“หลากรสในหนึ่ง” คอลัมน์ บันทึกเล็กเล็ก #๔ โดย น้องเล็ก ชีวิตก็เป็นเช่นนี้ล่ะ! หลากหลายรสชาติที่ต่างกันรวมกันอยู่ในชีวิตของคนเรานี่แหละ! แต่ไม่ว่ารสชาตินั้นจะแตกต่างหลากหลายมากเท่าใด ก็ยังก่อเกิดส่วนผสมและสูตรที่ลงตัว ไม่ว่าระหว่างใช้ชีวิตจะยุ่งเหยิงสักเท่าไร ส่วนผสมทุกอย่างถูกใส่รวมกันหมด เขย่าแล้วเขย่าอีก คนแล้วคนอีก ใส่วัตถุดิบเพิ่ม ใส่เหตุการณ์ใหม่ลงไป เหยาะซอสเพิ่มความกลมกล่อม… สุดท้ายแล้วชีวิตของทุกคนต่างก็มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่สวยงาม หอมหวาน รสชาติถูกใจผู้ปรุงและผู้ชิมเป็นอย่างยิ่ง! สิ่งที่น่าตลกก็คือ ไม่ว่าทุกอย่างจะเละเทะ ขาดๆ เกินๆ บ้าง ตั้งไฟแรงเกินบ้าง ใช้เวลานานเกินไปบ้าง บทสรุปของชีวิตคือการยอมรับ เข้าใจมัน ปล่อยวางบ้างก็ได้ และมีชีวิตที่เหลืออยู่เพื่อรัก… ชีวิตอีกมาก ความรักก็เป็นเรื่องตลกแบบนี้เหมือนกันหรือเปล่า? เขาว่ากันว่า ความรักเป็นสิ่งที่ก่อเกิดทุกสรรพสิ่ง… และอีกร้อยพันนิยามสำหรับความรัก มนุษย์เราช่างสรรหาสัญลักษณ์ต่างๆ เพื่อแปลความรักให้เป็นรูปธรรมมากมายเหลือเกิน… ไม่ว่าจะเป็นตัวอักษร รูปภาพ ภาษากาย แม้กระทั่งคำว่า ‘ความรัก’ ยังไม่สามารถทำให้เราเข้าใจแม้เพียงเศษละอองทุลีของความรักอันยิ่งใหญ่ อันขบขันนี้ได้เลย ความแตกต่างหลากหลายของส่วนผสมชีวิตของ ‘เมนูชีวิต’ ยิ่งมากยิ่งอร่อยฉันใด ความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วยกันยิ่งต่างกันมากก็ย่อมมีประโยชน์มากฉันนั้น… เส้นทางชีวิตของคนเรา หากได้พบเจอผู้คนที่แตกต่างจากเราโดยสิ้นเชิง ย่อมเป็นโอกาสที่เราจะเรียนรู้อะไรได้อีกมากมายคล้ายๆ… Continue reading “หลากรสในหนึ่ง” คอลัมน์ บันทึกเล็กเล็ก #๔
Author: admin
อิสระแห่งการยอมรับ
หายใจเข้า รับรู้ดูแลลมหายใจเข้า เปิดรับและยอมรับ ทุกการหายใจที่เกิดขึ้น ณ ปลายจมูกและลึกลงในร่างกาย การหายใจคือการเปิดรับ การมีสติคือการยอมรับ ใส่ใจที่ลมหายใจเข้า ยอมรับอย่างผู้รู้ หายใจออก อำลาลมหายใจในร่างกาย ผ่อนออก เร็วหรือช้า รับรู้ดูแล หายใจออกคือปล่อยวาง สติคือการยอมรับ ใส่ใจที่ลมหายใจออก ยอมรับอย่างผู้วางลงแล้ว เมื่อเราจับปากกาเขียนอักษรถ้อยคำลง เรากำลังยอมรับความรู้สึกและความนึกคิดที่มีอยู่ในจิตใจ แผ่ลงวางเพื่อไตร่ตรอง