ตั้งคำถามเพื่อสอนตัวเราและเด็กๆ

  ตั้งคำถาม เพื่อสอนตัวเราและเด็กๆ เนื้อหาต่อยอดจากการอบรม “ห้องเรียน วิถีครู” รุ่นที่ 6   คัมภีร์สอนเด็กที่ดีที่สุดนั้น ก็คือการกลับมาทบทวนประสบการณ์วัยเด็กของตัวเอง เราในวัยเด็กรู้ว่าการตั้งคำถามแบบใดของผู้ใหญ่จึงจะเป็นประโยชน์กับเขา รวมทั้งท่าทีแบบใดและวิธีการใดบ้างที่จะช่วยให้ผู้ใหญ่เกื้อกูลการเรียนรู้ของเด็กได้ ตัวเราในวัยเด็กนั้นมีคำตอบอยู่แล้ว ผ่านประสบการณ์ทั้งสุขและทุกข์ในห้องเรียนและครอบครัว หากต้องการตั้งคำถามที่ทรงพลังกับเด็ก คุณครูต้องกลับมาถามตนเองก่อน เช่น ประสบการณ์วัยเด็กที่ผ่านมาสอนอะไรฉันบ้างในฐานะครู ? การที่ฉันในวัยเด็กจะเปิดใจกล้าพูดกล้าตอบกับผู้ใหญ่คนใด ต้องอาศัยเหตุปัจจัยใดบ้าง ? อย่าเพียงถามว่า “จะถามคำถามอย่างไรให้เด็กกระตือรือร้นที่จะตอบ” แต่ต้องกลับมาถามตนเองว่า ฉันมีสิ่งที่ดีอะไรที่จะทำให้เด็กสนใจอยากเรียนรู้และพูดคุยกับฉัน ? ฉันจะสร้างพื้นที่ที่ทำให้เด็กรู้สึกวางใจในและมีสมาธิในการทบทวนสิ่งต่างๆ ด้วยกันอย่างไร ? …และควรถามว่า ตอนฉันเป็นเด็ก ฉันก็อยากให้ผู้ใหญ่ พ่อแม่ และคุณครู ถามอะไรกับฉันบ้าง ? ก่อนที่เราจะถามคำถามยากๆ หรือซับซ้อนให้กับเด็ก เราควรเริ่มต้นจากคำถามง่ายๆ ที่จริงใจและทำให้เขารู้สึกวางใจว่า ครูรับฟังทุกคำตอบของเขา ไม่ใช่เฉพาะคำตอบที่ถูกต้องตามใจครูเท่านั้น เพราะมิเช่นนั้นแล้ว เขาจะไม่กล้าคิดและไม่กล้าตอบ เพราะรู้สึกว่าตัวเองไม่ดีหรือไม่ฉลาดพอที่จะตอบได้ ซึ่งบั่นทอนศักยภาพการเรียนรู้ของเขาอย่างมหาศาล การสอนให้เด็กตอบคำถาม ต้องควบคู่ไปด้วยกับการสร้างพื้นที่ในการเรียนรู้ และกระตุ้นให้เด็กเห็นความสำคัญของการตั้งคำถาม หากเราสอนแบบเดิมๆ ที่เน้นให้เด็กได้คำตอบตามตำรา หลักการ และความเห็นของครู… Continue reading ตั้งคำถามเพื่อสอนตัวเราและเด็กๆ

สำเร็จรุ่นที่ 18 แล้ว 🥳 หลักสูตร “รู้จักตัวเองผ่านไพ่ทาโรต์”

