อนุสารธรรมวรรณศิลป์ ๐๓ ณ มิถุนายน ๒๕๕๘ ขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๗ อนุสารรายครึ่งเดือน คืนเดือนเพ็ญและคืนเดือนมืด อ่านเพื่อประจักษ์ชีวิต ลิขิตเพื่อใคร่ครวญตน ลำดับบทความในอนุสาร ๐๓ ๑. งานเขียนรางวัลธรรมวรรณศิลป์ เรื่อง โชคดีที่มีเธอ “คุณความทุกข์” ๒. คอลัมน์ ลมหายใจจับปากกา ตอน สร้างพื้นที่ให้ชีวิต ๓. คอลัมน์ ธรรมะคือคุณากร ตอน สามัญญลักษณะ ๔. คอลัมน์ จดหมายถึงพี่ใหญ่ ๕. คอลัมน์ ธรรมกวี { ธรรมวรรณศิลป์ มี ๒ นัยยะสำคัญ หนึ่ง วรรณศิลป์ที่ส่งมอบความดี ความงาม และความจริงแก่ผู้อ่านและสังคม สอง วรรณศิลป์ที่ขัดเกลาจิตใจและชีวิตผู้ประพันธ์นั้นเอง } อนุสารธรรมวรรณศิลป์ จึงประกอบด้วย ข้อชวนคิด และ… Continue reading อนุสารธรรมวรรณศิลป์ ฉบับ ๐๓ (วิสาขบูชา)
Author: admin
โครงการแบ่งปันรอยยิ้ม และ พัฒนาผู้ไร้ที่อยู่อาศัย
ความสุขของการที่ได้เป็นผู้ให้ ขอขอบคุณทางโครงการที่มอบทุนจิตอาสาดีๆอยากบอกว่าความรู้สึกจากการที่ได้เป็นผู้ให้ ซึ่งต่างจากการที่ป็นผู้รับ โดยสิ้นเชิงและในวันนี้หนูได้เป็นคนมอบโอกาสดีๆแก่เด็กๆ ได้มอบรอยยิ้ม มอบเสียงหัวเราะให้กับเด็กๆ กนูรู้สึกดีใจมากอละมีความสุขมากๆที่ได้ช่วยเหลือใครหลายคน ทุนจิตอาสาที่ได้ส่วนหนึ่งหนูได้นำไปมอบให้กับมัสยิดประจำหมู่บ้านรูสะมิแล อีกส่วนหนึ่งหนูได้มอบทุนให้กับเด็กเรียนดีของโรงเรียนมูลนิธิอาซิซสถาน และอีกส่วรหนึ่งหนูได้นำไปซื้ออุปกรณ์และของรางวัลให้กับเด็กตาดีกาหรือโรงเรียนสอนศาสนาระดับประถม โครงการแย่งปันรอยยิ้มให้น้องได้ทำเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2558 น้องซอเฟีย สะนิ เยาวชนที่ได้รับทุนจิตอาสาจากโครงการประกวดงานเขียน ___ น้องอคิราภ์ รวมจิตต์ บริจาคและเรียนรู้กับมูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย เพื่อนำมาสร้างร้านขายของสำหรับผู้ไร้ที่อยู่ โดยใช้ทุนจิตอาสาที่ได้รับจากสถาบันธรรมวรรณศิลป์ ประจำปี ๒๕๕๗ -๒๕๕๘ ด้วยการสนับสนุนจากมูลนิธิสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
ทักทายแขกเรือนใจ
