บทเรียน เขียนค้นตน ๒๕๖๐ (workshop รอบสอง)

      บันทึกบทเรียนจากการเข้าอบรมหัวข้อ “เขียนค้นตน” ในหลักสูตร #เขียนเปลี่ยนชีวิต รุ่นที่ ๑๗ ประเภท workshop   ตามไฟล์ภาพ ดังนี้ และอ่านเพิ่มเติมได้ที่อัลบั้มรูป        

บทเรียน เขียนค้นตน ๒๕๖๐ (๔)

        บทเรียน เขียนค้นตน #เขียนเปลี่ยนชีวิต กึ่งออนไลน์ รุ่นที่ ๑๖ (มกราคม ๒๕๖๐ รอบแรก) หัวข้อบันทึก “ดูแลตัวตนที่เปราะบาง” และ ไพ่ปลุกตัวตน “นักเรียนรู้” โดย คุณหน่อย อรอนงค์ อาชีพ พนักงานมหาวิทยาลัย www.dhammaliterary.org  

บทเรียน เขียนค้นตน ๒๕๖๐ (๓)

    บทเรียน เขียนค้นตน หลักสูตร #เขียนเปลี่ยนชีวิต รุ่นที่ ๑๖ “ขอบคุณมากนะคะการเขียนลงลึกไปในรายละเอียดทำให้มองกระจกแล้วสะท้อนใจ ผ่านการคิดการตีความอยู่ภายในมาเป็นการเขียน ซึ่งมันทำให้เรามีสติ อยู่กับปัจจุบันในขณะที่เราเขียนรู้สึกถึงการใช้สมาธิ เหมือนการนั่งวิปัสสนาต่างกันตรงที่การนั่งวิปัสสนาเรากำหนดสติตามลมหายใจ แต่การเขียนเราต้องมีสติตามการที่เราเขียน อยู่กับปัจจุบัน เป็นคนชอบเขียน แต่ไม่เคยเขียนแบบนี้มาก่อนเคยเขียนแต่ไดอารี่ เขียนสิ่งที่เราทำในแต่ละวัน ไม่เคยเขียนเป็นเรื่องๆ ถามตัวเองแบบนี้มาก่อน ขอบคุณนะคะที่ทำให้เห็นในสิ่งที่ไม่เคยรู้และทำมาก่อน ได้มองเห็นตัวเองโดยผ่านตัวเอง ” คุณติ๊ก ฉัตรทิดา อาชีพรับจ้าง www.dhammaliterary.org    

บทเรียน เขียนค้นตน ๒๕๖๐ (๒)

      บทเรียน เขียนค้นตน #เขียนเปลี่ยนชีวิต รุ่นที่ ๑๖ “ระหว่างทำกิจกรรมบันทึก สองด้านตัวตน ขั้นตอนแรก ภาพวาดแรกเป็นตัวตนสองตัวตน ตัวตนสัตว์ร้าย รุนแรง คุกรุ่น หมกมุ่น ร้อน ตัวตนผู้โน้มน้าว ตอนที่ระบายรู้สึกเย็น รู้สึกกว้าง แผ่ขยาย เหตุการณ์ที่นึกถึงในด้านผู้โน้มน้าว ระหว่างที่เขียนโดยไม่หยุด เป็นความรู้สึกดีดี รนู้สึกอยากให้เค้าทั้งคู่เข้าใจกัน ไม่อยากให้ถูกบังคับ ฝืนใจทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ (เพราะเคยเจอมากับตัวเอง) แต่สุดท้ายแล้วก็อยู่ที่คนทั้งสองนั้นที่เป็นคนเลือกตัดสินใจจะทำอย่างไร ด้านสัตว์ร้าย เป็นเหตุการณืที่เมื่อประสบครั้งใด จะคุกรุ่นขึ้นทันทีทุกครั้ง สัตว์ร้ายจะผงกหัวขึ้นทุกครั้ง เหมือนสัตว์ที่นอนอยู่อย่างสงบ แต่เมื่อถูกใครมาแหย่ หรือเข้ามาถึงตัว จะผงกขึ้นตั้งท่าทันที ไม่อาจสงบใจให้หลับต่อได้ แต่ก็ไม่ได้ทำอะไรโต้ตอบ ได้ตั้งท่า มอง จ้อง แต่ไม่อาจหลับต่อได้ บางครั้งลุกขึ้นมาขู่ บางครั้งขยับตัวให้รู้ว่าอยู่ตรงนั้น แต่ไม่ฉก ไม่กัด ไม่ทำร้ายคนเหล่านั้น . ขั้นที่สอง ระหว่างสนทนา รู้สึกถึงตัวตน และความรู้สึกของสัตว์ร้ายมากขึ้น ก่อนหน้านี้เข้าใจว่ามีแต่ความโกรธ ควาคับข้องใจ… Continue reading บทเรียน เขียนค้นตน ๒๕๖๐ (๒)