เมื่อเราเจริญสติภาวนา จิตใจกำลังยอมรับความจริงที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน เพื่อมีประสบการณ์และกำลังสำหรับการยอมรับทุกลมหายใจแห่งเหตุการณ์ชีวิต เรามักมองว่า ความเป็นอิสระ หรือ การมีอิสระ คือการทะลุออกนอกกรอบ คือการแหกคอกหรือแหกกฎเงื่อนไข หรือคือการโบยบินไปแสนไกลจากที่ที่อยู่ ณ ตอนนี้ เราอาจไม่พอใจกับสภาพแวดล้อมที่บ้าน ที่โรงเรียน หรือที่ทำงาน เราอาจรู้สึกว่าชีวิตตอนนี้จำกัดไม่ให้เราทำอะไรเพื่อตนเองบ้างเลย เราอาจรู้สึกว่าใครบางคนใกล้ตัวเอาแต่กดดันหรือบังคับตนให้ทำสิ่งต่างๆ ทั้งที่หัวใจปฏิเสธ เราอาจใฝ่หวังช่วงเวลาที่หลุดพ้นจากสิ่งต่างๆ ที่จำกัดเราไว้แบบนี้ รอคอยหรือเฝ้าหาหนทางเป็นอิสระ เมื่อใจเราคิดยึดว่า อิสระคือการไปจากที่นี่ เป็นการทะลุกรอบ หรือเป็นการโบยบินไปไกลแสนไกล เราย่อมผูกยึดติดตนเองไว้กับความไม่พอใจ กับการปฏิเสธ กับการทุกข์ตรม หรือกับความอยากใคร่มี กลับกลายเป็นว่าอิสระที่เราเชื่อมั่นกลายเป็นเชือกผูกเราไว้และปิดบังตามืดมน… Continue reading อิสระแห่งการยอมรับ
“สร้างนาม” คอลัมน์ ความหลังครั้งยุวชนสยาม #๓
คอลัมน์ ความหลังครั้งยุวชนสยาม #๓ ตอน “สร้างนาม” เขียนโดย ประชา หุตานุวัตร เขียนเสร็จเมื่อปลายเหมันต์ ปี ๒๕๔๘ แก้เกลาใหม่ ตุลาคม ๒๕๕๘ กระท่อมน้อยในทุ่งฝัน ชุมชนฟินด์ฮอน สก๊อตแลนด์ การหาชื่อกลุ่มก็เป็นเรื่องที่พูดกันมาก คุยกันหลายรอบ จำได้ว่ามีเพื่อนชื่อสุชาย เป็นประธานชมรมพุทธศาสน์หรือภาษาไทย ผมจำไม่ได้แล้ว แต่ห้องชมรมติดกันกับชมรมภาษาอังกฤษที่ผมเป็นประธาน เป็นนักเรียนแผนกศิลป์ เป็นคนเรียบร้อย แบบมาตรฐาน คงอ่านหนังสือนอกห้องเรียนมากกว่าพวกเรา เขาเห็นมนัสกับผมครั่งท่านอาจารย์พุทธทาสและสวนโมกข์เขาก็เหล่ๆ อยู่ แต่เราก็ทำงานร่วมกัน เขามาช่วยงานภาษาอังกฤษที่เราจัดกับศึกษานารีด้วย ดูเหมือนจะขึ้นโต้วาทีด้วยกัน เขามีพี่ชายอยู่มหาวิทยาลัย รุ่นไม่ห่างพวกเรา ทำให้สุชายรู้เรื่องกลุ่มเรื่องชมรมค่ายต่างๆในมหาวิทยาลัยบ้าง และดูเหมือนจะมีกลุ่มแบบไม่เป็นทางการอยู่ด้วย ชื่อกลุ่มยุวชนอาสา พี่ชายเขาก็เคยมาประชุมกับพวกเรา อาจจะเป็นการประชุมครั้งแรกที่บ้านโตดังกล่าวมาแล้วด้วย ผมชอบชื่อนี้ ฟังเพราะดี แต่มีคนใช้เสียแล้ว ก็ต้องคิดกันใหม่ ตอนนั้นรัฐบาลกำลังโฆษณาต่อต้าน “ผู้ก่อการร้าย” อย่างมากมาย ชีฯเลยเสนอชื่อ “ผู้ก่อาการดี” ผมก็ตรองเรื่องชื่อมาก จนเช้าวันหนึ่งขณะที่กำลังถอนขนไก่ช่วยงานที่บ้านก่อนออกมาโรงเรียน ชื่อสองชื่อผุดขึ้นมา ชื่อหนึ่งคือยุวชนสยาม อีกชื่อคือ ยุวสยามินทร์ แต่ตอนนั้นไม่แน่ใจว่าชื่อหลังหมายถึงอะไรกันแน่… Continue reading “สร้างนาม” คอลัมน์ ความหลังครั้งยุวชนสยาม #๓
“รักลงรอย” คอลัมน์ บันทึกเล็กเล็ก #๓
“รักลงรอย” คอลัมน์ บันทึกเล็กเล็ก #๓ โดย น้องเล็ก “ต่างกันแค่ไหน แต่ถ้าขาดกันไป คงจะไม่ไหว ไปไม่รอดสักอัน มาเป็นคู่ช่วยกันอยู่ทุกที ถึงต่างกันอย่างนี้ก็เป็นคู่กัน” * ความรักคืออะไร? What is love? ฉันนึกถึงคำถามนี้ขึ้นมา เมื่อรู้สึกว่า สิ่งที่มีค่ามากที่สุดในชีวิตได้โบยบินจากไปแล้ว… แนวทางชีวิตของแต่ละคนแตกต่างกันไป หากเมื่อมีชะตาที่จะต้องเดินทางร่วมกันและได้ใช้เวลาด้วยกันอย่างมีคุณค่า ด้วยความรัก การสังเกตเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน จะได้พบเจอประสบการณ์ใหม่ๆ ด้วยกัน และแบ่งปันเรื่องราวเก่าๆ ให้แต่ละคนได้รับรู้ เวลาที่มีคุณค่ามากมาย ช่วงเวลาเหล่านี้คงเป็นความทรงจำที่ดี ตราตรึงอยู่ในหัวใจตลอด… ทว่าหากตลอดเวลาที่ใช้อยู่ด้วยกันกลับมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยึดมั่นถือมั่นในอีกฝ่ายมากเกินไป หรือกลับดูถูกเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งไม่ว่าเหตุผลอะไรก็ตาม ผลลัพธ์ของช่วงเวลาที่อยู่ด้วยกันจะถูกตีค่าออกมาเป็นความเจ็บปวด พร้อมๆ กับบาดแผลเรื้อรังที่จะคอยกัดกินใจ และทำลายจิต กลายเป็นระเบิดเวลาที่ตัวเลขลดน้อยลงเรื่อยๆ เพื่อรอวันที่ความอึดอัดจะระเบิดออกมา และสาเหตุที่น่าเจ็บปวดที่สุดในการที่จะก่อระเบิดเวลานี้ก็คือ ‘ความไม่เข้าใจกัน’ ‘การไม่ลงรอยกัน’ เป็นปัญหาใหญ่ระดับจักรวาลเลยก็ว่าได้ อันเนื่องมาจาก ‘ความไม่สมดุล’ ความไม่สมดุลนี้แหละที่เป็นตัวการในการก่อกำเนิดสรรพสิ่ง ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ภาพใต้ท้องฟ้ากว้างใหญ่ ท่ามกลางหุบเขาสายรุ้ง และระหว่างดวงดาวน้อยใหญ่ทั่วทั้งเอกภพ ดาราจักร… Continue reading “รักลงรอย” คอลัมน์ บันทึกเล็กเล็ก #๓
แน่ใจรัก
