อนุสารธรรมวรรณศิลป์ ฉบับที่ ๑๕

“ยิ่งกลัวยิ่งสูญเสีย” ……การพบและการพรากล้วนมีคุณค่าความหมาย แสงตะวันยามตื่นจากหลับใหล แสงสีทองผ่องอำไพ ประกายจับน้ำค้าง ช่างงดงามนัก แต่แสงตะวันยามล่วงลับก็งามมิแพ้กัน… “พรหมโวหาร” ……เมื่อเราค้นใจเราจนเข้าใจ เราย่อมเห็นว่ามีสิ่งงดงามอยู่ข้างในนี้มากมาย โดยเฉพาะความรักที่แนบเนาดั่งเมล็ดภายใน หากวาจาเป็นดั่งผลที่งอกงามจากสวนหัวใจแล้ว เราย่อมเลือกได้ที่จะนำสิ่งที่ดีที่สุดมอบแก่คนอื่นๆ… “ให้รักนำทาง” …… Like dark turning into day Somehow we’ll come through….   อนุสารธรรมวรรณศิลป์ ๑๕ ณ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๒ อนุสารรายครึ่งเดือน คืนเดือนเพ็ญและคืนเดือนมืด   ความหลังครั้งยุวชนสยาม ตอนที่ ๒ ก่อร่าง คอลัมน์ ลมหายใจจับปากกา ตอน ยิ่งกลัวยิ่งสูญเสีย คอลัมน์ ปัญญามีความรัก ตอน พรหมโวหาร คอลัมน์ บันทึกเล็กเล็ก ตอน  ให้รักนำทาง คอลัมน์… Continue reading อนุสารธรรมวรรณศิลป์ ฉบับที่ ๑๕

“พรหมโวหาร” คอลัมน์ ปัญญามีความรัก #๔

    เล็ก ฉันรู้ว่าเราต่างยากปรับเข้าหาและเข้าใจกันในหลายจังหวะของการพบเจอและการสื่อสารที่ผ่านมา ฉันขอโทษเธอนะหากวาจาใดได้เคยพาใจเธอหม่นมัวหรือเจ็บปวด เพราะความหม่นมัวที่ฉันมีหรือความเจ็บปวดที่หวังเธอดูแล ฉันดีใจที่เธอให้อภัยและวางใจให้ถ้อยคำของฉันยังแนบเนาอยู่ใกล้ๆ ดวงใจ คนดี หลายครั้งเชียวนะที่ถ้อยคำของบุคคลที่เรารักหรือผูกพันกลายเป็นแส้ที่เฆี่ยนตี การทำร้ายกันเกิดขึ้นตั้งแต่ในโลกใบเล็กคือครอบครัวจนโลกใบใหญ่ในสังคม หัวใจเธอเจ็บปวดเพราะสิ่งใดนะ ฉันฟังน้ำตาของเธอ ดวงตาเธอคล้ำหมอง เส้นผมเธอหลุดร่วงลง ความมืดดำของหัวใจที่รักเธอและเธอรัก กลืนกินร่างกายและจิตใจเธอเนิ่นนาน ไยคนที่รักเธอจึงมิเห็นว่าความมืดดำของตนได้ทำร้ายกันมามากเพียงใด เขาหวังให้เธอเปลี่ยนแปลง แต่มิได้ย้อนมองสิ่งที่ตนต้องแปรเปลี่ยน ความรักควรจักกร่อนอัตตา ให้เหมือนน้ำอันอ่อนโยนกัดเซาะผาหินมิใช่หรือ เมื่อเรารักใครอย่างแท้จริง เราอาจยอมแม้แต่ลดความเป็นตนเอง เพื่อเปิดรับความเป็นคู่ หรือหัวใจอีกดวงอยู่ในรั้วรอบขอบใจ เล็ก เราจะเอ่ยคำหรือสื่อสารอย่างไร เราควรกล่าวความจริง หรือเก็บงำอำพลาง เราลองเรียนรู้จากท่านผู้เป็นเช่นนั้นนะ ท่านกล่าวคำสัตย์เสมอ แต่หัตถ์อันเมตตาก็เลือกเฟ้นใบไม้หรือดอกไม้มอบให้แก่เราเพียงบางส่วน สิ่งใดแล้วพูดแล้วถูกใจแต่ไม่จริง ท่านก็เลือกไม่เอ่ยคำวาจา สิ่งใดแล้วเป็นจริงแต่เอ่ยไปเกิดโทษมิเห็นค่าในครานั้น ท่านก็เลือกเงียบคำมิกล่าวถึง สิ่งใดแล้วเป็นเท็จลวงกล่าวแล้วก็ไร้คุณ ท่านก็มิเลือกหยิบยื่นแก่การสนทนา ต้องเป็นความจริงและมีคุณค่า มีคุณประโยชน์เหมาะแก่กาละ เทศะ บุคคล และสิ่งต่างๆ แล้วเท่านั้น ท่านพระสัมมาสัมพุทธจึงตรัสกล่าวแก่เราทั้งหลาย ฉันเคยเตือนเธอเล็กเอย บางสิ่งเราเพียงรู้จริงต่อกัน ทำดีต่อกัน แต่อาจมิเหมาะสมที่จะกล่าวถึงในตอนนี้ หากกล่าวเฉลยแล้วก็จะมีภัยจนถึงวันหน้า ฉันให้อภัยเธอที่หลงลืมนะ และเล็กเอย สิ่งใดที่เธอควรกล่าว เป็นความจริง… Continue reading “พรหมโวหาร” คอลัมน์ ปัญญามีความรัก #๔