บทเรียน เขียนค้นตน ๒๕๖๐ (๑)

    “สรุปการเรียนรู้จากการเขียนค้นตน #เขียนเปลี่ยนชีวิต . ก่อนเริ่มต้นอบรมนั้นมีความรู้สึกว่าคอร์สนี้น่าสนใจมากๆ และต้องทำให้เราได้ค้นพบตัวเองว่าเป็นอย่างไร แต่หลังจากการเรียนตลอดระยะเวลาสี่สัปดาห์ มันไม่ใช่อย่างที่เราคิดเลย มันไม่ได้ทำให้เราค้นพบตัวเองอย่างที่หวัง แต่มันกลับได้กระบวนการที่จะให้เรียนรู้ตัวตนของเราในหลายๆ ด้าน . การอบรมที่ผ่านมาทำให้เราได้เรียนรู้ว่าตัวเราเองก็มีมุมดีๆ ที่ทำให้เราสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ ผมรู้ว่าการเรียนแค่นั้นไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเราได้ทันที จากหน้ามือเป็นหลังมือ จบคอร์สแล้วเราต้องเป็นอีกคนหรือเป็นคนใหม่ทันที มันไม่ใช่ ของแบบนี้มันต้องใช้เวลา เพราะตลอดเวลาที่ผ่านมาเราไม่เคยย้อนกลับมามองตัวเราเองเลย และเราก็เพิ่งหัดที่จะกลับมาค้นหาตัวตนของเราผ่านการเขียนบันทึก มันก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่จะเห็นตัวตนของเราจริงๆ หรอก เรายังคงต้องอ่านทบทวนสิ่งเราเขียนไป และทำซ้ำกระบวนการดังกล่าวหลายๆ ครั้ง จนกว่าเราจะเห็นอะไรชัดเจน ซึ่งมันก็จะชัดเจนขึ้นทุกครั้งที่เขียนอย่างแน่นอน ถึงแม้ว่าจะจบคอร์สแล้วผมคิดว่าจะเขียนต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าสิ่งที่คิดว่ามันเป็นปัญหาของเราจะได้รับการเยียวยาและเจอหนทางในแก้ไขปัญหานั้นๆ . กระบวนการต่างๆ ในการเขียนบันทึกนั้นทำให้เราได้กลับมาทบทวนหรือย้อนมองตัวเองอย่างจริงจัง เริ่มต้นจากสิ่งที่เรามีปัญหา แล้วลองให้เราจินตนาการและวาดลงในกระดาษ มันทำให้ภาพในจินตนาการของเราไม่หายไปไหน แล้วเราสามารถเขียนบันทึกต่อจากที่เราจินตนาการไว้ และทำให้เราสังเกตเห็นบางอย่างในภาพได้อีกด้วย ซึ่งช่วยให้เราเก็บรายละเอียดต่างๆ ได้ดีขึ้น นอกจากนั้นการเขียนบันทึกด้วยการโต้ตอบกันระหว่างมือขวา (ข้างที่ถนัด) แทนตัวเรา กับมือซ้าย (ข้างที่ไม่ถนัด) แทนอีกตัวตน มันทำให้เราได้รู้ความคิดจากอีกมุมมองนึง เวลาที่เราจมดิ่งกับเรื่องนั้นๆ มันก็จะคิดวนเวียนกับเรื่องนั้นๆ การที่เราจะออกจากวังวนแห่งความคิดนั้น เราก็คงต้องให้ใครบางคนมาฉุดเราออกมา ซึ่งก็คือ อีกตัวตนของเรา… Continue reading บทเรียน เขียนค้นตน ๒๕๖๐ (๑)

