพื่อ สถาบันยุวโพธิชน มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป ขอเชิญชวนร่วมกิจกรรมการกุศล “เขียนคลายทุกข์ : ปลุกพลัง ปลูกฝัน ปั้นอนาคต” เพื่อระดมทุนร่วมทอดผ้าป่าการศึกษาคืนเด็กนอกระบบสู่สังคมกับค่ายยุวโพธิชน ประจำปี 2565 เรียนรู้พื้นฐานการเขียนบำบัด ทำกิจกรรมบันทึกเพื่อปลูกฝันปลุกพลังใจ ใคร่ครวญอดีต-ปัจจุบัน-อนาคตของชีวิต ด้วยเทคนิคการเขียนแบบต่างๆ กับครูโอเล่ ผู้สอนหลักสูตร เขียนเปลี่ยนชีวิต , ห้องเรียน พลังแห่งจิต , รู้จักตัวเองผ่านไพ่ทาโรต์ และ เขียนภาวนา พร้อมจิตอาสา อบรมผ่านแอพพลิเคชั่น Line ใน Line Group และ Line Meeting จำนวน 4 วัน ได้แก่วันที่ 15 – 16 และ 22 – 23 มิถุนายน 2565 (วันพุธ-วันพฤหัสบดี) ตามเวลาที่ระบุด้านล่าง หากสนใจเข้าร่วมโครงการแต่ไม่สะดวกร่วมอบรมตามวันเวลาดังกล่าว… Continue reading เขียนคลายทุกข์ เพื่อค่ายยุวโพธิชน ประจำปี 2565
ผลการฝึกปฏิบัติของผู้จบการอบรม เขียนภาวนา สามรุ่นล่าสุด
“สิ้นลมหายใจ สิ้นไร้ชีวิต แต่ถ้ามีชีวิต แบบขาดสติ จะมีประโยชน์อันใด รู้ลมหายใจเข้า จึงรู้ลมหายใจออก เขียนเพื่อหยุด หยุดเพื่อเขียน ไม่อาจปราศจากกันและกัน เขียนตามลม ใช่เขียนตามใจ เขียนตามหัวใจ ใช่เขียนตามความคิด เขียนเพื่อภาวนา ใช่เขียนเพื่ออัตตา” – คุณอี๊ด , คอร์ส ปฏิบัติ เขียนภาวนา รอบกลางปี 2564 สมัครเข้าร่วม “ปฏิบัติ เขียนภาวนา” https://www.dhammaliterary.org/meditation-writing/ ผลการฝึกปฏิบัติของผู้จบหลักสูตร เขียนภาวนา สามรุ่นล่าสุด สิ่งที่ผู้ผ่านการอบรม “ปฏิบัติ เขียนภาวนา” รอบปลายปี 2564 ได้เปลี่ยนแปลงตนเอง สำรวมระวังกาย วาจา และใจตนเองมากขึ้น ปล่อยวางจากการยึดติด ปฏิบัติฝึกสมาธิอย่างต่อเนื่องจนจบการอบรม รู้สึกว่าใจได้พักเพราะการทำสมาธิอย่างต่อเนื่อง ควบคุมอารมณ์ตนเองได้ดีมากขึ้น มีสติมากกว่าเดิม เท่าทันความคิดและความรู้สึก จดจ่ออยู่กับงานตรงหน้ามากขึ้น ฝึกปฏิบัติด้วยการใช้หลักอานาปนสติตามดูลมหายใจได้ เข้าใจหลักธรรมและศัพท์บาลีมากขึ้น ตามดูตามเห็นกิเลส และกุศลต่างๆ… Continue reading ผลการฝึกปฏิบัติของผู้จบการอบรม เขียนภาวนา สามรุ่นล่าสุด
เปิดรับสมัคร “ปฏิบัติ เขียนภาวนา” รอบแรกของปี 2565
ขอเชิญชวนผู้สนใจการปฏิบัติธรรมผ่านศิลปะการเขียนและลมหายใจ ในชุดอบรมหัวข้อ “ปฏิบัติ เขียนภาวนา” Practice Of Meditation Writing หรือ #เขียนภาวนา รุ่นที่ 13 เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ เรียนวันที่ 11 – 12 , 18 – 19 , 25 – 26 มิถุนายน และ 2 – 3 , 9 – 10 กรกฎาคม 2565 ผ่านโปรแกรม Zoom ???? เนื้อหา 4 วันแรกคือเนื้อหาขั้น “พื้นฐาน เขียนภาวนา” ???? เนื้อหา 6 วันถัดมาคือขั้น “ปฏิบัติ เขียนภาวนา” สามารถเลือกเรียนเฉพาะขั้นพื้นฐาน 4 วัน หรือตลอดทั้งหลักสูตร… Continue reading เปิดรับสมัคร “ปฏิบัติ เขียนภาวนา” รอบแรกของปี 2565
8 หนทางอันประเสริฐที่มนุษย์ควรก้าวตาม “อริยมรรค” (ตอนสี่)