เปิดใจกาย ต้อนรับลมหายใจหล่อเลี้ยงชีวิต เขาคือแขกผู้มาเยือน มอบของขวัญมีค่าคือการดำรงอยู่กับปัจจุบัน หายใจออก ส่งแขกออกจากบ้าน ก่อนต้อนรับผู้มาใหม่ ร่วมเติมเต็มลมหายใจ หัวใจเรา มีแขกมาเยือนมากมายในแต่ละวัน และคืน พวกเขามาสู่ใจเราพร้อมความสุขบ้าง ความพอใจบ้าง ความหงุดหงิดก็มี ความโศกเศร้าก็มี งุนงง เฉยชา เหม่อมอง หลากหลายแขก พวกเขามาเยือนใจเราและทำให้บ้านเราเปลี่ยนไป แขกดีอาจช่วยเติมความสดชื่นเบิกบาน แขกร้ายอาจนำเมฆดำมาสู่ ท้ายสุดแล้วเมื่อถึงเวลา เราก็ต้องส่งพวกเขาออกจากธรณีประตูและรั้วเรือนใจ ไม่มีแขกใดจะอยู่ในบ้านเราตลอดกาล หายใจเข้า ในยามนี้แขกใดมาเยือนเรา พวกเขานำสิ่งใดมาให้แก่หัวใจน้อยๆ นิดนี้ หายใจออก ยามแขกจากลา พวกเขาทิ้งร่องรอยใดบ้างแก่เรือนหัวใจ สกปรกเลอะเทอะหรือไม่ หรือสะอาดเอี่ยมอ่องเสียจริง เราผู้เป็นเจ้าของบ้านจะดูแลเรือนใจยามแขกแต่ละรายอำลาอย่างไร บางทีเราอาจเหนื่อยเสียหน่อยกับการเก็บกวาดเช็ดถู บางแขกมาอย่างยิ้มเริงร่าพายินดี แต่ทิ้งไว้ด้วยกองขยะและความยุ่งเหยิง บางแขกมาดร้ายไม่น่าคบหา แต่กลับพาบ้านสงบเงียบ แขกบางรายแต่งตัวดี นำอาหารไร้ประโยชน์มาฝาก แขกอีกรายแต่งตัวซอมซ่อ นำหนังสือบ่มปัญญามาฝากชั้นวาง ชีวิตแต่ละวัน และคืน เราต้องต้อนรับแขกคนแล้วคนเล่า หลายครั้งคราเราเผลอลืมตัวไปว่า พวกเขาเป็นเพียงแขก หาใช่เจ้าของบ้านไม่ บางครั้งเราโดนแขกมัวเมาจนเผลอไผลยกบ้านให้พวกเขาไป รู้ตัวอีกทีเมื่อเรือนใจเงียบงันด้วยแขกร้างลา ทิ้งความเปลี่ยวเหงาและบ้านสกปรกไว้ให้ ทุกลมหายใจเข้า … Continue reading ทักทายแขกเรือนใจ
อนุสารธรรมวรรณศิลป์ ฉบับ ๐๒
อนุสารธรรมวรรณศิลป์ ฉบับ ๐๒ แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ พ.ศ. ๒๕๕๘ อ่าน เขียน คิด เพื่อชีวิตผลิงาม พบกับความเรียงรางวัลธรรมวรรณศิลป์ “ความทุกข์เพื่อนแท้ ของข้าพเจ้า” บทความ “ทักทายแขกเรือนใจ” และอีกสาระในหน้าน้อยๆ ของอนุสารรายครึ่งเดือนจากสถาบันธรรมวรรณศิลป์ ลำดับบทความในอนุสาร ๐๒ ๑. งานเขียนรางวัลธรรมวรรณศิลป์ “ ความทุกข์ เพื่อนแท้ของข้าพเจ้า ” ๒. คอลัมน์ ลมหายใจจับปากกา ตอน “ ทักทายแขกเรือนใจ ” ๓. คอลัมน์ ธรรมะคือคุณากร ตอน “ ปฏิจจสมุปบาท ” ๔. คอลัมน์ ธรรมกวี { ธรรมวรรณศิลป์ มี ๒… Continue reading อนุสารธรรมวรรณศิลป์ ฉบับ ๐๒
การอบรม “เด็กน้อยภายใน” ประจำปี ๒๕๕๘ เปิดรับสมัคร!