หายใจเข้า ให้แน่ใจว่าใจเราใส่ใจลมหายใจทุกละอองละเอียดอ่อนและทุกจังหวะหายใจเข้าช้า เร็ว รับรู้การเดินทางมาถึง จวบจนไหลลงสู่ร่างกาย ผ่านอวัยวะและส่วนต่างๆ เราติดตามการเดินทางของเขา หรือเพียงต้อนรับอยู่ที่หน้าประตู หายใจออก อำลาพวกเขากลับคืนสู่บ้านอันกว้างใหญ่ ให้แน่ใจว่าเราได้ใช้เวลากับเขาอย่างคุ้มค่าที่สุดแล้ว เพื่อมิให้หม่นหมองไขว่คว้ายามลมหายใจลับลาเลือน เมื่อเรารู้สึก เนื่องด้วยเหตุการณ์กระทบใจ หรือสิ่งใดมาผูกพันใจเรา ลองสำรวจภายในตน ถามจิตใจว่า ฉันรู้สึกอะไร รับรู้ความรู้สึกนั้น แต่อย่าเพิ่งปักใจเชื่อสนิทใจ เบื้องหลังของดอกไม้หอม และกลีบงาม ย่อมมีลำต้นผิวกร้านหยาบ มีรากหยั่งลงดิน ได้สารอาหารจากใบไม้และธาตุนานา เบื้องหลังอารมณ์ที่เรารับรู้ อาจมีความรู้สึกอื่นๆ ซ่อนอยู่ และมีความต้องการเบื้องหลังอันเป็นที่มาผลิความรู้สึกให้รู้สา หายใจเข้า ที่มาแห่งดอกไม้หอม อาจเป็นปุ๋ยอันเปื่อยเน่าในดิน ที่มาแห่งดอกไม้กลีบงามสวย อาจเพราะด้วยซากพืชซากสัตว์อันมิน่าดูชมที่หมักหมมอยู่ภายใน ความรู้สึกที่อยู่เบื้องหลังการกระทำต่างๆ ของเรา ย่อมมีที่มาเหมือนดอกไม้ของต้นไม้ เพราะมีบางสิ่งบางอย่างแอบซ่อนหรือหมักหมมภายใน หายใจออก กลับมารับรู้ความรู้สึกของเราในยามหวั่นไหว เมื่อเราโกรธจนตัวสั่นเทา หรือเขินอายหน้าแดง หรือยามดีใจโลดเต้น ลึกๆ แล้วเรายังรู้สึกอะไร เบื้องหลังหัวใจมีความรู้สึกที่แอบซ่อน ความโกรธอาจปกป้องความกลัวไว้เบื้องหลัง เราอาจรู้สึกน้อยใจหรือเปลี่ยวเหงา ความโกรธมักต้องการเรียกร้องให้ผู้อื่นดูแล บางทีในเวลานั้นเราต้องการใครสักคนเคียงข้าง แต่มิมีมือใดแลเหลียว ยามเราเขินอาย เราอาจรู้สึกมีคุณค่าอยู่ภายใน เราอาจหวังผู้อื่นชื่นชมหรือให้ความรักแก่เรา… Continue reading แน่ใจรัก
อนุสารธรรมวรรณศิลป์ ฉบับ ๑๒
“แน่ใจรัก” …รักเช่นนี้จึงเป็นเพียงวิธีการ เราหลบเลี่ยงมิกล้าเผชิญต่อความรู้สึกที่ซ่อนในเงาใจ ละทิ้งความต้องการพื้นฐานของตน แล้วหวังพึ่งพาสิ่งภายนอกตัว เมื่อเรามิได้แน่ใจรักต่อตัวเอง เราจึงมิอาจแน่ใจรักต่อใครแท้จริง… “รักลงรอย” …ฉันนึกถึงคำถามนี้ขึ้นมา เมื่อรู้สึกว่า สิ่งที่มีค่ามากที่สุดในชีวิตได้โบยบินจากไปแล้ว… “พันธสัญญาแห่งความเงียบงัน” …ถ้อยคำทั้งหลาย ล้วนเดินทางมาแสนไกล ล้ำลึกจากโลกภายใน ท้องทะเลหัวใจแห่งเธอ ยามคลื่นซัดโครมเข้าใส่ ฉันเฝ้าฟังดั่งหาดทราย… อนุสารธรรมวรรณศิลป์๑๒ ณ ตุลาคม ๒๕๕๘ แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ อนุสารรายครึ่งเดือน คืนเดือนเพ็ญและคืนเดือนมืด ดาวโหลดได้ที่ อนุสารธรรมวรรณศิลป์๑๒ https://www.dhammaliterary.org/wp-content/uploads/2015/10/อนุสารธรรมวรรณศิลป์๑๒.pdf ลำดับบทความในอนุสารธรรมวรรณศิลป์ ฉบับ ๑๒ ๑. งานเขียนรางวัลธรรมวรรณศิลป์ เรื่อง ความทุกข์กับชีวิตของฉัน ๒. คอลัมน์ ลมหายใจจับปากกา ตอน แน่ใจรัก ๓. คอลัมน์ บันทึกเล็กเล็ก ตอน รักลงรอย ๔. คอลัมน์กวี สัมผัสใน “พันธสัญญาแห่งความเงียบงัน”… Continue reading อนุสารธรรมวรรณศิลป์ ฉบับ ๑๒
“ก่อรูป” คอลัมน์ ความหลังครั้งยุวชนสยาม #๒
คอลัมน์ ความหลังครั้งยุวชนสยาม #๒ ตอน “ก่อรูป” เขียนโดย ประชา หุตานุวัตร เขียนเสร็จเมื่อปลายเหมันต์ ปี ๒๕๔๘ แก้เกลาใหม่ ตุลาคม ๒๕๕๘ กระท่อมน้อยในทุ่งฝัน ชุมชนฟินด์ฮอน สก๊อตแลนด์ ผลจากการประชุมอย่างหนึ่งที่แน่ๆก็คือเราต้องหาสมาชิกเพิ่ม พยายามขยายไปตามโรงเรียนต่างๆให้มากที่สุด ผมจำได้ว่าเราทำกันสองสามวิธี ประการแรกก็คือไปหาเพื่อนต่างโรงเรียนที่เรารู้จัก ผมเข้าใจว่า ป้อม สุจินดา เพื่อนบ้านงิ้วรายของชีฯเป็นคนหนึ่งที่เข้ามาด้วยวิธีนี้ เธอเรียนอยู่สตรีวัดระฆัง ผมชวนหลายสาวที่เรียนอยู่สตรีวิทย์ มนัสชวนเพื่อนจากสุวรรณาราม ผมเข้าใจว่าเพื่อนศึกษานารีที่จัดงานภาษาอังกฤษด้วยกัน มาร่วมประชุมตั้งแต่ต้นที่บ้านโตแล้ว แต่มีสองคนจากศึกษานารี ที่ไม่ได้ร่วมกับงานชมรมฯ แต่ไปเจอกันที่ศึกษิตสยาม คือรังสิมา ลิมปิสวัสดิ์ และ วาสนา พุ่มพัดตุน สองคนนี้เป็นศิษย์ก้นกุฏิของอาจารย์ภัทรศรี อนุมานราชธน หนีโรงเรียนไปเหมือนเรา เพราะอ่านหนังสืองงานศพของโกมล คีมทองเหมือนกัน จำได้ว่าตอนจะตั้งกลุ่ม นัดเจอเธอทั้งสองที่ข้างห้องสมุดวัดอนงคาราม ตรงวงเวียนเล็กในสมัยนั้น เธอทั้งสองอยู่มศ.๔ ผมอยู่มศ.๕ สันติสุข โสภณสิริอาจจะอยู่ด้วย เพราะเข้าคุ้นกับห้องสมุดนี้ดี เขาเคยบอกว่าเขาอ่านหนังสือหมดทุกเล่มในห้องสมุดนี้ อีกวิธีหนึ่งคือไปตามโรงเรียนที่มีครูฝึกสอนที่เคยมาสอนเรา และสนิทสนมกัน ผมจำได้ว่าทำให้เราได้เพื่อนจากวิทยาลัยครูธนบุรี มาร่วมด้วย… Continue reading “ก่อรูป” คอลัมน์ ความหลังครั้งยุวชนสยาม #๒
