“จากบันทึกแรก ผมได้เห็นว่าตัวเองมีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆเริ่มมีความคิดขึ้นเรื่อยๆ จากที่ตัวเองเป็นคนที่ไม่ค่อยจะตั้งใจเรียนก็เริ่มที่จะสนใจเรียน สนใจอนาคต สนใจครอบครัวมากขึ้น ทำให้ผมเข้าใจว่าผมต้องมีการพัฒนาตัวเองต่อไปขึ้นเรื่อยๆบ้างครั้งอาจจะมีเหนื่อยมีท้อแต่เมื่อลองมองคนที่ช่วยผลักดันเรามาถึงตอนนี้คงเหนื่อยกว่าที่เราเป็นตอนนี้ ต่อจากนี้ผมก็จะพยายามพัฒนาตัวเองให้ได้ทำงานอย่างที่ต้องการ การเรียนรู้ในห้อง ทำให้ผมรู้ว่าตัวเองเป็นคนที่ชอบสังเกตผู้อื่นและใส่ใจผู้อื่น แต่ตัวผมเองเป็นคนที่ชอบพูดไม่คิดพูดไปแล้วจะมาคิดทีหลังว่าจะรู้สึกอย่างไรซึ่งผมก็ไม่แน่ใจว่าที่ผมพูดไปนั้นทำให้ผู้ฟังโกรธหรือคิดอะไรหรือเปล่าแต่เมื่อผมพูดไปแล้วผมจะนิ่งแล้วมาคิดว่าไม่น่าพูดไปเลย อย่างเช่นตอนกิจกรรมจับมือเพื่อนแล้วให้ทำเป็นวงกลมมีเพื่อนจับมือผิดแล้วผมดันไปเผลอพูดว่าทำไมจับมือข้างเดียวกัน ผมรู้สึกผิดมากที่ทำให้เพื่อนรู้สึกแย่ หลังจากกิจกรรมนี้ทำให้ผมรู้ตัวเองว่าให้คิดก่อนที่จะพูดอะไรออกไปว่าเขาจะรู้สึกอย่างไรและกิจกรรมสี่ทิศทำให้รู้ว่าผมเป็นคนที่แคร์คนอื่น ไม่มีความเป็นผู้นำ และขี้โมโห ผมจึงตั้งใจที่จะพัฒนาตัวเองในสิ่งที่ตัวเองขาดไปให้ได้ สิ่งที่ผมยกตัวอย่างนั่นคือ “เปลวเทียน” ซึ่งไฟก็เปรียบได้เหมือนกับอารมณ์ของผมที่เป็นคนอารมณ์ร้อน ขี้โมโห และเมื่อโมโหจะเป็นคนที่พูดอะไรตรงไปตรงมาไม่คิดถึงผลเสีย และเทียนก็คือตัวผมที่คอยประคับประครองให้ไฟนั้นอยู่ในขอบเขตไม่ลุกลามไปไหม้สิ่งของเสียหาย สิ่งที่ผมคิดว่าที่ผมเป็น เปลวเทียน เพราะว่าถ้าผมเป็นไฟอย่างเดียวก็อาจจะทำความเสียหายได้มากกว่าที่ให้ประโยชน์กับผู้อื่นก็เหมือนกับไม่มีเทียนที่คอยให้ไฟอยู่ในขอบเขตของเทียน และถ้าผมเป็นเทียนอย่างเดียว ผมก็เหมือนดั่งเทียนที่ไม่มีไฟที่ไม่สามารถให้แสงสว่างได้ในยามค่ำคืน เป็นเทียนที่ต้องคอยให้คนมาจุดไฟเพื่อสร้างประโยชน์ เปลวเทียนก็เหมือนผมมีสองสิ่งนี้อยู่ในตัว จะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ได้ ถ้าผมขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปผมจะเป็นแบบเหตุการณ์ที่ผมเคยพบเจอ…” / นายโชติวิชญ์ ถนอมศรีเดชชัย นักศึกษา ม.