เราอาจเป็นฆาตกร

    #เราอาจเป็นฆาตกร : คอลัมน์ ไกด์โลกจิต Dana Plato เป็นนักแสดงเด็กที่มีผลงานโดดเด่นมาตั้งแต่อายุยังน้อย มีผลงานการแสดงนับสิบเรื่อง จนกระทั่งเธอมีปัญหาติดเหล้ายา การแสดงลดน้อยถอยลง เธอตั้งครรภ์ตอนอายุได้ ๒๐ ปี มีลูกชายหนึ่งคนชื่อ Tyler Lambert แล้วโชคชะตาก็ดิ่งลงมา อาชีพผันผวนจากภาพยนต์เกรดเอมารับงานเกรดบีและนิตยสารเพลย์บอย เธอพยายามปรับตัว สู้ชีวิต แม้ถูกคดโกงจนเงินหายสูญ จากนักแสดงเด็กผู้มีแววรุ่งโรจน์ต้องผันเปลี่ยนมาถ่ายแบบนู้ดหาเลี้ยงชีพ จวบจนเธออายุได้ ๓๕ ปี ได้รับเชิญจากรายการ The Howard Stern Show เพื่อสัมภาษณ์และบอกเล่าเรื่องราวชีวิตตน เล่าความผิดพลาดจากการติดเหล้ายา แต่ได้อธิบายว่าตนเองได้เลิกราห่างหายจากมันแล้วเหลือเพียงต้องใช้ยาแก้ที่ได้อนุญาตตามกฏหมายเพื่อรักษาอาการปวดจากการถอนฟัน เธอถูกกดดันอย่างหนักจากพิธีกรดำเนินรายการหลายคน ทั้งเค้นคั้นให้ตอบคำถามยืนยันการเลิกยา ยั่วยุเธอ ท้าให้พิสูจน์ต่อหน้ารายการ บีบคั้นให้เธอรู้สึกผิด ต่อหน้าผู้ชมทั้งหลาย คนทำรายการทีวีก็อาจอ้างได้ว่าเขาทำไปดังนั้นเพื่อเรียกความบันเทิงหรือความน่าสนใจของรายการ หรืออยากท้าพิสูจน์อย่างไรก็ตาม แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในหนึ่งวันต่อมา Dana ฆ่าตัวตายด้วยการใช้ยาแก้ปวดและยาคลายกล้ามเนื้อเกินขนาด จบชีวิตอดีตนักแสดงเด็กผู้โดดเด่นและแสดงภาพยนต์ชื่อดังอย่าง Exorcist II: The Heretic และซีรีย์ทีวี Diff’rent Strokes ต่อมาอีก… Continue reading เราอาจเป็นฆาตกร

บทเรียน “เขียนเยียวยา” กึ่งออนไลน์ (ธันวาคม ๒๕๕๙) (๖)