“ให้รักนำทาง” คอลัมน์ บันทึกเล็กเล็ก #๖

    “ให้รักนำทาง” คอลัมน์ บันทึกเล็กเล็ก #๕  โดย น้องเล็ก     “Like dark turning into day Somehow we’ll come through Now that I’ve found you Love will find a way.”*   ฉันเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่ามนุษย์แต่ละคนแตกต่างกัน แตกต่างทั้งเชื้อชาติ ศาสนา ทัศนคติและความเชื่อ ซึ่งมีผลมาจากการกระทำที่ต่างกัน ผลลัพธ์ที่ออกมาจึงไม่เหมือนกัน แต่ฉันก็เชื่ออีกว่ามนุษย์เรานี่ช่างเหมือนกันเสียนี่กระไร ทั้งความรู้ไม่จริง ทั้งมีความฝัน ความอยาก ความชอบ และความรัก… ความรักนี่แหละที่เป็นบ่อเกิดของสรรพสิ่ง ฉันเองก็ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมฉันถึงเชื่อมั่นในความรักนักหนา ทั้งๆ ที่มันเป็นนามธรรม พิสูจน์ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าไม่ได้ แต่ฉันก็เชื่อมาโดยตลอดว่า ความรักเป็นบ่อเกิดของทุกสิ่งจริงๆ ‘แตกต่างเหมือนกัน’ ท่ามกลางโลกที่มีผู้คนมากหน้าหลายตา ร้อยพ่อพันแม่ บัณฑิตแลนักปราชญ์ผู้แสวงหาความจริงอาจรู้สึกเหว่ว้าได้ง่ายๆ ยิ่งเป็นบัณฑิตผู้มีไหวพริบสติปัญญาเฉียบ ความเบื่อหน่ายในชีวิตมนุษย์ย่อมเกิดขึ้นภายในใจของบัณฑิตผู้นั้นอย่างแน่นอน… Continue reading “ให้รักนำทาง” คอลัมน์ บันทึกเล็กเล็ก #๖