8 หนทางอันประเสริฐที่มนุษย์ควรก้าวตาม “อริยมรรค” (ตอน : วิธีคิดแบบพุทธะ ภาค 3) บทความนี้เป็นภาคต่อของ “วิธีคิดแบบพุทธะ ภาค 2” ผู้สนใจอ่านให้ครบถ้วนเนื้อหาที่ปูพื้นไว้สามารถย้อนอ่านได้ทางลิงก์ https://www.dhammaliterary.org/สัมมาสังกัปปะ2/ อ่านบทความตอนนี้ได้ในโพสต์ตามข้อความด้านล่าง หรือเปิดอ่านในเว็บไซต์ https://www.dhammaliterary.org/สัมมาสังกัปปะ3/ #วิธีคิดแบบพุทธะ #ดำริเพื่ออิสระและถูกต้อง #สัมมาสังกัปปะ #ภาคสาม ครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ในเรือนของท่านสุทัตตะเศรษฐี หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า อนาถบิณฑิกเศรษฐี หมายถึง เศรษฐีผู้มีก้อนข้าวเพื่อคนยาก หรือที่พึ่งแก่ผู้ยากจน พระพุทธเจ้าทรงเรียกภิกษุผู้ติดตามและอยู่ในละแวกนั้น เพื่อทรงสอนผ่านเรื่องราวการฝึกตนของพระองค์ก่อนตรัสรู้ ความว่า เมื่อยังทรงเป็นเพียงพระโพธิสัตว์ หมายถึง ผู้ที่มีความสามารถในการตรัสรู้ และกำลังบำเพ็ญเพียรฝึกตนเพื่อตรัสรู้ ขณะนั้นท่านทรงมีความคิดว่า เราควรแยกความวิตก หรือความคิด ให้เป็นสองส่วน เพื่อจักได้พิจารณาอย่างชัดเจน ความคิดที่ทรงแยกออกเป็นสองส่วน ประกอบด้วย อกุศลวิตก คือความคิดที่เป็นโทษ ได้แก่ กามวิตก พยาบาทวิตก… Continue reading 8 หนทางอันประเสริฐที่มนุษย์ควรก้าวตาม “อริยมรรค” (ตอนสี่)
รวมเรื่องสั้น 14 เรื่องจากเยาวชน หัวข้อ “สติ”
รวมเรื่องสั้น 14 เรื่องจากเยาวชนที่ได้รับรางวัลและเข้ารอบสุดท้าย ในการประกวด ธรรมวรรณศิลป์ ครั้งที่ 11 ในหัวข้อ สติ ???? ประจำปี 2564 ที่เพิ่งประกาศผลเมื่อเดือนที่ผ่านมา เรื่องราวจากความคิดสร้างสรรค์และการตริตรองชีวิตด้วยปลายปากกาของน้องๆ เหล่านี้สามารถเป็นอุทาหรณ์อย่างดี อีกยังช่วยเตือนให้เราหันกลับมาใช้ชีวิตอย่างรอบคอบและรับผิดชอบตนเองกับสังคม เพราะสติของคนหนึ่งคนอาจช่วยคนทั้งเมืองหรือโลกทั้งใบเลยก็ได้ อ่านทุกผลงานได้ทางเว็บไซต์ด้านล่างนี้ หรือคลิกที่แต่ละรูปเพื่ออ่านช่วงต้นและลิงก์อ่านต่อแต่ละเรื่อง https://punnspace.com/p/contest2564
ว่าด้วย “สติ” | ประชา หุตานุวัตร
เรียนรู้มุมมองเกี่ยวกับ สติ จากผู้ก่อตั้งสถาบันธรรมวรรณศิลป์ อาจารย์ประชา หุตานุวัตร พร้อมคำแนะนำเป็นบทเรียนแก่น้องๆ ที่ได้รับรางวัล และผู้สนใจการฝึกสติทั่วไป เนื่องในวาระเผยแพร่ผลงานประกวดเรื่องสั้นรางวัล ธรรมวรรณศิลป์ ครั้งที่ 11 ในหัวข้อ “สติ” – นิยามของสติ – สติกับสมาธิต่างกันอย่างไร ? – ลักษณะการมีสติเป็นอย่างไร ? – จะรู้ได้อย่างไรว่าปฏิบัติถูกต้อง ? – OSHO เป็นศาสดาปลอม ? – ถ้าอาจารย์ต้องเขียนเรื่องสั้น/นิยาย หัวข้อ สติ ? – การมีสติในการเขียน – การสอนสติให้เยาวชน – การอ่านใจตัวเอง – คำแนะนำแก่น้องๆ เปิดวิดีโอได้ที่เว็บไซต์ https://punnspace.com/courses/contest2564/lectures/39575388
ธรรมบรรยายเมื่อ 14 เมษายน 2510