  สำเร็จรุ่นที่ 18 แล้ว 🥳 สำหรับหลักสูตร “รู้จักตัวเองผ่านไพ่ทาโรต์” เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน – 6 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา (จำนวน 5 วัน พร้อมการบ้านระหว่างสัปดาห์) ขอขอบคุณทั้งศิษย์ใหม่และเก่าที่เข้ามาเรียนรู้การใช้ไพ่ทาโรต์ และการสะท้อนทบทวนตนเองกับชีวิตในรุ่นนี้ ไพ่ทาโรต์ไม่เพียงเป็นเครื่องมือของการทำนาย แต่ยังสามารถใช้เป็นประตูสู่การสำรวจตัวเองและการใคร่ครวญ ด้วยหลักการและวิธีฝึกในควบคู่กับการพัฒนาจิตใจ   …สิ่งที่ผู้เรียนได้รับ…   “ได้เรียนรู้เทคนิคการตีความหมายหน้าไพ่, มุมมองการอ่านไพ่ที่หลากหลายจากเพื่อนในกลุ่ม ซึ่งแตกต่างจากตำราที่เรียนมา เป็นการอ่านไพ่ที่นุ่มลึก รับรู้ถึงพลังบวก ฟังแล้วรู้สึกดีต่อใจ, ได้เรียนรู้วิธีการวางไพ่แบบที่ไม่เคยสัมผัสมาก่อน เป็นการวางไพ่ที่สะท้อนตัวเองดีมาก อยากพัฒนาตัวเองเยอะๆ เพราะมีบางมุมที่ไม่เคยมีใครบอกให้เรารู้เลย” “การเรียนครั้งนี้ได้เห็นความก้าวหน้าในการรักตัวเอง มีความสุขในใจได้จากตัวเราเอง ได้เจอเพื่อนๆ พี่ๆน้องๆ ทั้งเพื่อนเก่าและเพื่อนใหม่ รู้สึกอบอุ่นใจอย่างบอกไม่ถูก เหมือนได้มาหยุดพักทบทวนความคิด และได้พลังใจในการก้าวต่อไปค่ะ” “ทำให้รู้จักตัวเองจากไพ่ทาโรต์ ได้รับความรู้จากการดูไพ่ เข้าใจสัญลักษณ์ไพ่ แต่ละใบว่ามีความหมายว่าอะไร โดยการเปิดไพ่ สามารถนำไปปรับปรุงแก้ไข เปลี่ยนแปลงทำให้มีทัศนคติที่ดีขึ้น” “ดีใจที่ได้รับโอกาสการเข้ามาเรียนในฐานะศิษย์เก่า หลังจากที่เรียนผ่านไปหลายปี ได้กลับรีเฟรช… Continue reading สำเร็จรุ่นที่ 18 แล้ว 🥳 หลักสูตร “รู้จักตัวเองผ่านไพ่ทาโรต์”

เปลี่ยนคำถาม เปลี่ยนชีวิต

  “เปลี่ยนคำถาม เปลี่ยนชีวิต” เนื้อหาต่อยอดจากการอบรม “ห้องเรียน วิถีครู” รุ่นที่ 6   การตั้งคำถามต่อตนเองเป็นการกำหนดวิธีคิดและการตัดสินใจ ซึ่งจะส่งผลไปยังท่าทีที่มีต่อสถานการณ์ในชีวิตทั้งทางตรงและทางอ้อม จิตใจนั้นมีการตั้งคำถามอยู่แล้วเป็นธรรมชาติ โดยเฉพาะเมื่อกำลังเผชิญกับจุดหวั่นไหว – ขอบรอยต่อระหว่างพื้นที่ปลอดภัยและพื้นที่เสี่ยง รวมถึงหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิตในช่วงวัยต่างๆ คำถามที่ดีมักทำให้เกิดการสะกิดใจให้ฉุกคิดและตัดสินใจอย่างเหมาะสม ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง การต่อยอด และการเติบโตไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เพราะคำถามเป็นเครื่องมือของธรรมชาติที่มอบให้มนุษย์ไว้ใช้รับมือกับความเปลี่ยนแปลง เป็นเครื่องมือในการแสวงความรู้และสร้างมิตรแท้ที่เติบโตไปด้วยกัน มิว่าเขาจะอยู่ในฐานะนักเรียน เพื่อน หรือกระทั่งตัวเราเองก็ตาม ขณะเดียวกันคำถามที่ไม่ดีมักเป็นการตอกย้ำและกักขังเราไว้ในวิธีคิดและวิธีการแก้ปัญหาที่วกวนไม่สิ้นสุด โดยไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ความสุข และการบรรลุจุดหมายเท่าที่ควร การถามอย่างตอกย้ำเช่นว่า “ทำไมจึงเป็นแบบนี้” “ทำไมจึงเป็นแบบนั้น” ซึ่งทำให้เรากล่าวโทษสิ่งต่างๆ มิว่าตนเองหรือผู้อื่น แต่ไม่ทำให้เห็นหนทางในการก้าวออกจากความมืดมนตรงหน้านั้นเลย มันเป็นคำถามที่ไร้ประโยชน์เพราะแค่ทำให้เราโกรธ เศร้าหมอง และอยากเอาชนะ แต่ไม่เกิดปัญญา การโฟกัสไปที่ปัญหาและถามซ้ำๆ ไม่สิ้นสุด เช่น “ทำอย่างไรจึงจะแก้ไขเรื่องนี้ได้” “ทำอย่างไรจึงจะทำได้สำเร็จ” อาจไม่ใช่คำถามที่เหมาะสม หากเมื่อถามแล้วคำตอบก็ยังเวียนวนในแบบเดิม และไม่ช่วยให้เกิดมุมมองที่นำไปสู่การพัฒนาให้ดีขึ้น การตั้งคำถามโดยโฟกัสไปยังปัญหามากเกินไปก็เปรียบเหมือนการอยู่ในบ้านที่ไฟกำลังลุกไหม้ แต่มัวจ้องไปยังกองเพลิง แทนที่จะมองหาทางออก ลองกลับมาตั้งคำถามใหม่ว่า ตอนนี้ยังมีโอกาสอย่างไร ? ประสบการณ์นี้สอนอะไรกับฉันบ้าง ?… Continue reading เปลี่ยนคำถาม เปลี่ยนชีวิต