ยิ่งกลัวยิ่งสูญเสีย

  หายใจเข้า เราชวนลมหายใจเข้ามาสู่บ้านของเรา บ้านในปัจจุบันขณะ มิกังวลว่า เราจะต้องสูญเสียหรือพรากจากกันในอนาคตอันใกล้ หายใจออก ลมหายใจจากเรากลับคืนสู่ที่มาของผืนฟ้า เรามิกลัวหรือกังวลใจ เพราะลมหายใจกำลังกลับคืนสู่บ้านอีกคราครั้ง หายใจเข้า การสูญเสียนั้นเจ็บปวด มิว่าบุคคลอันเป็นที่รัก การงานหรือชื่อเสียง ของรักทรัพย์มีค่า สิ่งที่ห่วงและหวงแหน การสูญเสียอาจพาเราหม่นเศร้า หัวใจราวแหว่งวิ่นขาดหาย รอยร้าวจากการพลัดพรากอันยากจะทดแทน เมื่อใดที่เราสูญเสียบางสิ่ง หรือรู้สึกกำลังสูญเสีย หายใจออก กลับมาอยู่เป็นเพื่อนหัวใจ อย่าเพิ่งได้ด่วนจากตามด้วยความอาลัยหรือไขว่คว้าสิ่งชดเชย อยู่เป็นเพื่อนรับฟังตัวเอง เมื่อเรามิปรารถนาการถูกทอดทิ้ง  ขอเรากลับมาเคียงข้างใจยามเจ็บปวด ชวนเขาหรือเธอข้างในนี้ เฝ้ามองดูการสูญเสีย ดั่งดูลมหายใจออก ดั่งชื่นชมพระอาทิตย์ยามลับฟ้าหรือขอบทะเล มองดูการจากไป รับรู้ความเศร้าอาลัย หากดวงตาใจจะเห็นความมืดมนก็โปรดมองความมืดมนนั้น เพราะว่าเมื่อแสงอาทิตย์ลับฟ้าแล้ว ความมืดค่ำย่อมครอบคลุมกาลเวลา นี่มิอาจเลี่ยงพ้น เราอาจจุดไฟให้แสง เช่นเราให้กำลังใจหรือข้อคิดที่ดีกับตัว หากทำเช่นนั้นแล้วเรารู้สึกปลอดภัยและมั่นคง ขอจงจุดไฟเถิด และหากความมืดนั้นยังมิหายไป ให้ความมืดมนอยู่ตรงนั้น เขามาตามธรรมชาติ หายใจเข้า ธรรมชาตินั้นย่อมมีลักษณะร่วมกัน เหมือนกันอยู่ นั่นคือความไม่แน่นอน มีความทุกข์ และไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน มิว่าสิ่งใด คนที่เรารัก ใครที่ผูกพัน สิ่งล้ำค่า และแม้แต่ตัวเราก็มิพ้นสามลักษณะนี้… Continue reading ยิ่งกลัวยิ่งสูญเสีย