การอบรมชุดพิเศษของ ศูนย์การเขียนเปลี่ยนชีวิต สถาบันธรรมวรรณศิลป์ ในหัวข้อเกี่ยวกับ “เด็กน้อยภายใน” สู่การเยียวยาและการเติบโตของชีวิต โดยได้รับการสนับสนุนจาก มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และผู้เรียนในหลักสูตรของโครงการฯ หลักการและที่มาสำคัญ “เด็กน้อยภายใน” หรือ อิทธิพลที่สืบเนื่องมาจากวัยเด็ก คือองค์ความรู้และเทคนิควิธีด้านจิตวิทยาการบำบัดและการเรียนรู้ทางจิตปัญญา พาเรากลับมาดูแลตัวตนเด็กน้อยและตัวตนอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่อง ที่มีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิต ความสัมพันธ์ และโลกทัศน์ ทุกคนต่างมีเด็กน้อยอยู่ภายใน และผู้ที่เติบโตอย่างแท้จริงคือผู้ที่หลุดจากอิทธิพลของข้อจำกัดในอดีตและจากด้านมืดของเด็กน้อย (Darkside of InnerChild) ในอีกแง่หนึ่ง เด็กน้อยภายใน ยังเป็นพลังสร้างสรรค์ที่เราอาจละเลยไปเมื่อติดอยู่ในกรอบการใช้ชีวิตแบบผู้ใหญ่ การกลับมาหาเด็กน้อยคือการเยียวยาและดึงคุณค่าในตัวเราเพื่อพัฒนาชีวิตในวันนี้ กระบวนการอบรมของศูนย์ฯ จะมุ่งเน้นให้ใช้เครื่องมือการเขียนเชิงกระบวนการ ศิลปะ การสนทนา และการเคลื่อนไหวเพื่อดูแลตัวตนเด็กน้อยภายใน และดึงคุณค่าที่แท้จริงออกมาโดยไม่ต้องใช้ทักษะด้านศิลปะหรือการเขียนใดใด อ่านงานเขียนจากการอบรมรุ่นที่ผ่านมาได้ที่ youngawakening.org/write4life/?p=1332 วัตถุประสงค์ในการอบรม ๑. ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการดูแล “เด็กน้อยภายในตนเอง” และในความสัมพันธ์ได้ ๒. ผู้เรียนมีแรงบันดาลใจ พลัง และได้กลับมาดูแลบาดแผลทางจิตใจหรือคลี่คลายข้อจำกัดในตนเอง ๓. ผู้เรียนได้ดึงคุณค่าในความเป็นเด็กน้อยภายในออกมาใช้ในชีวิตวันผู้ใหญ่ได้อย่างเกื้อกูลสมดุล … Continue reading การอบรม “เด็กน้อยภายใน” ประจำปี ๒๕๕๘ เปิดรับสมัคร!
อนุสารธรรมวรรณศิลป์ ฉบับ ๐๑
อนุสารธรรมวรรณศิลป์ ๐๑ ณ พฤษภาคม ๒๕๕๘ ขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ อนุสารรายครึ่งเดือน คืนเดือนเพ็ญและคืนเดือนมืด อ่าน*เขียน*คิด เพื่อชีวิตผลิงาม ลำดับบทความในอนุสาร ๐๑ ๑. คอลัมน์ ลมหายใจจับปากกา ตอน “ ฉวยวันเวลาเอาไว้ ” ๒. คอลัมน์ จดหมายถึงพี่ใหญ่ ตอนที่ ๑ ๓. คอลัมน์ ธรรมะคือคุณากร ตอน อินทรียสังวร ๔. คอลัมน์ ธรรมกวี { ธรรมวรรณศิลป์ มี ๒ นัยยะสำคัญ {หนึ่ง วรรณศิลป์ที่ส่งมอบความดี ความงาม และความจริงแก่ผู้อ่านและสังคม สอง วรรณศิลป์ที่ขัดเกลาจิตใจและชีวิตผู้ประพันธ์นั้นเอง } อนุสารธรรมวรรณศิลป์ จึงประกอบด้วย ข้อชวนคิด และ ข้อชวนเขียน เผยแพร่โดย… Continue reading อนุสารธรรมวรรณศิลป์ ฉบับ ๐๑