เริ่มเดือนแรก โครงการเขียนบำบัดผู้ต้องขังปีที่ 4

  การเขียนมิใช่เพียงเครื่องมือในการสื่อสาร แต่ยังเป็นเครื่องมือในการฝึกสมาธิ ดูแลจิตใจ และสร้างพลังในการเปลี่ยนแปลงตนเอง เรากลับมาสอนผู้ต้องขังในเรือนจำอีกครั้งในปีนี้ ซึ่งนับเป็นปีที่สี่ของโครงการอบรมเขียนบำบัดผู้ต้องขังเรือนจำกลางสมุทรปราการที่มีโรคเรื้อรัง ร่วมกับนักจิตวิทยาและทีมพยาบาล โดยเริ่มเมื่อเดือนมิถุนายนรวมเป็นระยะเวลาทั้งสิ้น 4 เดือน (เลื่อนกำหนดการไปหนึ่งเดือนตามสะดวกของทางเรือนจำ) ในการฝึกการเขียนบันทึก และการเขียนบำบัด ด้วยโมเดลการเขียนบำบัดสี่แบบที่โครงการพัฒนาขึ้นจากการศึกษาในปีที่ผ่านมา กิจกรรมนี้เราตั้งใจให้เขาได้เห็นคุณค่าในตนเอง ทบทวนชีวิต พัฒนาสมาธิและคุณธรรมในจิตใจ มีสุขภาวะทางปัญญาด้วยมือและการฝึกฝนของเขาเอง เพื่อร่วมสร้างพลังและกระบวนการพัฒนาบุคคลที่ต้องขังในเรือนจำแห่งนี้ ให้เป็นดั่งรังไหมที่มอบโอกาสในการตื่นรู้และการเริ่มต้นใหม่แก่ผู้ที่เคยกระทำความผิด ทั้งเนื่องมาจากการขาดสุขภาวะทางจิตและปัญญา รวมทั้งการขาดทางเลือกที่เหมาะสมเมื่อถูกบีบคั้นด้วยสถานการณ์ต่างๆ ในชีวิต เราทุกคนมีเมล็ดพันธุ์แห่งพุทธะ คือความสามารถในการตื่นรู้อยู่ภายในจิตใต้สำนึกของตนเอง เพียงเราต้องมีพื้นที่ที่สำรวจลงไปผ่านชั้นของอารมณ์และความคิดต่างๆ จนกระทั่งได้เห็นคุณค่าอันแท้จริงที่ซ่อนอยู่ในตนเอง ในกระบวนการอบรมนี้ เราเก็บข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจสุขภาพจิตใจและสุขภาวะทางปัญญาและเปลี่ยนแปลงก่อน-หลังของพวกเขา โดยได้ข้อมูลเบื้องต้นแล้วว่าในกลุ่มผู้ต้องขังที่ร่วมเรียนในชุดนี้ขาดการเห็นคุณค่าในตนเอง การเข้าใจผู้อื่น มีความรู้สึกว่าชีวิตล้มเหลว และขาดความตระหนักรู้ถึงความสำคัญและความเชื่อมโยงของตนเองต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นประเด็นที่เราจะสังเกตการเปลี่ยนแปลงเมื่อพวกเขาได้เขียนบันทึกเพื่อฝึกสมาธิและการทบทวนตนเองอย่างต่อเนื่องในสี่เดือนนี้ ขอบคุณกำลังใจจากผู้สนับสนุนกิจกรรมและสื่อของสถาบัน ลูกศิษย์ของครูโอเล่ทุกท่าน ตลอดจนถึงผู้ติดตามในช่องทางออนไลน์ของเรา ท่านสามารถติดตามกิจกรรมฝึกสมาธิ การเขียนบำบัด และการพัฒนาจิตใจด้วยเครื่องมือต่างๆ ทางเพจและไลน์ของโครงการ โดยจะมีกิจกรรมเข้าฟรีและหลักสูตรต่างๆ ของโครงการ   กิจกรรมเปิดรับสมัคร กิจกรรมการอบรมที่เปิดรับสมัคร    