“ตามขุด” คอลัมน์ ความหลังครั้งยุวชนสยาม #๔

คอลัมน์ ความหลังครั้งยุวชนสยาม #๔ ตอน “ตามขุด” เขียนโดย ประชา หุตานุวัตร เขียนเสร็จเมื่อปลายเหมันต์ ปี ๒๕๔๘ แก้เกลาใหม่ ตุลาคม ๒๕๕๘ กระท่อมน้อยในทุ่งฝัน ชุมชนฟินด์ฮอน สก๊อตแลนด์   เมื่อมาถามตัวเองตอนนี่ว่าอะไรทำให้พวกเราในวัยนั้น เอาจริงเอาจังกับการตั้งกลุ่มยุวชนสยามโดยมีเพียงอุดมคติกว้างๆว่าจะทำประโยชน์ต่อส่วนรวม ยังไม่มีอุดมการณ์อะไรให้ยึดมั่นจริงจังนัก และหลายคนในหมู่พวกเราก็เป็นพวกเรียนดี เอาดีตามที่สังคมสมัยนั้นยกย่องได้สบายๆตามวิถีของตนๆ ผมเข้าใจว่ามีหลายเหตุปัจจัยยากที่จะหาข้อสรุปทั่วไปได้ แต่เท่าที่พอเห็นและสังเกตได้และมองย้อนหลังไปสี่ทศวรรษ ประการแรกน่าจะเกิดจากความแปลกแยกอันเนื่องมาจากการแก่งแย่งแข่งขันในหมู่นักเรียนเรียนดีประการหนึ่ง ประการที่สองน่าจะเป็นความมันอันเกิดจากการได้ทำกิจกรรมนอกหลักสูตร ประการสุดท้ายน่าจะเป็นเพราะเราเริ่มได้รับกระเส็นกระสายของวัฒนธรรมคนหนุ่มสาวหัวก้าวหน้าในมหาวิทยาลัยกลุ่มที่กล่าวมาแล้ว โดยเฉพาะจากประวัติของโกมล คีมทอง สี่ปีกว่าในสวนกุหลาบก่อนที่ชีฯจะมาชวนผมตั้งกลุ่มนั้น ผมรู้สึกได้ว่าการแข่งขันเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ และเพื่อนจริงๆน้อยลงไปเรื่อยๆ โดยเฉพาะนับแต่เมื่อขึ้นชั้นม.ศ.๒ และผมเลื่อนจากห้องราชินีมาอยู่ห้องราชา สมัยนั้นสอบไล่ชั้นม.ศ.๕เป็นข้อสอบส่วนกลาง และมีการเทียบคะแนนทั่วประเทศ  โรงเรียนผมและโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาจะผลัดกันได้ตำแหน่งที่หนึ่งประเทศไทยกันเป็นประจำ นอกจากนั้นนักเรียนที่ได้ตำแหน่ง ๕๐ คนแรก จะได้รับการจารึกชื่อไว้บนกระดานเกียรติยศของโรงเรียน เรียกว่าติดบอร์ด เมื่อมาอยู่ห้องราชา ที่มีอยู่ประมาณ ๓๐กว่าคน ตำแหน่งที่หนึ่งประเทศไทยก็ต้องถือว่าเป็นไปได้สำหรับทุกคน จำได้ว่าตอนอยู่ชั้นม.ศ.๓ ยังสนุก ตอนพอขึ้นถึงชั้นม.ศ. ๔ ผมก็ล้าเต็มที เพื่อนสนิทเหลือเพียงคนสองคน ทุกคนเอาแต่เรียน เวลาสอบบางคนถึงกับมือไม้สั่นเพราะความวิตกกังวล แม้ผมจะออกจากโรงเรียนมานาน แต่ยังฝันร้ายเรื่องสอบเสมอๆเป็นสิบปี  แต่ตอนนั้นความล้า… Continue reading “ตามขุด” คอลัมน์ ความหลังครั้งยุวชนสยาม #๔

“พลังแห่งจิต หนึ่งคิดลิขิตใจ” คอร์สสะกดจิตเพื่อการกุศล

คอร์สสะกดจิตเพื่อการกุศล เนื่องใน ๗ ปีสถาบันธรรมวรรณศิลป์ “พลังแห่งจิต หนึ่งคิดลิขิตใจ” การสะกดจิตไม่ใช่เรื่องพิเศษ เพียงเผยความพิเศษในจิตและกายเราทุกคน   เราจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ : พลังของการจินตภาพ ศิลปะกับการสะกดจิต ปัญญาในร่างกายผ่านหัวใจ การปรับพลังชีวิตด้วยจักระ ๗ และการสะกดจิตย้อนวัยและอดีตชาติ เพื่อนำศักยภาพแห่งจิต พัฒนาชีวิต ด้วยตัวเราเอง เพราะการสะกดจิตและพลังจิตมิใช่เรื่องไกลตัว แต่เป็นเรื่องในจิตและกายทุกขณะลมหายใจ     วิธีการเรียนการสอน – แก่นแท้ของการสะกดจิตบำบัดและการใช้ศักยภาพแห่งจิต มีอยู่รอบๆ ตัวอย่างไร การอบรมจะอธิบายแก่นสารชนิดที่การอบรมสะกดจิตอาจไม่เคยอธิบาย – เรียนอย่างมีส่วนร่วม ได้ฝึกฝนปฏิบัติ และสะกดจิต/ส่งพลัง ดูแลกันและกัน – ใช้กระบวนการกลุ่มพูดคุยแลกเปลี่ยน ประกอบกับการบรรยาย และการสาธิต – ใช้กิจกรรมศิลปะเป็นส่วนช่วยเติมเต็มและเป็นเครื่องมือประกอบการสะกดจิตที่นำไปใช้ได้   กำหนดการการอบรม ดังนี้ วันเสาร์ที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๘ เริ่มลงทะเบียน ๘.๓๐ น. เริ่มต้นการอบรม ๙.๐๐ น. ถึง… Continue reading “พลังแห่งจิต หนึ่งคิดลิขิตใจ” คอร์สสะกดจิตเพื่อการกุศล