บูรพา (เทคโนโลยีการศึกษา) “สิ่งที่เราเห็นตัวเราในกระจกนั้น ข้าพเจ้าว่ามันคือสิ่งที่ตัวเราอยากให้เป็นหรือคิดว่าเราเป็นซะมากกว่า มันเป็นภาพมายา ภาพที่อยากให้คนอื่นเห็นว่าเราเป็นแบบนี้ ทั้งเสื้อผ้า ร่างกาย การแต่งหน้าแต่งตา หนวดเครา ทรงผม ล้วนเป็นสิ่งปรุงแต่งให้เราสร้างสรรค์ตัวตนของเราขึ้นมา เนื้อหนัง ร่างกายและรูปร่างที่ได้มาตั้งแต่กำเนิดไม่อาจเลือกได้ แต่เราก็ขอเลือกที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไข ตกแต่งมันใหม่ ให้ได้สมดังใจอีก… Continue reading บางส่วนจากข้อสอบการสะท้อนตนเอง กลุ่มเรียนเดือน ก.ค. ชุดที่ ๑
Author: admin
อนุสารธรรมวรรณศิลป์ ฉบับที่ ๖
อนุสารเพื่อประจักษ์ชีวิต ลิขิตเพื่อใคร่ครวญตน เดินทางมาสู่ฉบับที่ ๖ แล้ว พร้อมเรื่องราวความรู้สึก ๔ แง่มุมมองจากงานเขียนเยาวชนรางวัลธรรมวรรณศิลป์ ความเป็นศิลปินภายใน คอลัมน์ลมหายใจจับปากกา การมองความงามและมาตรวัด บันทึกเล็กเล็ก และบทกวีภาพปริศนาธรรมสะท้อนใครจัดใครกันแน่ ************ สถาบันธรรมวรรณศิลป์ก็ได้เดินทางจัดการสอนการภาวนาผ่านศิลปะและการเขียนอย่างเข้มข้นเพื่อต่อยอดการปฏิบัติธรรมครบสามองค์การภาวนา ณ จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อ ๑๐ ถึง ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๘ ก่อนอ่านสะท้อนให้คะแนนสอบแก่นักศึกษา ๓ ห้องเรียน ผู้เรียนเนื้อหาพิเศษการรู้จักตนเองผ่านรายวิชาใน ๒ สัปดาห์นี้ ************ อนุสารธรรมวรรณศิลป์ ๐๖ ณ กรกฎาคม ๒๕๕๘ แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ อนุสารรายครึ่งเดือน คืนเดือนเพ็ญและคืนเดือนมืด ดาวโหลดอนุสารได้ที่ อนุสารธรรมวรรณศิลป์๐๖ https://www.dhammaliterary.org/wp-content/uploads/2015/07/อนุสารธรรมวรรณศิลป์๐๖.pdf อ่านเพื่อประจักษ์ชีวิต ลิขิตเพื่อใคร่ครวญตน ลำดับบทความในอนุสารธรรมวรรณศิลป์ ฉบับ ๐๖ ๑. งานเขียนรางวัลธรรมวรรณศิลป์ เรื่อง แค่ความรู้สึก ๒. คอลัมน์… Continue reading อนุสารธรรมวรรณศิลป์ ฉบับที่ ๖
“ความรักสวยงามเสมอ” คอลัมน์ บันทึกเล็กเล็ก #๒
“ความรักสวยงามเสมอ” คอลัมน์ บันทึกเล็กเล็ก #๒ โดย เล็ก บ่ายวันหนึ่งในคาบเรียนศิลปะ คุณครูสาวใจดีพานักเรียนออกมาเดินเล่นในสวนหย่อมของโรงเรียน บอกให้เด็กๆ เตรียมสีไม้หรือสีเทียนมาด้วย พร้อมทั้งให้กระดาษสีขาวแก่นักเรียนตัวน้อยคนละหนึ่งแผ่น เดาได้ไม่ยากว่าคงจะให้เราวาดรูประบายสีเป็นแน่แท้ ถูกต้องทีเดียว