ขอบคุณและยินดีกับผู้เรียนทุกท่านที่ได้เข้าร่วม “มหัศจรรย์การตั้งคำถาม”

  กิจกรรมเรียนรู้การตั้งคำถามและการใคร่ครวญตนเองในหัวข้อ “มหัศจรรย์การตั้งคำถาม” ชุดหลักสูตร “ห้องเรียน วิถีครู” รุ่นที่ 6 ได้เปิดสอนในคืนวันที่ 24 – 25 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมานี้ เราขอขอบคุณและยินดีกับผู้เรียนทั้งหมด 169+ ท่านที่ได้มาร่วมทำกิจกรรมทบทวนชีวิต ฝึกการตั้งคำถาม และการสนทนากับใจตนเองในครั้งนี้ อีกทั้งยังได้ร่วมฝึกต่อผ่านการบ้านหลังจบของครูโอเล่ และให้กำลังใจแก่ทีมงานในการทำโครงการของเราต่อไป กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของการฝึกอบรมทางไกล เพื่อบ่มเพาะความเป็นครูในตนเอง ในแง่ของการเป็นที่พึ่งพาแก่ตนเองและผู้อื่น โดยไม่จำกัดว่าต้องมีอาชีพครูหรือไม่ และการฝึกพัฒนาทักษะกับคุณสมบัติสำคัญของครูและผู้ช่วยเหลือผู้อื่น โดยเราได้นำเนื้อหาและเทคนิคต่างๆ จากการอบรมแบบออนไซต์ที่เคยจัดในรุ่นที่ผ่านมา และโรงเรียนที่เราได้มีโอกาสเข้าไปช่วยพัฒนาบุคลากร นำมาสอนเป็นธรรมทานแบบออนไลน์ ในภาวะครบรอบ 16 ปีของสถาบันฯ เราจะมีกิจกรรมอบรมในชุด “ห้องเรียน วิถีครู” รุ่นที่ 6 อีกสามหัวข้อ ซึ่งจะจัดเดือนละหนึ่งครั้ง ติดตามกิจกรรมได้ที่เพจเฟสบุ๊ค สถาบันธรรมวรรณศิลป์ ซึ่งเราจะจัดเพียงปีละหนึ่งครั้งเท่านั้น ขอขอบคุณผู้เข้าร่วมทุกท่าน ขอแสงสว่างจากการตั้งคำถามตนเองและการนำไปใช้เพื่อผู้อื่น ช่วยส่องทางไปสู่หนทางที่เหมาะสมแก่ชีวิตและการเติบโตในด้านต่างๆ ต่อไป ต่อไปนี้เป็นข้อความส่วนหนึ่งจากผู้เข้าร่วม ในการมาทำกิจกรรมครั้งนี้ “ได้เข้าใจความรู้สึก ความต้องการของตัวเองได้ชัดเจนขึ้น ทำให้มีพลังที่จะเปลี่ยนและรู้ตัวว่าต้องทำอะไรต่อไป” “รู้สึกดีค่ะ สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้คือการที่เราได้กลับมาทบทวนตนเอง… Continue reading ขอบคุณและยินดีกับผู้เรียนทุกท่านที่ได้เข้าร่วม “มหัศจรรย์การตั้งคำถาม”