“มองเปลี่ยนมุม” คอลัมน์ บันทึกเล็กเล็ก #๕

    “มองเปลี่ยนมุม” คอลัมน์ บันทึกเล็กเล็ก #๕  โดย น้องเล็ก   “อยู่ที่เรียนรู้ อยู่ที่ยอมรับมัน ตามความคิดสติเราให้ทัน อยู่กับสิ่งที่มี ไม่ใช่สิ่งที่ฝัน แล้วทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด”*     ว่ากันว่าสมองของมนุษย์มีขีดจำกัดให้มองเห็นสิ่งต่างๆ ได้เพียงด้านเดียว? ไม่จริงหรอก… คนเรามีดวงตาสองข้างซ้ายขวา ทำให้เกิดภาพในสมองได้หลากมิติมากขึ้น! นั่นก็จริงส่วนหนึ่ง แต่การมองเห็นในที่นี้หมายถึงการมองจากดวงตา ‘ภายใน’ ต่างหาก ด้วยความสามารถพื้นฐานของคน มักจะยึดติดกับรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งเสมอ การยึดติดก็เหมือนกับการทากาวตราช้างลงบนตัวเองแล้วไปติดหนึบกับ ‘ของสิ่งนั้น’ ทุกคนย่อมรู้ดีว่ากาวตราช้างนั้นช่างแสบร้อนเหลือหลาย! การที่คนยึดติดข้างใดข้างหนึ่งของ ‘ของสิ่งนั้น’ มากเกินไปก็เนื่องมาจากความไม่รู้และทิฏฐิดื้อรั้นไม่ยอมเปิดหูเปิดตาเปิดใจรับรู้รับฟังสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับทัศนคติของตัวเอง ‘สิ่งนี้’ แหละที่จะนำเขากลับเข้าสู่วังวนแห่ง วัฏจักรชีวิตต่อไปเรื่อยๆ เพราะที่แท้จริงแล้วทุกสิ่งไม่ได้มีด้านเดียวหรอก คนธรรมดาอาจจะอยากเห็นแค่ด้านเดียวเพราะเขาพอใจอยู่แค่นั้น แต่หากเขาปรารถนาที่จะเป็นบัณฑิต เขาจะต้องใช้น้ำล้างกาวนั่นเสียก่อน และต้องค่อยๆ แกะกาวออกมา และตัวเขาก็จะค่อยออกมาจากจุดที่เขายึดติดทีละนิดๆ หากว่าโลกใบเดิมของเราถูกตีกรอบเอาไว้ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าโลกนั้นมีกรอบ ถ้าหากเราไม่ได้ออกมาจากกรอบของโลก และเท้าของเราอยู่ติดกับพื้น…? การปรับเปลี่ยนมุมมองคือการปฏิวัติชีวิตของคนเราเลยก็ว่าได้ เขาจะมองเห็นด้านหนึ่งของโลกได้ก็ต่อเมื่อเขาลองหันมองดูรอบๆ ตัว ซ้าย ขวา หน้า หลัง…… Continue reading “มองเปลี่ยนมุม” คอลัมน์ บันทึกเล็กเล็ก #๕