      บทเรียน เขียนเยียวยา (รอบสอง) หลักสูตร #เขียนเปลี่ยนชีวิต ๒๕๕๙ ************ “สำหรับบทเรียนต่างๆ ที่ผ่านมานั้นนับตั้งแต่ก้าวแรกที่เริ่มเดินเพื่อที่จะทำความรู้จักกับข้อดีภายในตัวเราผ่านคุณบันทึกพี่หมีตัวใหญ่ติดปีกสีเทา ที่พร้อมจะรับฟังเรื่องราวต่างๆ ในชีวิตเราอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งได้ก้าวต่อไปรู้จักกับหัวใจของตัวเองได้รับฟังเสียงจากหัวใจที่จริงๆ แล้วก็มีเสียงดังอยู่ในหัวของเราปะปนกับเสียงอื่นๆ อยู่ตลอดเวลา เพียงแต่เราไม่เคยได้คิดจะหยุดฟังอย่างตั้งใจ จากตอนทีเริ่มต้นบันทึกใหม่ๆ เรียกได้เลยว่าเป็นคนที่คิดฟุ้งซ่านไปเรื่อยเปื่อย ไม่รู้จักความต้องการของตนเอง มักเลือกเดินในเส้นทางที่คนรอบข้างคิดว่าดีเสมอ เรียกว่า ถูกคำพูดความคิดเห็นของคนที่แวดล้อมเตะไปเตะมาเสมอ แม้จะมีบ้างครั้งที่ทำตามหัวใจของตนเองแต่ก็ยังรู้สึกกังวลว่าสิ่งที่เลือกมานั้นดีจริงๆ แล้วเหรอ นั่นหมายถึงว่าฉันไม่กล้าฟังเสียงของหัวใจและเลือกมีชีวิตตามหัวใจของตนเอง จนกระทั่งผ่านบันทึกมากมาย ฉันค้นพบว่า ฉันช่างมีหัวใจที่แกร่งซ่อนอยู่ในตัวเป็นหัวใจที่ดีมากมาย เต้นอย่างแข็งแรง กระหายรอการรับฟังจากฉัน เพื่อที่สักวันฉันจะฟังเสียงหัวใจและกล้าก้าวไปเผชิญหน้ากับความกลัวในใจเพื่อจะได้ทำสิ่งที่หัวใจเรียกร้องเสมอมา และเมื่อพบว่าตนเองนั้นก็มีหัวใจก็ได้รวบรวมความกล้าที่จะกลับไปในอดีตเพื่อเข้าไปทำความเข้าใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยเด็ก และฉันได้เห็นว่านี่ฉันปล่อยให้เด็กน้อยร้องไห้อย่างเดียวดายอยู่ตรงบันไดนั่นเป็นเวลากว่า 26 ปีเชียวหรือ ฉันได้เรียนรู้ด้านดีของเด็กน้อยได้รู้เหตุผลที่ฉันชอบมองท้องฟ้าที่สดใส ได้เรียนรู้ว่า สิ่งดีๆ ที่มีในตัวฉันในปัจจุบัน ก็เพราะมีเด็กน้อยที่สดใสอยู่ในตัวนั่นเอง แต่ด้วยประสบการณ์ที่เด็กน้อยได้เจอและเข้าใจในวัยเด็กจึงทำให้ฉันใช้ชีวิตแบบครึ่งๆ กลางๆ มาตลอด จะก้าวก็ไม่ก้าว จะถอยก็ไม่ถอย และจากนี้ฉันจะก้าวต่อไปพร้อมเด็กน้อยที่มีพลังมองเห็นสิ่งดีดีของโลกในตัวฉัน และพลังอื่นๆ ที่มีอยู่ในตัวทำหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะหมดลมหายใจ จากนั้นได้ก้าวต่อเรียนรู้ปมในใจที่มีมาตลอดข้อดีของการเรียนรู้ปมในใจ คือได้เห็นภาพชัดว่าสาเหตุที่เกิดปมนั้นมาจากครอบครัวที่ถ่ายทอดรูปแบบการเลี้ยงดูจากต้นตระกูลมาจนถึงรุ่นเรานั่นแสดงว่าพวกเขาเองก็ป่วยทางจิตใจตลอดมา ต่างก็แสวงหาความรัก ความยอมรับ และการชื่นชมจากคนในครอบครัว… Continue reading บทเรียน “เขียนเยียวยา” กึ่งออนไลน์ (ธันวาคม ๒๕๕๙) (๖)

บทเรียน “เขียนเยียวยา” กึ่งออนไลน์ (ธันวาคม ๒๕๕๙) (๕)