เข้าอบรมฟรี ! “มหัศจรรย์การตั้งคำถาม” (ภาคกลางคืน)

  เข้าอบรมฟรี ! ฝึกทักษะที่ต้องมีเพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเองและผู้อื่น ในกิจกรรมหัวข้อ “ม หั ศ จ ร ร ย์ ก า ร ตั้ ง คำ ถ า ม” พลิกใจ พลิกชีวิต เปลี่ยนวิกฤติ ด้วยการถามใจอย่างแยบคาย กิจกรรม “ห้องเรียน วิถีครู” รุ่นที่ 6 – บ่มเพาะครูภายในตน เรียนทักษะสำคัญเพื่อเป็นที่พึ่งแก่ตัวเองและผู้อื่น อบรมออนไลน์ทาง Zoom ในคืนวันที่ 24 – 25 มิถุนายน 2567 เวลา 19.30 น. – 21.30 น. (รวมสองคืน) ลงทะเบียนล่วงหน้า ทาง Inbox เพจเฟสบุ๊ค “สถาบันธรรมวรรณศิลป์” ทางอีเมล dhammaliterary@gmail.com… Continue reading เข้าอบรมฟรี ! “มหัศจรรย์การตั้งคำถาม” (ภาคกลางคืน)

หากยึด ‘สุข’ ก็ไม่พ้น ‘ทุกข์’ (ตอน 2)

  หากยึด ‘สุข’ ก็ไม่พ้น ‘ทุกข์’ (ตอน 2) หนึ่งในเนื้อหาช่วงท้ายของกิจกรรม “เขียน ปล่อย วาง” ครั้งที่ 5 . ความสุข และ คุณค่าของชีวิต มีมากมายหลายรูปแบบ เปรียบดังคำตอบของชีวิตที่เปิดกว้าง ไม่ได้มีใครจำกัดว่าจะต้องใช้คำตอบใดเป็นเพียงคำตอบเดียวของชีวิต ยกเว้นจิตที่มีความยึดมั่นเท่านั้นเอง การยึดมั่นในคำตอบใดคำตอบหนึ่งโดยไม่ได้พิจารณาให้ดี อาจทำให้เราพลาดโอกาสเรียนรู้ว่าจริงๆ แล้วชีวิตนั้นกว้างใหญ่กว่าความคิดของตนมากเพียงใด ‘การปล่อยวาง’ แง่หนึ่งคือการลอง ‘เปิดกว้าง’ กับตนเอง ฉันไม่จำเป็นต้องทำแบบนี้แบบเดียวก็ได้ … ฉันลองทำแบบที่ไม่เคยชินบ้างก็ได้ … ฉันไม่จำเป็นต้องคิดแบบนี้ก็ได้ … ฉันไม่จำเป็นต้องขังความคิดด้วยการย้ำคิดแบบเดิมๆ … ฉันไม่จำเป็นต้องสุขด้วยวิธีนี้ก็ได้ … มีความสุขอีกหลายแบบรอให้ฉันค้นหา การที่เราเคยชินที่จะยึดติดกับความสุขจากบางสิ่งบางอย่าง ก็คือการยึด ‘สุข’ ในอีกรูปแบบหนึ่ง ทำให้สุดท้ายเราก็จะเป็นทุกข์เพราะความสุขแบบเดิมๆ ที่เรายึดติดนั้นเอง เช่นความสุขจากการกิน การดื่ม การท่องเที่ยว การจับจ่ายซื้อของ การได้รับความรักจากคนอื่น การได้ทำงานสำเร็จ ฯลฯ ความสุขเหล่านี้ในตัวมันเองอาจไม่ใช่สิ่งเลวร้าย แต่เมื่อยึดถือเป็นคำตอบเดียวหรือคำตอบสำคัญของชีวิตแล้ว ผลเสียจากการกระทำหรือใส่ใจในสิ่งนั้นมากเกินไปก็จะเกิดขึ้น… Continue reading หากยึด ‘สุข’ ก็ไม่พ้น ‘ทุกข์’ (ตอน 2)