ชีวิตบอกใบ้

  หายใจเข้า อ่านลมหายใจทุกขณะดังอ่านทุกวรรควลีของหนังสือสำคัญ หายใจออก ร่างกายยามหายใจ กำลังบอกใบ้อะไรเกี่ยวกับตัวเรา อ่านลมหายใจเรา หายใจตื้นเขิน ชีวิตเคร่งเครียดบีบคั้นเพราะสิ่งใด หายใจยาวจนหมดแรงใจ เก็บกลั้นสิ่งใดเหนื่อยอก หายใจเข้าแล้วอึดอัดหรือบีบเกร็ง อะไรหนอปิดกั้นชีวิตชีวา ทุกบรรทัดของหนังสือ บอกใบ้ความหมายมากมายกว่าที่อักษรปรากฏ เรื่องราวแห่งเลือดเนื้อดำรงซ่อนอยู่ ผู้รู้จักอ่านนัยยะระหว่างบรรทัด หรือระหว่างอักขระที่จารึก ย่อมหยั่งลึกความหมายของชีวิตมากกว่าภาพลักษณ์ที่ปรากฏเห็นชัดเจน หายใจเข้า ชีวิตบอกใบ้สิ่งสำคัญแก่เราเสมอ ผ่านเรื่องราวที่พบเจอ ผ่านเหตุการณ์และลางสัญลักษณ์ต่างๆ ระหว่างก้าวเดินของชีวิต เมื่อเรารู้อ่าน รู้สังเกต เราย่อมเข้าใจความหมายของสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับเรา พระเจ้าไยจึงส่งสิ่งนั้นมาสู่ชีวิตของฉัน ธรรมชาติต้องการบอกอะไรจากเหตุการณ์นี้ หายใจออก เมื่อรู้อ่าน รู้สังเกต เราย่อมน้อมนำความหมายหรือข้อมูลนั้นมาใช้แก่ชีวิตเราได้ เพื่อป้องกัน เพื่อแก้ไข หรือเพื่อหาทางออก ความสัมพันธ์ที่แตกร้าวเพราะเราเงียบคำหรือหลบเลี่ยงการสื่อสาร อาจบอกเราว่าจำเป็นแล้วที่ต้องพูดสิ่งที่ควรพูด หรือต้องเผชิญกับถ้อยคำความจริงที่อาจไม่หวานหู เราอาจเลือกสื่อสารเพื่อเยียวยาความไม่เข้าใจได้ทันการณ์ แทนที่จะปล่อยให้เหตุการณ์ซ้ำร้ายลง หรือเกิดปัญหาเดิมกับบุคคลใหม่ ความเป็นตัวเรานั้นเป็นส่วนหนึ่งของระบบที่กว้างใหญ่ เป็นดั่งตัวอักษรหนึ่งบนหน้ากระดาษ เป็นดั่งหนังสือเล่มหนึ่งท่ามกลางหอสมุด เรานั้นคือส่วนหนึ่งของธรรมชาติ การกระทำของเราส่งผลต่อสิ่งต่างๆ ที่เชื่อมโยงผูกพันกับเรา ดั่งถ้อยคำหนึ่งทำให้ความหมายของทั้งบรรทัดแปรเปลี่ยน เมื่อเราเป็นเช่นถ้อยคำหนึ่ง นักเขียนย่อมต้องดูแลเรา เมื่อเรามีความหมายผิดเพี้ยน สื่อความไม่ชัดเจน หรือหลงประเด็น… Continue reading ชีวิตบอกใบ้