อนุสารธรรมวรรณศิลป์ ฉบับที่ ๑๑
อนุสารธรรมวรรณศิลป์ ฉบับที่ ๑๑ ณ กันยายน ๒๕๕๘ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ อนุสารรายครึ่งเดือน คืนเดือนเพ็ญและคืนเดือนมืด อ่านเพื่อประจักษ์ชีวิต ลิขิตเพื่อใคร่ครวญตน ดาวโหลดได้ที่ อนุสารธรรมวรรณศิลป์๑๑ https://www.dhammaliterary.org/wp-content/uploads/2015/09/อนุสารธรรมวรรณศิลป์๑๑.pdf ลำดับบทความในอนุสารธรรมวรรณศิลป์ ฉบับ ๑๑ ๑. งานเขียนรางวัลธรรมวรรณศิลป์ เรื่อง ขอบคุณทุกๆทุกข์ ๒. คอลัมน์ ลมหายใจจับปากกา ตอน แลกด้วยชีวิต ภาพประกอบจากการอบรม ณ สำนักสงฆ์เขาชะเมาวิมุติ ร่วมกับโครงการภาวนาคือชีวิต ในวันที่ ๒๒ ถึง ๒๔ กันยายน ๒๕๕๘ { ธรรมวรรณศิลป์ มี ๒ นัยยะสำคัญ {หนึ่ง วรรณศิลป์ที่ส่งมอบความดี ความงาม และความจริงแก่ผู้อ่านและสังคม สอง… Continue reading อนุสารธรรมวรรณศิลป์ ฉบับที่ ๑๑
แลกด้วยชีวิต
หายใจเข้า ทุกลมหายใจคือการตัดสินใจ หายใจออก ทุกการตัดสินใจคือความรับผิดชอบต่อชีวิต เมื่อเราจรดปลายปากกา ทุกถ้อยคำที่ลากเส้นขดม้วน ตรงและโค้ง คือการเลือกและการตัดสินใจ ทุกๆ เสี้ยวเวลาแห่งการเขียน เปี่ยมด้วยความรับผิดชอบและการกล้าเข้าแลก ชีวิตเราอยู่กับการตัดสินใจเกือบตลอดเวลา ตั้งแต่ยามเช้าเราเลือกว่า จะหยิบสวมเสื้อผ้าใด ทักทายคนในครอบครัวอย่างไร กินข้าวเช้ากับอะไร จะรับมือกับปัญหาจราจร เดินทางไปทำงาน และจัดการกับภาระงานตลอดทั้งวันอย่างไรบ้าง เราต้องตัดสินใจนับตั้งแต่ตื่นนอนจวบจนสิ้นวัน สถานการณ์ต่างๆ มาให้เราได้เลือกได้ตัดสินใจรู้สึก นึกคิด และลงมือทำ ชีวิตเราขึ้นอยู่กับปัจจัยนานา ทว่าสิ่งสำคัญนั้นคือการตัดสินใจของเราเอง ทุกขณะใจ มีการเลือกและการตัดสินใจแทบตลอดเวลา เมื่อเราพบเจอสิ่งมากระทบความรู้สึก จิตใจเลือกเฟ้นท่าที คิด รู้สึก และตอบโต้ ทุกความรู้สึกในใจเรามิใช่ความรับผิดชอบของผู้อื่น แต่เกิดจากการเลือกของตัวเราเอง เราเลือกสร้างความรู้สึกนั้นขึ้นมา โดยอาศัยสิ่งแวดล้อมภายนอกเป็นเครื่องปรุง หายใจเข้า หัวใจคือหน้ากระดาษ และจานอาหาร เรามีวัตถุดิบจากภายนอกตัว นำมาคลุกเคล้าและสร้างผลงานเขียนหรืออาหารจานใหม่ด้วยมือเราเอง หายใจออก จิตใจเรามีศักยภาพแห่งการสร้างสรรค์ เราคิด รู้สึก และปรุงแต่งภายในตลอดเวลา