หากยึด ‘สุข’ ก็ไม่พ้น ‘ทุกข์’

  หากยึด ‘สุข’ ก็ไม่พ้น ‘ทุกข์’ หนึ่งในเนื้อหาช่วงท้ายของกิจกรรม “เขียน ปล่อย วาง” ครั้งที่ 5   สุข และ ทุกข์ ต่างก็เป็นเหรียญสองด้านของสิ่งเดียวกัน การปรารถนาในสุขก็ต้องยอมรับอีกด้านของมัน นั่นก็คือความทุกข์ แท้จริงความสุขก็เป็นเพียงความทุกข์ในรูปแบบที่เราทนกับมันได้มากกว่า มีเปลือกที่ดูสวยงาม หรือเราพอใจกับมันได้มากกว่าความทุกข์ในรูปแบบอื่น การใฝ่หาในสุขโดยหวังว่าจะไม่มีทุกข์นั้นเป็นไปไม่ได้ เพราะแม้แต่ความสุขที่ประเสริฐเพียงใด ก็มิพ้นไปจากการเสื่อมสลาย ความไม่สมบูรณ์แบบ และการไม่อาจที่ยึดเป็นของๆ ตนได้อย่างแท้จริง การยึดในความสุข ก็จะพาให้ชีวิตต้องดิ้นรนตามหาความสุขที่มากกว่า หรืออย่างน้อยๆ ก็เท่ากัน นั่นก็เป็นทุกข์ คือมีภาระ ความยากลำบาก และความไม่พอใจ เมื่อได้น้อยกว่าที่เคย หรือน้อยกว่าที่วาดหวังไว้ จิตใจก็เป็นทุกข์เช่นกัน เมื่อยึดสุขตามใจอยาก เจอสิ่งใดที่ไม่ได้ให้ความสุขอย่างที่อยากได้ มันก็เป็นทุกข์เพราะความไม่พอใจ สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตหรือที่เรียกว่าปัญหา อาจมิใช่ปัญหาโดยแท้จริงก็ได้ เพียงแค่มันเป็นสถานการณ์ หรือสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วไม่ได้ทำให้เราเกิดความสุขอย่างที่อยากได้เท่านั้นเอง เราจึงมองมันในทางลบ มากกว่ามองไปตามความจริง การฝึกภาวนาในทางพุทธศาสนา จึงให้เผชิญหน้าและก้าวข้ามไปจากทั้งสองขั้ว เพราะมิว่าจะยึดในสุขหรือทุกข์ ชีวิตเราก็ยังต้องเวียนว่ายในท้องทะเล ณ ที่ซึ่งจิตใจเราจะถูกคลื่นโยนขึ้นลงอย่างไม่จบสิ้น ความสุขยิ่ง ที่กล่าวถึงในพระพุทธศาสนา… Continue reading หากยึด ‘สุข’ ก็ไม่พ้น ‘ทุกข์’