คุณครูบอกว่าให้วาดรูปธรรมชาติอย่างไรก็ได้ ทันทีที่คำสั่งมอบหมายงานสิ้นสุดลง เหล่าเด็กน้อยต่างเดินเล่นในสวนหย่อม บ้างคนเป็นคู่ บ้างเดินเป็นกลุ่ม แต่ไม่มีใครลืมโจทย์ที่คุณครูมอบหมายให้วาดรูปธรรมชาติในที่แห่งนี้ เราเดินไปใกล้ๆ สระน้ำ แถวนั้นมีโขดหินเปียกๆ อยู่ คงเป็นน้ำที่กระเด็นจากน้ำตกประดับสวนนี้ เมื่อหามุมเหมาะสมสำหรับการลงมือวาดเขียนธรรมชาติได้แล้ว เราก็นั่งลงที่พื้นดิน ใช้โขดหินที่แห้งสนิทต่างโต๊ะวาดรูป พร้อมกับสำรวจสิ่งต่างๆ รอบตัว เห็นรังมดจำนวนมากบนพื้นดิน หก เจ็ด แปด… มีทั้งหมดสิบรังเท่าที่สังเกตเห็นจากมุมมองตรงนี้ เห็นต้นหญ้าต้นน้อยๆ บนผิวดินที่ชื้นแฉะ ได้ยินเสียงน้ำตกกระทบลงในสระน้ำดังซู่ๆ กลิ่นไอดินยังคงลอยฟุ้งในอากาศจากฝนที่ตกเมื่อช่วงเช้า เห็นผีเสื้อสามสี่ตัวกระพือปีกบินอยู่ใกล้ๆ เรา สีสันลวดลายบนปีกไม่ซ้ำกันแม้สักตัว ได้ยินเสียงนกกระจอกร้องจิ๊บๆ ก่อนจะบินทะยานขึ้นไปเกาะกิ่งไม้ เห็นต้นราชพฤกษ์ที่ออกดอกสีเหลืองงามสะพรั่ง ฝูงปลาคาร์พที่แหวกว่ายอยู่ในสระน้ำก็มีสีและลายไม่ซ้ำเหมือนกัน เราจะวาดอะไรดีนะ? หนึ่งสัปดาห์ต่อมาในคาบศิลปะ ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์อยู่ฝั่งทิศตะวันตก คุณครูให้หัวหน้าห้องแจกชิ้นงานที่เราวาดในสวนหย่อมเมื่อสัปดาห์ก่อน เอ๊ะ! ทำไมเราถึงได้แค่หกคะแนนกันนะ?… Continue reading “ความรักสวยงามเสมอ” คอลัมน์ บันทึกเล็กเล็ก #๒
อารมณ์ศิลปิน
หายใจเข้า เรามีผู้สร้างสรรค์อยู่ในร่างกายและหัวใจเรา หายใจออก สิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้น สิ่งเก่าล่วงดับลงนับหลายครั้ง เพียงหนึ่งลมหายใจ เมื่อมองยังเพื่อนหรือใครอื่นผู้มีวี่แววทางศิลปิน เรามักติดภาพลักษณ์ทางใจเห็นพวกเขามักเป็นคนมีความรู้สึกอันพิเศษ เป็นตัวของตัวเอง มีหัวใจโบยบินตามความรู้สึกและลงมือทำตามที่รู้สึกนั้น เรายังอาจมิทันศึกษาความเป็นศิลปินอย่างเข้าใจถ่องแท้ จึงพลาดโอกาสน้อมนำความเป็นผู้สร้างสรรค์ในตัวเรามาใช้อย่างรู้ค่ารู้คุณ ศิลปินมิใช่ผู้วิเศษ เราต่างมีความเป็นศิลปิน เพราะหัวใจเราต่างมีความรู้สึกอันพิเศษ พลังที่อยู่เหนือความอยากได้ ใคร่มีใคร่เป็น แต่ความพิเศษนั้นจะมีประโยชน์ได้ก็ต่อเมื่อถูกฝึกฝนและขัดเกลา เยี่ยงการสกัดเพชรหินล้ำค่าจากหินกระด้าง เฉกเช่นการลับคมลมหายใจ เมื่อเรากลับมาอยู่กับลมหายใจอย่างเต็มที่เท่านั้น เราจึงรู้พลังที่หล่อเลี้ยงชีพชีวาละเอียดลออ และหายใจอย่างมีคุณค่าได้ที่สุด หายใจเข้า เราไม่จำเป็นต้องทำงานศิลปะหรือเขียนงานวรรณกรรม แต่เราสามารถน้อมนำทิศวิถีการเรียนรู้เยี่ยงศิลปินบ่มเพาะชีวิตเราและผู้อื่นได้ เพราะลำพังความรู้มิอาจเติมเต็มชีวิตได้ครบถ้วน เพียงเหตุผลมิอาจทำให้เราเข้าใจตัวเองและใครต่อใครได้ จะใช้ชีพชอบอย่างเกื้อกูลตนเองกับสังคมต้องมีทั้งศาสตร์และศิลป์ การเรียนรู้ผ่านหลักสูตรเขียนเปลี่ยนชีวิต ผมแนะนำให้ผู้เรียนไม่รออารมณ์พา ไม่ลงมือทำเพราะมีอารมณ์ชักนำ แต่ให้สร้างความรู้สึกที่มุ่งหมายปรารถนาพัฒนาตนเองและลงมือทำ เพราะการเขียนตามอารมณ์ความรู้สึกเพียงส่วนเดียว ย่อมส่งเสริมการตามใจตน มิใช่การบ่มเพาะจิตใจ ผู้เรียนจำเป็นต้องฝึกเผชิญกับขอบอันท้าทายเมื่อต้องฝืนใจ เราต่างมีแนวโน้มเรียกร้องสิ่งที่เราต้องการยามปรารถนา และหลีกเลี่ยงหลบห่างยามเราไม่ต้องการ การฝึกฝนการเขียนหรือศิลปะเป็นเช่นเดียวกับการฝึกฝนการปฏิบัติธรรม ซึ่งน้อมนำเรากลับมาเผชิญกับความเคยชินของชีวิตและฝึกก้าวข้ามเพื่อความหลุดพ้นทีละเล็กละน้อย หายใจออก เมื่อเราได้ศึกษาผู้ศึกษาศิลปะหรือกระทั่งคุรุศิลปาจารย์ การก่อเกิดงานรังสรรค์แต่ละชิ้นและการก้าวย่างในวิถีศิลปิน มิใช่การตามใจตน ตามแต่อารมณ์พา มิใช่ว่าวน้อยที่ปล่อยลอยตามแรงลม หากแต่เป็นนกที่รู้ใช้และรู้ทันสายลมของท้องฟ้า ผ่านการฝึกมือฝึกซ้ำหนักหนา บางครั้งสร้างผลงานยามแสนปิติเบิกบาน บางครั้งยามยากเข็ญสุดฝืนใจ สำเร็จหนึ่งครา ล้มเหลวนับร้อย … Continue reading อารมณ์ศิลปิน
บันทึกคุณป๋อง การอบรมเด็กน้อยภายใน ๒๕๕๘
บันทึกจากคุณป๋อง ผู้เข้าร่วมการอบรมเด็กน้อยภายใน ๒๕๕๘ เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา อ่านแล้วเห็นความเป็นเด็กน้อย ความกล้าที่จะรับฟังเขา และความเข้าใจที่แผ่ขยายมานอกพื้นที่หัวใจ ขอบคุณคุณป๋องที่อนุญาตแบ่งปันให้พวกเราได้อ่านครับ
จิตอาสาจากน้องหญิงและน้องออโต้
จิตอาสาเพื่อผู้พิการทางสายตา น้องหญิง เบญจมาศ แสนหลวง เยาวชนที่ได้รับทุนจิตอาสาจากการประกวดงานเขียนธรรมวรรณศิลป์ พร้อมเพื่อนๆ ลงแรงเปิดหมวกหาทุน เพื่อช่วยเหลือมูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดแห่งประเทศไทยฯ และช่วยแรงจิตสาธารณะ น้องหญิงได้เรียนรู้อีกว่า “ตอนไปเล่นดนตรีสนุกมาก