ฉวยวันเวลาไว้
ชีวิตมีคุณค่าเกินกว่าจะพร่าคืนวัน… หายใจเข้าลึกหนึ่งครั้ง แม้นว่าสิ่งเล็กน้อยนี้เรายังไม่อาจกลับมาดูแล ไฉนเลยเราจึงดูแลทั้งชีวิตของตนและคนอื่นได้ การกลับมาอยู่กับลมหายใจ คือการกลับมาเห็นคุณค่าของตนและปัจจุบัน ผมขอเล่าที่มาของอนุสารนี้ ในแง่ที่เกี่ยวข้องกับบทความ เป็นปฐมก้าวย่างของอนุสาร ความคิดความฝันว่าจะเผยแพร่องค์ความรู้และประสบการณ์ “เขียนเปลี่ยนชีวิต” และ “ธรรมวรรณศิลป์” ผ่านสื่อต่อเนื่องอย่างนิตยสาร เกิดก่อในใจผมอยู่นานแล้ว คล้ายรอโอกาสที่เหมาะสม หรือยามเก็บเกี่ยวพืชผลคืนวันอย่างเต็มที่ เก็บข้อคิดข้อเขียนใส่ลิ้นชักความทรงจำไว้ นานวันเข้าฝุ่นจับ ปลวกการเผลอไผลแทะกิน ๓ ถึง ๔ เดือนที่ผ่านมา ความเจ็บป่วยของผู้ใหญ่ที่นับถือ จนถึงญาติและเพื่อนของคนรู้จัก เป็น “สัญญาณชีวิต” แก่ผมอีกครา เป็นหนึ่งในสัญญาณชีวิตรูปแบบเดิมที่ทักเตือนใครต่อใครครั้งแล้วครั้งเล่า ชีวิตไม่แน่นอน ทุกก้าวย่างต้องระมัดระวัง ถามใจตนเองว่า “ถ้าเกิดตายเข้าอีกไม่ช้า จะเสียดายอะไรมากที่สุด” หนึ่งในคำตอบเหล่านั้น คือ ไม่อาจเผยแพร่ความรู้และผลึกคิดที่มี ส่งมอบให้กับคนอื่นได้เต็มที่ กอดไว้ในโลงลำพัง เพราะมัวแต่รอโอกาสจากสำนักพิมพ์ และรอเก็บไว้เพื่อการสอนในชุดอบรม เมื่อตระหนักรู้เช่นนี้แล้ว เราจะ “เลือก” หรือ “รอ” ผมเลือกสร้างฝันให้เป็นจริงขึ้น แทนที่จะรอโอกาสอันเหมาะสม อาจมิใช่ นิตยสารที่เผยแพร่บนชั้นวางหนังสือกว้างไกล แต่อย่างน้อยและมากคุณค่านัก เพียงอนุสารเล่มน้อย ส่งมอบแก่ผู้คนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต … Continue reading ฉวยวันเวลาไว้
น้ำคำชีวิต บทเรียนล้ำค่าจากข้อสอบชีวิต นักศึกษา ม.บูรพา
น้ำคำชีวิต บทเรียนล้ำค่าจากข้อสอบชีวิต นักศึกษา ม.บูรพา นายธนสิทธิ์ เหมือนกุล คณะดนตรีและการแสดง “ตอนที่ได้บันทึกเรื่องเล่าทั้งสองเรื่องทุกวินาทีที่ได้ลงมือคิดและเขียนลงไปมันทำให้ผมได้คิดถึงเรื่องราวหลายๆอย่างในชีวิตที่ได้พัดผ่านเข้ามา ทำให้ได้กลับมาทบทวนเรื่องราวต่างๆอีกครั้ง ในระหว่างบันทึกนั้นความรู้สึกหลากหลายนั้นได้เข้ามาเยอะมาก ทั้งความกลัว กลัวที่จะกลับไปนึกภาพเหตุการณ์เหล่านั้นที่เป็นเรื่องราวฝังใจของผม