ขอน้อมนำธรรมเทศนาเมื่อ 55 ปีที่แล้ว ของท่านพุทธทาส มาเป็นคำอวยพรปีใหม่ไทย เพื่อความเป็นไท ของจิตใจผู้ปฏิบัติงานและผู้ติดตามงานของ สถาบันธรรมวรรณศิลป์ ซึ่งย่างก้าวครบ 14 ปีในปีนี้ ให้เกิดสันติสุขและพลังใจในการสร้างสรรค์สิ่งที่ดีต่อไปท่ามกลางอุปสรรคน้อยใหญ่ทั้งหลาย ขันติ คือ ความอดทน สำหรับเบื้องต้นก็คือการอดทนต่อสิ่งต่างๆ เช่นสภาพแวดล้อมต่างๆ สิ่งที่มากระทบทางกาย เป็นต้น “…มีความจำเป็นสำหรับพวกเราเป็นอย่างยิ่งโดยไม่ต้องสงสัย ขอให้นึกให้มากในเรื่องทำนองนี้ ที่มันซ่อนเร้นแอบแฝงอยู่ภายใต้ความไม่ซื่อตรงต่อตัวเองของเรา คือความไม่ซื่อตรงต่อธรรมะของเราซึ่งเป็นสัจจะ (ข้อแรกของฆราวาศธรรม) แล้วเราก็ไม่มีการบีบบังคับตัวเองที่เพียงพอ (ทมะ-ข้อ 2 ของฆราวาศธรรม) จนไม่ต้องใช้ความอดกลั้นอดทนอะไร (ขันติ-ข้อ 3 ของฆราวาศธรรม) แล้วเราก็ไม่มีโอกาสสละสิ่งที่เป็นข้าศึกต่อความจริงใจเป็นธรรมดา (จาคะ-ข้อ 4 ของฆราวาศธรรม) เรื่องก็ต้องล้มเหลวกันเพราะเหตุนี้ เพราะฉะนั้นเราจึงจะถือความอดทนเป็นศูนย์กลางของธรรมหมวดนี้ (ฆราวาศธรรม – ธรรมะของผู้ครองเรือน) ของความอดทนทุกอย่างทุกประการ…” “ขันติในลำดับสูงที่เรียกว่า อธิวาสนขันติ คือการอดทนต่อการบีบคั้นของกิเลส อธิวาสนขันติ เป็นเหตุให้บรรลุมรรคผลนิพพาน แต่พร้อมกันนั้นก็นำมาใช้ได้ในชีวิตประจำวัน คนในโลกกำลังขาด อธิวาสนขันติ คือการอดทนต่อการบีบคั้นของกิเลส จึงได้หมุนไปในทางต่ำ หรือทางวัตถุนิยม ก็จมติดลงไปในวัตถุนิยมมากขึ้น… Continue reading ธรรมบรรยายเมื่อ 14 เมษายน 2510
ผู้ผ่านการอบรม รู้จักตัวเองผ่านไพ่ทาโรต์ รุ่นที่ 13
จบการอบรมแล้ว “รู้จักตัวเองผ่านไพ่ทาโรต์” รุ่นที่ 13 ???? 5 วันออนไลน์ ทาง Zoom และ 2 สัปดาห์ในกลุ่มไลน์ วันที่ 19 – 20 , 26 – 27 มีนาคม และ 2 เมษายน 2565 (เสาร์-อาทิตย์) รายละเอียด : www.dhammaliterary.org/selfdiscovery-tarot/ “สำหรับการลงเรียนในครั้งนี้ตั้งใจอยากเรียนรู้ตัวเองในแบบอื่น ๆ บ้าง การตัดสินใจเข้าอบรมครั้งนี้เป็นการตัดสินใจถูกมาก ๆ เราได้กลับมาทำความเข้าใจตัวเองอย่างลึกซึ้ง ผ่านไพ่อย่างที่เราไม่เคยรู้มาก่อน หลายเรื่องเป็นการเปิดประสบการณ์ใหม่มาก ๆ เลยค่ะ การได้เริ่มต้นทำความเข้าใจตัวเองผ่านไพ่ ทำให้เราอยากเรียนรู้ตัวเองในด้านอื่น ๆ ผ่านไพ่เพิ่มขึ้นอีก รู้สึกสนุกกับการคุยกับไพ่มากเลยค่ะ” – ภัธทรา (โอ๋) อาจารย์ “ได้รู้อีกมุม ในซอก ในหลืบของตัวเอง จะว่ารู้ก้อไม่เชิงนะคะ… Continue reading ผู้ผ่านการอบรม รู้จักตัวเองผ่านไพ่ทาโรต์ รุ่นที่ 13
บริจาคของใช้แก่สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนปากเกร็ด
บริจาคอุปกรณ์การเรียน ที่นอน ของเล่น ตุ๊กตา และของใช้แก่สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนปากเกร็ด ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เมื่อวันที่ 2-3 เมษายน 2565 มูลค่ารวมประมาณ 8,000 บาท โครงการเพื่อการกุศลโดย สถาบันธรรมวรรณศิลป์ ปีที่ 14 งบประมาณจากหลักสูตรการอบรมและกิจกรรมต่างๆ ของเรา #เขียนเปลี่ยนชีวิต #รู้จักตัวเองผ่านไพ่ทาโรต์ #ห้องเรียนพลังแห่งจิต #เขียนภาวนา ติดตามกิจกรรมได้ที่เว็บไซต์ www.dhammaliterary.org/open-course/