เหนื่อย ฝนตกด้วย แต่เหนื่อยกายไม่เหนื่อยใจ เวลาทำอะไรให้ใครด้วยตัวเอง หาเงินได้ด้วยตัวเอง ซึ่งแลกจากแรงกายของเรา มันภาคภูมิใจกว่าการได้มันมาง่ายๆ” ภาพ https://www.facebook.com/media/set/?set=a.909824872416214.1073741861.205984142800294&type=3 จิตอาสามอบสิ่งของเกื้อกูลทหารชายแดนภาคใต้ น้องออโต้ วิภู ชลานุเคราะห์ เยาวชนรางวัลธรรมวรรณศิลป์ ประจำปี ๒๕๕๗-๒๕๕๘ ดำเนินกิจกรรมจากทุนจิตอาสาส่งของใช้ เครื่องอุปโภค และขนม เพื่อเกื้อกูลและเป็นกำลังใจแก่ทหารผู้ปฏิบัติงาน ณ จังหวัดชายแดนภาคใต้ https://www.facebook.com/media/set/?set=a.912465565485478.1073741862.205984142800294&type=3
อนุสารธรรมวรรณศิลป์ ฉบับที่ ๕
ต้อนรับอนุสารธรรมวรรณศิลป์ ฉบับที่ ๕ และส่งท้ายการอบรมล่าสุดของสถาบัน หัวข้อ “เด็กน้อยภายใน” ด้วยคอลัมน์ใหม่ จากนักเขียน “น้องเล็ก” นักเขียนรุ่นใหม่ผู้พลิกลีลาปลายปากกาจากนักคิดอย่างเข้มแข็ง สู่ผู้มองโลกด้วยดวงตาของเด็กน้อย โลกเราต้องการผู้มีดวงตาเช่นนี้มากเพียงใด โปรดติดตามใน “บันทึกเล็กเล็ก” อนุสารธรรมวรรณศิลป์ ๐๕ ณ มิถุนายน ๒๕๕๘ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ อนุสารรายครึ่งเดือน คืนเดือนเพ็ญและคืนเดือนมืด อ่านเพื่อประจักษ์ชีวิต ลิขิตเพื่อใคร่ครวญตน ลำดับบทความในอนุสารธรรมวรรณศิลป์ ฉบับ ๐๕ ๑. งานเขียนรางวัลธรรมวรรณศิลป์ เรื่อง การตายของชายใบ้ กับ ความทุกข์ในใจ…ของชีวิตผม ๒. คอลัมน์ ลมหายใจจับปากกา ตอน จำเป็นไหมต้องทำใจ ๓. คอลัมน์ บันทึกเล็กเล็ก ตอน ใครทำร้ายสนามเด็กเล่นของเรา ๔.… Continue reading อนุสารธรรมวรรณศิลป์ ฉบับที่ ๕
“ใครทำร้ายสนามเด็กเล่นของเรา” คอลัมน์ บันทึกเล็กเล็ก #๑
“ใครทำร้ายสนามเด็กเล่นของเรา” คอลัมน์ บันทึกเล็กเล็ก #๑ โดย เล็ก ตั้งแต่เด็กจนโต เราได้รับการปลูกฝังว่าให้ตั้งใจเรียน จะได้มีเกรดที่ดี จบมามีงานทำ มีเงินเดือน เป็นเจ้าคนนายคน มีบ้าน มีรถ จะได้ดูแลพ่อแม่ยามแก่เฒ่า ทุกครั้งที่พบกับญาติๆ ในต่างจังหวัด เรามักจะได้ยินคำสั่งสอนเหล่านี้จนติดหูมาบ้าง ไม่มากก็น้อย มีการถามไถ่เรื่องชีวิตการเรียน หากโตหน่อยก็ไถ่ถามเรื่องการงาน เรื่อยไปจนถึงการเงิน ค่านิยมเหล่านี้เกิดขึ้นมาจากไหนกันหนอ? หากจะย้อนกลับไปมองดู น่าจะเริ่มช่วงที่มนุษย์ชาติเริ่มมีไฟฟ้าให้ใช้งาน แต่เรื่องนั้นยกไว้ก่อนดีกว่า คำถามจากเด็กน้อยภายในคือ ‘ทำไมคนเราถึงมีแนวโน้มว่าจะทำร้ายธรรมชาติกันนะ?’ เราจำได้ เมื่อตอนเด็กๆ ตอนได้ของเล่นชิ้นใหม่ที่ดูน่ารักสวยงาม เราก็มักจะชอบเล่นมันอยู่เรื่อยๆ เล่นทั้งวันไม่มีเบื่อ แต่พอมีเพื่อนมาขอยืมไปเล่นบ้าง พอได้ของเล่นกลับคืนมา ความรู้สึกของเราก็เปลี่ยนไปอีกครั้ง เหมือนกับว่าของเล่นชิ้นนั้นไม่ใช่ของเราอีกแล้ว เพียงเพราะว่าเพื่อนยืมไปเล่นแค่ครู่เดียว เราจึงรู้สึกเหมือนถูกทรยศ ของเล่นของเรากลับกลายเป็นของคนอื่นเสียได้ แม้ลึกๆ เราก็รู้ดีว่าการที่ให้เพื่อนยืมเล่นได้คือการแบ่งปัน ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ดี ลดความเห็นแก่ตัวในตัวเอง ฝึกให้ความสุขกับคนรอบข้าง ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีทีเดียวที่เด็กน้อยคนหนึ่งจะสามารถทำได้ มองย้อนกลับไปก็แอบภูมิใจตัวเองน้อยๆ อยู่นะ พอเริ่มรู้เดียงสามากขึ้น ได้พบกับของเล่นมากหน้าหลายตาที่ผ่านเข้ามาในชีวิต สั้นบ้างนานบ้าง… Continue reading “ใครทำร้ายสนามเด็กเล่นของเรา” คอลัมน์ บันทึกเล็กเล็ก #๑
จำเป็นไหมต้องทำใจ
หายใจเข้า เรารับรู้ความรู้สึกในหัวใจเราขณะนี้ หัวใจเรากำลังรู้สึกอย่างไร ภายในกำลังเป็นเช่นไร หายใจออก กลับมารับรู้ความคาดหวังที่เรามีต่อตัวเอง เราอยากให้หัวใจดวงนี้เป็นเช่นใด ไม่อยากให้เป็นแบบไหน วันหนึ่ง ขณะรับฟังมิตรผู้เกาะกุมความเศร้าจากความรักที่ไม่อาจเป็นจริง เธอรู้ว่าอะไรกำลังเกิดขึ้นและควรทำอย่างไร แต่ไม่ต้องการให้หัวใจตนเองเศร้าเพียงนี้ ช่วงเวลาแห่งการเกาะกุมนานแสนนาน เธออยากทำใจได้เสียที ผมแยกตัวออกมา มองด้วยสายตาผู้ให้คำปรึกษาอย่างรอบด้าน ก่อนถามว่า “จำเป็นไหมต้องทำใจ” เงียบชั่วขณะ เธอตอบว่าก็ไม่จำเป็นนะ ต้องอยู่กับเขาให้ได้ ค่อยดูแล ไม่บีบคั้นไม่คาดหวัง เชื่อว่าจะผ่านไปได้ หายใจเข้า เมื่อเราเห็นหัวใจเรากำลังเป็นทุกข์หรือร้อนรน เราพยายามทำเช่นใด วิธีการไหนที่เราใช้เป็นประจำเมื่อหัวใจเราอยู่ภาวะที่เราไม่ต้องการ หายใจออก วิธีการเหล่านั้นช่วยดูแลหัวใจเรา หรือหลีกหนีไปจากเขา อีกครั้งหนึ่ง ผมเพิ่งได้มีโอกาสทักทายครู ครูที่น่าชื่นชม เป็นผู้อุทิศตัวแก่การสอนและทนไม่ได้หากเห็นครูรุ่นใหม่ไม่เอาจริงเอาจังหรือขาดความรับผิดชอบ ครูรู้สึกทนที่ตัวเองหงุดหงิดและวุ่นวายใจไม่ได้ ผมถามถึงเหตุการณ์ที่เจอในช่วงสัปดาห์ เธอเล่าถึงความลำบากในการทำงานกับครูด้วยกัน ความวุ่นวายในโรงเรียน ภาวะวัยทอง สภาพจิตใจของตนเองที่ไม่ชอบใจ ผมไม่ได้แนะนำสิ่งใดไปกว่าการสะท้อนความรู้สึกและภาวะที่เป็นด้วยถ้อยคำสั้นๆ อันชัดเจน ให้ครูเห็นเหมือนอยู่ตรงหน้า มิได้ตำหนิว่าความรู้สึกที่เกิดขึ้น ไม่ควรมีหรือไม่ดีอย่างไร แค่บอกว่ามันเป็นลักษณะอย่างไรและให้ครูพูดเสริมสิ่งที่ตนเองเห็น แนะนำสั้นๆ เพียงว่า การรับผิดชอบ กับ การแบกรับ แตกต่างกัน ต้องแยกแยะให้ถูก… Continue reading จำเป็นไหมต้องทำใจ
เขียน = ปลดปล่อยชีวิต รุ่นที่ ๙ เปิดรับสมัคร
การอบรมกระบวนการเขียนทางจิตวิทยาเพื่อการเยียวยาและดูแลกายใจ ในหัวข้อ “เขียน = ปลดปล่อยชีวิต” : โอบอุ้ม เพาะรัก ด้วยปัญญาภายใน คอร์สกึ่งออนไลน์ เขียนเปลี่ยนชีวิต ชุดที่ 9 @2558 ปิดรับสมัครสำหรับการอบรมรอบเดือนสิงหาคม ๒๕๕๘ โดย ศูนย์การเขียนเปลี่ยนชีวิต สถาบันธรรมวรรณศิลป์ ผู้ริเริ่มคอร์สกึ่งออนไลน์การเขียนบันทึกเพื่อพัฒนาชีวิตแห่งแรกในประเทศไทยและมุ่งมั่นการจัดกิจกรรมเนื้อหาเชิงลึกและการให้คำปรึกษาที่ค่าใช้จ่ายน้อยและนำไปใช้ในชีวิตจริงได้อย่างยั่งยืน “กลับมารับฟังตัวเองด้วยการเขียนเชิงกระบวนการ ไม่เน้นเขียนดี ไม่เน้นเขียนเก่ง เขียนเพื่อดูแลสุขภาพกายและใจ” เนื่องด้วยอบรมชุดนี้จะจัดเป็นครั้งสุดท้ายในเดือนสิงหาคม ก่อนปรับเปลี่ยนตารางหลักสูตรใหม่ต้อนรับการดำเนินงานปีที่ ๙ ของสถาบัน จึงเพิ่มเนื้อหาพิเศษในการอบรมชุดนี้ คือ “ความเป็นแม่ภายใน และอิทธิพล” ที่มาและความสำคัญ สถาบันธรรมวรรณศิลป์ ได้จัดการอบรมและการให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่อง เกี่ยวกับการเขียนบันทึกและการเขียนเชิงกระบวนการเพื่อดูแลและพัฒนาสุขภาวะทางจิตใจและร่างกาย ปรับเปลี่ยนมุมมองต่อตนเองและความเข้าใจชีวิต โดยไม่ต้องอาศัยทักษะการเขียนและทักษะด้านศิลปะ พร้อมกระบวนการกลุ่มการเรียนรู้แบบผ่านประสบการณ์อย่างมีส่วนร่วม ควบคู่กับกระบวนการเรียนรู้แบบจิตปัญญาศึกษา ให้กับกลุ่มบุคคลทั่วไปและกลุ่มเฉพาะ หลากหลายอาชีพและช่วงวัย การอบรมในลักษณะนี้ทั้งแบบในห้องเรียนและทางไกล เป็นการอบรมที่ผสมผสานการเรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ การผ่านประสบการณ์อย่างมีส่วนร่วม และกระบวนการทางจิตวิทยา… Continue reading เขียน = ปลดปล่อยชีวิต รุ่นที่ ๙ เปิดรับสมัคร