กลัวที่จะนำมันมาเล่าใหม่และทำให้จิตใจของเราแย่ลง แต่พอเราได้เริ่มเขียนลงไป สิ่งเหล่านั้นกลับไม่เกิดขึ้น มันกลับกลายเป็นความรู้สึกที่ดี ความสบายใจที่พร้อมจะเล่า มันเหมือนได้กลับมาเปิดใจนึกถึงมันอีกครั้ง ในระหว่างที่เขียนสำหรับผมมันไม่ได้มีเพียงภาพที่เข้ามาในหัว แต่มันมีทั้งเสียง และความรู้สึกต่างๆเข้ามาด้วย ผมพยายามรับและถ่ายทอดมันออกมาให้ดีที่สุด รับมันอย่างจริงจังและเปิดใจให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในระหว่างการบันทึกมันทำให้ผมได้คิดถึงมันและนึกถึงปัญหาที่มันแย่มากๆ แต่มันก็ผ่านมาจนได้ หลังจากการบันทึกเสร็จแล้ว มันมีทั้งความเข้าใจความสบายใจและความเสียใจปะปนกันมาก แต่สิ่งที่ได้สำหรับตัวผมมากที่สุดคือได้มองเห็นเรื่องราวเก่าๆและเอามาเทียบกับเรื่องราว ณ ปัจจุบันว่าเราจะก้าวเดินต่อไปในเส้นทางนั้น และนำแรงกำลังใจที่เราเคยมีกลับมาใช้อีกครั้งให้เราได้มีกำลังเหล่านั้นและยิ้มรับกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นต่อไป หลังจากบันทึกแล้วผมรู้สึกสบายใจมากที่ได้เล่า มันเป็นความสบายใจที่โล่งมากๆ จากที่ตอนเขียนมันมีทั้งน้ำตาและรอยยิ้ม พอผมเขียนเสร็จผมโทรหาแม่และคุยหลายๆเรื่องมันยิ่งทำให้รู้สึกดีและกล้าเปิดตัวเองมากยิ่งขึ้น ขอบคุณสำหรับการบันทึกครั้งนี้อีกครั้ง ทุกเหตุการณ์เหล่านั้นมันไม่ได้สวยหรูมากมายแต่มันมีคำสอนที่คอยแทรกเพื่อเป็นบทเรียนให้ผมได้รู้จักกับคำว่า อดทน ที่จะใช้มันตลอดไปเลยทีเดียว ผมนั้นได้ย้อนกลับมามองตัวเองว่าแท้จริงแล้วเรานั้นเป็นคนอย่างไร อยากทำอะไร และที่อยู่ทุกวันอยู่เพื่อใคร ผมตอบได้เลยว่าที่ยอมเหนื่อยยอมทำทุกวันเพื่อพ่อแม่จริงๆ พ่อแม่ของผมท่านเหนื่อยมาก ผมอยากจบไวๆ อยากมีงานดีๆ มีเงินเดือนที่เลี้ยงท่านได้ หลายคนอาจจะมองว่าเงินไม่ใช่ทุกอย่าง แต่สำหรับผมเงินและคุณค่าทางชีวิต มันไม่ต่างกันมากเลย เรามีความรักความเข้าใจจากครอบครัวมันดีมากแล้ว แต่ถ้าเรามีเงินที่เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เราได้มีกิน มีใช้ จะทำให้ชีวิตเราสมบูรณ์มากขึ้น แต่อย่างไรถ้าความฝันที่มันอาจจะไม่สำเร็จตามเป้าหมายที่ได้วางไว้… Continue reading น้ำคำชีวิต บทเรียนล้ำค่าจากข้อสอบชีวิต นักศึกษา ม.บูรพา
“ค่ายนักฝันกล้าใหม่” ผู้นำที่เติมฝันแก่ชีวิต