เหมือนสมุดบันทึกที่เราเลือกเขียนสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเราเอง ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในใจเราคือผลของการเลือกของตัวเราเอง ทุกขณะที่เราจรดปลายปากกาลง มิว่าลงบนหน้ากระดาษสมุดบันทึกหรือกระดาษแห่งจิตใจ ทุกคำที่เขียน คือการตัดสินใจของตัวเรา… Continue reading แลกด้วยชีวิต
การอบรม “เขียน = มหัศจรรย์ชีวิต” ประจำปี ๒๕๕๘
การอบรมกระบวนการเขียนทางจิตวิทยาเพื่อการใคร่ครวญชีวิตและการภาวนา “เขียน = มหัศจรรย์ชีวิต” : ใคร่ครวญสายธาร + เล่นล้อสัญญาณ + บ่มจิตวิญญาณ คอร์สกึ่งออนไลน์ เขียนเปลี่ยนชีวิต ชุดที่ ๑๐ @๒๕๕๘ โดย ศูนย์การเขียนเปลี่ยนชีวิต สถาบันธรรมวรรณศิลป์ ผู้ริเริ่มคอร์สกึ่งออนไลน์การเขียนบันทึกเพื่อพัฒนาชีวิตแห่งแรกในประเทศไทยและมุ่งมั่นการจัดกิจกรรมเนื้อหาเชิงลึกและการให้คำปรึกษาที่ค่าใช้จ่ายน้อยและนำไปใช้ในชีวิตจริงได้อย่างยั่งยืน “เดินทางภายในจิตใจ ผ่านสายธารแห่งชีวิต สัญญาณนิมิตหลากหลาย ภาวนาเพื่อบ่มเพาะหัวใจและจิตวิญญาณ” ที่มาและความสำคัญ สถาบันธรรมวรรณศิลป์ ได้จัดการอบรมและการให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่อง เกี่ยวกับการเขียนบันทึกและการเขียนเชิงกระบวนการเพื่อดูแลและพัฒนาสุขภาวะทางจิตใจและร่างกาย ปรับเปลี่ยนมุมมองต่อตนเองและความเข้าใจชีวิต โดยไม่ต้องอาศัยทักษะการเขียนและทักษะด้านศิลปะ พร้อมกระบวนการกลุ่มการเรียนรู้แบบผ่านประสบการณ์อย่างมีส่วนร่วม ควบคู่กับกระบวนการเรียนรู้แบบจิตปัญญาศึกษา ให้กับกลุ่มบุคคลทั่วไปและกลุ่มเฉพาะ หลากหลายอาชีพและช่วงวัย การอบรมในลักษณะนี้ทั้งแบบในห้องเรียนและทางไกล เป็นการอบรมที่ผสมผสานการเรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ การผ่านประสบการณ์อย่างมีส่วนร่วม และกระบวนการทางจิตวิทยา ประเด็นสำคัญของการอบรมชุดนี้ ๑. การเขียนเชิงกระบวนการและการเขียนบันทึกเพื่อส่งเสริมการภาวนา ๒. การเขียนเชิงกระบวนการและกิจกรรมใคร่ครวญชีวิตมิติเรื่องราว สัญญาณและนัยยะชีวิต ๓. การเขียนเชิงกระบวนการเพื่อฝึกฝนทักษะการเล่นล้อกับสัญญาณในชีวิตและในการเขียนรูปแบบต่างๆ รูปแบบการอบรม การอบรมแบ่งเป็น ๓ รูปแบบ ดังนี้ ๑. อบรมเฉพาะ… Continue reading การอบรม “เขียน = มหัศจรรย์ชีวิต” ประจำปี ๒๕๕๘