    บทเรียน เขียนเยียวยา (รอบสอง) หลักสูตร #เขียนเปลี่ยนชีวิต ๒๕๕๙ ************ “สวัสดีค่ะครูโอเล่ ชิขอแชร์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเรียนครั้งนี้ คือ เราต้องมีความตั้งใจ เปิดใจ จริงใจกับตัวเอง วิธีการสอนและการเอาใจใส่ของครู เป็นจุดเริ่มต้น เรามีบันทึกในหัวข้อต่างๆเป็นกระบวนการในการสื่อสารระหว่างกัน ทั้งใจ ร่างกาย ความคิด และสื่อสารให้กับครูช่วยแนะนำ เราได้ผลงานที่ช่วยให้เราตอบคำถามต่างๆ ในใจเราได้ เราค้นพบเพื่อนแท้ รักแท้ ที่ให้กับตัวเอง เราเห็นคุณค่าของเราเอง ซึ่งเป็นจุดสำคัญในการปรับเปลี่ยนชีวิตเราไปจากเดิม โดยมีเราเป็นคนเลือกที่จะเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น เราจะทบทวน ระลึกถึงตัวเอง ธรรมชาติ ความเครียด สิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วย เพื่อไม่ให้ปัญหาใหม่ๆ ที่เข้ามาพาเราไปไกลจากตัวเอง ขอบคุณคุณครูมากนะคะ ชิรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงของใจ ความหนักแน่น ที่ได้หลังจากการเรียนครั้งนี้ค่ะ ขอบคุณค่ะ / ชิ ^^” ************ www.dhammaliterary.org    

บทเรียน “เขียนเยียวยา” กึ่งออนไลน์ (ธันวาคม ๒๕๕๙) (๔)

    บทเรียน เขียนเยียวยา (รอบสอง) หลักสูตร #เขียนเปลี่ยนชีวิต ๒๕๕๙ ************ “สวัสดีค่ะ ครูโอเล่ สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากคอร์สกึ่งออนไลน์ เขียนเยียวยา ค่ะ คอร์สเขียนเยียวยารอบนี้นับว่ามาได้ตรงจังหวะของตัวเองในช่วงส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่มากๆ คือได้ทบทวนตัวเองถึงของขวัญ สิ่งดีๆ ที่ได้รับ ได้เรียนรู้จากปีเก่า และของขวัญ สิ่งดีๆ ที่จะมอบให้กับตัวเองในปีใหม่นี้ ทำให้ได้ลงมือทำสิ่งที่ตั้งใจไว้ในปีเก่าให้เสร็จเรียบร้อย และเริ่มทำสิ่งที่บ่ายเบี่ยงไม่กล้าทำมานาน ทำให้พบว่าไม่มีอะไรน่ากลัวเท่ากับการไม่ลงมือทำ ในขณะเดียวกันก็พบว่าการลงมือทำจนร่างกายเหน็ดเหนื่อยเกินพอดี อีกทั้งยังละเลยไม่ได้สนใจดูแลนั้น ก็ทำให้เกิดทุกข์ พอดีกับเจอกับบทเรียนผู้เยียวยาภายในที่สอนให้หันกลับมาใส่ใจดูแลรับฟังร่างกาย ให้ความรักกับตัวเองอย่างพอดี ทำให้ได้ปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตตัวเองให้พอดีทั้งด้านการทำงานบ้าน และที่ทำงานอย่างเต็มที่ พร้อมกันก็ได้ดูแลตัวเองให้ดีและสมดุลไปพร้อมกัน ส่วนที่ประทับใจมากคือการได้ใช้เทคนิคเขียนนิทานในการผสานการสร้างสรรค์จินตนาการไปพร้อมกับการทบทวน เรียนรู้ชีวิตที่ผ่านมาของตัวเองอย่างเข้มข้นภายในไม่กี่หน้ากระดาษ ทำให้กระจ่างกับสิ่งที่พบเจอในชีวิตที่ผ่านมา เข้าใจเหตุผล การกระทำของตัวละครในนิทานแต่ละตัว เป็นดั่งเครื่องมือวิเศษที่ช่วยปลดปล่อย เยียวยา ช่วยให้ปล่อยวาง และทำให้รู้สึกอิ่มเต็มอย่างพอดี ทำให้เข้าใจคำว่าเขียนเยียวยาสมดั่งชื่อคอร์สจริงๆ ค่ะ ขอบพระคุณค่ะ เจี๊ยบ” ************* www.dhammaliterary.org