โครงการธรรมวรรณศิลป์ ปีที่ ๗ และ บริษัท สูตรคูณสุข จำกัด และ สถาบันยุวโพธิชน ขอชวนเยาวชนหนุ่มสาวผู้มีใจฝันและต้องการพัฒนาตนเอง ร่วมเรียนรู้ใน “ค่ายนักฝันกล้าใหม่” ผู้นำที่เติมฝันแก่ชีวิต เนื้อหาสำคัญของการอบรม – เรียนรู้จักตนเอง เราเรียนรู้วิชาต่างๆ มากมายในห้องเรียน แต่น้อยครั้งนักที่เราจะได้กลับมารู้จักตนเองอย่างจริงจัง ในการอบรมมีหลายกิจกรรมและกระบวนการที่พาย้อนกลับมามองและฟังตนเองอย่างเข้าใจ เพื่อตระหนักในสิ่งที่ดีงามและสิ่งที่น่าปรับปรุง รวมทั้งความรู้สึกและความต้องการในหัวใจเรา – พัฒนาภาวะผู้นำแห่งการเรียนรู้ ผู้นำนั้นมีหลายแบบ ทุกคนต่างมีภาวะผู้นำนั้นอยู่ในตน อาจเหมือนหรือไม่เหมือนใคร การอบรมครั้งนี้ให้ได้เห็นความเป็นผู้นำที่หลากหลาย และกระตุ้นเร้าให้นำภาวะนั้นมาใช้ในการทำงานกลุ่มและชีวิต โดยเฉพาะการทำงานที่ไม่เน้นตัวเองเป็นหลักอย่างเดียวแต่เป็นผู้นำที่รับฟังและกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ในกลุ่ม – ทักษะยุวกระบวนกร คือ ทักษะพื้นฐานของการเป็นกระบวนกร ไม่เพียงเราสามารถเป็นครูหรือผู้นำที่ก่อกระบวนการเรียนรู้ แต่ทักษะเหล่านี้เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับชีวิตเราได้ เช่น การฟังอย่างลึกซึ้ง การจับประเด็น การตั้งคำถาม การสรุปเชื่อมโยง สนามพลัง และการจัดกระบวนการ เราจะไม่เป็นเพียงผู้จัดกระบวนการให้แก่ผู้อื่น แต่เป็นกระบวนกรของชีวิตตนเอง – บ่มเพาะปัญญาฐานหัวคิด จิตใจ และร่างกาย ความรู้และปัญญานั้นมีหลายรูปแบบ เราไม่เน้นการเติบโตเพียงฐานคิดหรือการคิดวิเคราะห์เท่านั้น ปัญญาที่มาจากหัวใจและร่างกายก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน เราอาจมองว่าตนเองคิดไม่เก่ง… Continue reading “ค่ายนักฝันกล้าใหม่” ผู้นำที่เติมฝันแก่ชีวิต
ทำดีอย่างไรไม่ให้ติดดี หรือใช้ความดีของเราทำร้ายผู้อื่น
ระดมบทเรียนจากน้องค่ายธรรมวรรณศิลป์ ทำดีอย่างไรไม่ให้ติดดี หรือใช้ความดีของเราทำร้ายผู้อื่น ๑ ทำดีอย่างพอดี ใช้บรรทัดฐานที่เหมาะสม ๒ เข้าใจความต่าง สื่อสารอย่างละเอียดอ่อน ๓ เอาใจเขามาใส่ใจเรา ไม่อาจตัดสินคนอื่นภายนอก ๔ สร้างเหตุที่ดีโดยไม่คาดหวังผล ๕ เข้าใจ นิยามความดีมีหลากหลาย ๖ ใช้ความดีเป็นรากฐานเพื่อต่อยอดสู่สิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าความดี ๗ ติดตามผลจากการทำดีของเราด้วย ๘ ส่งต่อความดีด้วยการทำดี ๙ สะท้อนตนเองเพื่อขัดเกลา พัฒนาตน ๑๐ มีกัลยาณมิตรสะท้อนตัวเรา ๑๑ เข้าใจว่า ดี ไม่ใช่ เอ แต่ ดี ไม่ใช่ เอฟ มันเป็นไปเช่นนั้นเอง น้องสมิทขึ้นกระดาน