อนุสารธรรมวรรณศิลป์ ฉบับที่ ๑๔

“กล้ารัก” ……ความรักก็เป็นอีกชื่อหนึ่งของอภัยทานนะน้อย เธอเคยได้ยินไหมว่า “ความรักที่แท้จริงคือสิ่งที่ละลายหัวใจน้ำแข็ง กำแพงแห่งความกลัว” เมื่อน้อยรักสิ่งใด น้อยจะไม่มีความระแวงสิ่งนั้นเลย… “มองเปลี่ยนมุม” ……เพราะที่แท้จริงแล้วทุกสิ่งไม่ได้มีด้านเดียวหรอก คนธรรมดาอาจจะอยากเห็นแค่ด้านเดียวเพราะเขาพอใจอยู่แค่นั้น แต่หากเขาปรารถนาที่จะเป็นบัณฑิต เขาจะต้องใช้น้ำล้างกาวนั่นเสียก่อน… “ภาพที่พาฉันกลับบ้าน” ……ฉันเคยหลงใหล ด้วยใจไขว่คว้า ดิ้นรนโหยหา เหว่ว้าความคิดคำนึง ฝันใฝ่ถึงรัก อ้อมกอดเยียวยา…       อนุสารธรรมวรรณศิลป์๑๔ ณ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ 
แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ 
อนุสารรายครึ่งเดือน คืนเดือนเพ็ญและคืนเดือนมืด อ่านเพื่อประจักษ์ชีวิต ลิขิตเพื่อใคร่ครวญตน   ดาวน์โหลดได้ที่ อนุสารธรรมวรรณศิลป์๑๔ https://www.dhammaliterary.org/wp-content/uploads/2015/11/อนุสารธรรมวรรณศิลป์๑๔.pdf     คอลัมน์ประจำฉบับ ความหลังครั้งยุวชนสยาม ตอนที่ ๑ จุดเริ่มต้น คอลัมน์ กรุณามีแสงนำ ตอน กล้ารัก คอลัมน์ บันทึกเล็กเล็ก ตอน มองเปลี่ยนมุม คอลัมน์กวี สัมผัสใน… Continue reading อนุสารธรรมวรรณศิลป์ ฉบับที่ ๑๔

อนุสารธรรมวรรณศิลป์ ฉบับ ๑๓

“บทเรียนราคาแพง” ……มือที่เอื้อมมาสัมผัสมือฉันเบาๆสิ่งที่ฉันพยายามหาเหตุผลจากมือคู่นั้นมันเป็นเพียงสัมผัสอุ่นๆที่เต็มไปด้วยใจความขุ่นมัวในใจของฉัน แม้ว่ามือคู่นี้จะมาพร้อมกับคำว่า “เหนื่อยไหมวันนี้”… “อิสระแห่งการยอมรับ” ……เรามักมองว่า ความเป็นอิสระ หรือ การมีอิสระ คือการทะลุออกนอกกรอบ คือการแหกคอกหรือแหกกฎเงื่อนไข หรือคือการโบยบินไปแสนไกลจากที่ที่อยู่ ณ ตอนนี้… “หลากรสในหนึ่ง” ……สิ่งที่น่าตลกก็คือ ไม่ว่าทุกอย่างจะเละเทะ ขาดๆ เกินๆ บ้าง ตั้งไฟแรงเกินบ้าง ใช้เวลานานเกินไปบ้าง บทสรุปของชีวิตคือการยอมรับ…   อนุสารธรรมวรรณศิลป์ ฉบับที่ ๑๓ ณ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ 
ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ 
อนุสารรายครึ่งเดือน คืนเดือนเพ็ญและคืนเดือนมืด อ่านเพื่อประจักษ์ชีวิต ลิขิตเพื่อใคร่ครวญตน ดาวโหลดได้ที่ อนุสารธรรมวรรณศิลป์๑๓ https://www.dhammaliterary.org/wp-content/uploads/2015/10/อนุสารธรรมวรรณศิลป์๑๓.pdf     ลำดับบทความในอนุสารธรรมวรรณศิลป์ ฉบับ ๑๓ ๑. งานเขียนรางวัลธรรมวรรณศิลป์ เรื่อง บทเรียนราคาแพง ๒. คอลัมน์ ลมหายใจจับปากกา ตอน อิสระแห่งการยอมรับ… Continue reading อนุสารธรรมวรรณศิลป์ ฉบับ ๑๓