บทเรียน “เขียนเยียวยา” กึ่งออนไลน์ (ธันวาคม ๒๕๕๙) (๓)

        บทเรียน “เขียนเยียวยา” กึ่งออนไลน์ (ธันวาคม ๒๕๕๙) #เขียนเปลี่ยนชีวิต . . . “เดิมก่อนได้เรียนเขียนเยียวยา เข้าใจแต่ว่าบันทึกในทุกวันของเราก็คือการบ่นทุกอย่างที่ผ่านมาในแต่แหละวัน บันทึกเป็นที่ระบาย บ่นได้ทุกอย่าง พูดมันทุกเรื่อง เขียนไปเท่าที่อยากเขียน ส่วนใหญ่ไม่ใช่เรื่องดี หรือเขียนมากไปแล้วเจอทางแก้ก็ไม่ใช่ จนรู้สึกเหนื่อยกับการเขียนบันทึก และพอเห็นเรื่องเขียนเยียวยาก็มีคำถามในใจว่าการเขียนมันจะช่วยเยียวยาได้ยังงัย ทุกวันที่ที่เขียนอยู่ก็คิดมันมันคือที่สุดแล้ว พอได้เรียนเขียนเยียวยา ทำให้รู้ว่ามีมากมายหลายวิธีในการเขียน เขียนไปดูใจเราไป เขียนไปหยุดทบทวนสิ่งที่เขียนออกไปด้วย ว่าเขียนด้วยอารมณ์ไหน ทำความเข้าใจกับเหตุการณ์ได้ใหม่ถ้าเราต้องการ ชอบหัวข้อชุดที่ครูโอเล่ส่งให้ มันเหมือนเรื่องที่ค้างลึกๆอยู่ในใจเรา ก่อนจะเลือกบอกตัวเองอยู่ในใจว่าถ้าครูให้เขียนเรื่องเกี่ยวกับอะไรต้องเขียนเรื่องนั้นของเราจริงๆนะ ไม่ต้องอายครู ไม่ต้องสนใจใคร เพราะเราต้องการเยียวยาตัวเอง พอเอามาเขียน เหมือนได้เอามาทบทวน ได้เข้าใจใหม่ ชอบที่เขียนมือซ้ายและมือขวา เหมือนเถียงกับตัวเองทางตัวหนังสือ มือซ้ายต้องการความถูกต้อง ถูกใจ ให้กับตัวเอง มือขวาคอยบอกว่าอะไรดีอะไรไม่ดี “เธอลองคิดใหม่สิมือซ้าย, เหตุการณ์ไม่ได้เลวร้ายหรอกนะ หรือถ้าเธอเป็นเขาบ้างหละ” มีคำพูดเหล่านี้เกิดขึ้นในใจ แทนคำพร่ำบ่นอยู่ตลอดเวลา มือซ้ายที่อยากพร่ำบ่นแต่ด้วยความที่เขียนไม่ค่อยถนัดทำให้ความคิดเราช้าลง ได้มีเวลาทบทวนสิ่งที่ต้องการจะพรั่งพรูออกมา พอมือขวาเริ่มจะเขียนมันก็ทำให้เข้าใจอะไรมากขึ้น ชอบเทคนิคนี้และคิดว่าจะเอามาใช้ตลอดหลังจากนี้ ขอบคุณครูโอเล่คะ… Continue reading บทเรียน “เขียนเยียวยา” กึ่งออนไลน์ (ธันวาคม ๒๕๕๙) (๓)