ขอบคุณผู้เข้าร่วมทั้ง 171+ ท่าน “เขียน ปล่อย วาง” ครั้งที่ 5

  ขอบคุณผู้เข้าร่วมทั้ง 171+ ท่านที่ได้มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางปีที่ 16 ของ สถาบันธรรมวรรณศิลป์ ในกิจกรรม “เขียน ปล่อย วาง” ครั้งที่ 5 เมื่อคืนวันที่ 27-28 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา เราเป็นโครงการเล็กๆ ที่มุ่งหวังสืบสานปณิธานของท่านพุทธทาสในการส่งเสริมธรรมะที่เป็นแก่นแท้ ผ่านกิจกรรมการเขียน ศิลปะ การทำสมาธิ และเครื่องมือต่างๆ ที่เคยดูห่างไกลจากธรรมะ ให้มีหลักของการขัดเกลาจิตใจ ร่วมกับหลักจิตวิทยาร่วมสมัย และนำหลักธรรมมาประยุกต์ในชีวิตประจำวัน ปัจจุบันเรามุ่งหวังสร้างสังคมของการเกื้อกูลและการทำงานเพื่อสังคมที่พึ่งพาตนเองได้ ด้วยการลดการรับทุนให้เปล่าจากองค์กรภายนอก จนกระทั่งเราไม่มีการขอทุนเลยในปัจจุบันและใช้งบประมาณจัดกิจกรรมจากการอบรมต่างๆ และการจำหน่ายสื่อเท่านั้น ทางเรารู้สึกยินดีที่ทุกท่านได้มาให้กำลังใจและเรียนรู้กับโครงการในครั้งนี้ ซึ่งเป็นกิจกรรมกลุ่มใหญ่ระดับร้อยคนครั้งแรกที่เราเป็นเจ้าภาพเอง ต้องขออภัยในความไม่สะดวกของทุกท่านในบางช่วงของกิจกรรม 🙏 และขอให้ทุกท่านได้รับกุศลหรือสิ่งดีๆ จากการอบรมครั้ง เป็นพลังของการก้าวต่อไปอย่างหนักแน่น ทว่าเป็นอิสระจากข้างใน ต่อไปนี้เป็นข้อความส่วนหนึ่งจากผู้เข้าร่วม ในการมาทำกิจกรรมครั้งนี้ “ได้ทางออกในสิ่งที่ค้างคาใจ คลายปมในใจที่ไม่นึกมาก่อนว่ามันเป็นสิ่งที่ล็อคความสุขหลายอย่างในชีวิต การใช้หัวใจฟังความรู้สึกตัวเองทำให้รู้ว่าเบื้องลึกเรามีปมปัญหาอะไร การเว้นหายใจเข้าออกแล้วเขียน และใช้มือที่ไม่ถนัดเขียนพบว่ามันได้ทางออกของปัญหาและเปลี่ยนมุมมองความคิดใหม่ที่ไม่เคยคิดมาก่อนว่าจะออกมาในรูปแบบนี้ เป็นทางออกที่ไม่เครียด ปลดปล่อย ไม่กดดันตัวเอง และมีความสุขมากกว่าความสมบูรณ์แบบความคาดหวังที่อยากให้เป็นแต่แรกที่ไม่รู้ตัว” “ขอบคุณสำหรับกิจกรรมดีๆ ที่ครูสละเวลามอบให้ สองวันนี้ สิ่งที่ได้รับ… Continue reading ขอบคุณผู้เข้าร่วมทั้ง 171+ ท่าน “เขียน ปล่อย วาง” ครั้งที่ 5

หากต้องการ ปลดแอก ความแบกหนัก

  ทุกข์เหลือน้อย เมื่อคอย ดูความจริง ทุกๆ สิ่ง เกิดขึ้น ก่อนดับสูญ “อนิจจัง” ใดเล่า ควรเทิดทูน “อนัตตา” เป็นมูล พึงใส่ใจ คาดหวังความ ไม่เที่ยง ให้เที่ยงแท้ จึงเหลือแต่ ความเศร้า ใจสลาย แม้มิอาจ คิดยื้อ ยามตัวตาย ยังมิวาย ไขว่คว้า มากับตน พึงเห็นจริง ทุกสิ่ง เพียง “ทุกขัง” ใช่ที่ตั้ง ความสุข ทุกแห่งหน ล้วนเป็นของ บกพร่อง ไม่คงทน อย่ามืดมน ไปหลง ดงมายา หากต้องการ ปลดแอก ความแบกหนัก พึงรู้ใน “ไตรลักษณ์” ไม่กังขา มิใช่ตัว ใช่ของตน เพียงตถตา มิใช่ข้า มิใช่เขา เท่านั้นเอง เนตัง มะมะ เนโส หมัสมิ… Continue reading หากต้องการ ปลดแอก ความแบกหนัก