ร่มเย็น เป็นสุข รับปีใหม่(ไทย)

  “ร่มเย็น เป็นสุข รับปีใหม่(ไทย) ด้วยน้ำใจ-น้ำจิต คิดเกื้อหนุน ด้วยน้ำพัก-น้ำแรง ที่สมดุล ด้วยน้ำคำ เป็นคุณ ให้แก่กัน สรงน้ำพระ ส่งใจ กลับในตัว ให้เย็นทั่ว กายใจ ไม่หุนหัน อาบน้ำใคร อาบใจ ในปัจจุบัน ย้อนมองขัน(ธ์) ดูใจ อยู่ง่ายงาม ฯ”   บอกเล่าจากผู้เขียน : ผู้ใดมีน้ำใจและน้ำจิต คิดเกื้อหนุน แบ่งปัน ทำทาน หวังส่งเสริมผู้อื่น ฯ ผู้นั้นย่อมมีใจที่สงบเย็น เพราะจิตที่คิดให้เป็นจิตที่สบายกว่าจิตที่คิดจะรับ จิตที่หวังได้มาได้มีย่อมรุ่มร้อนกระวนกระวาย จิตที่หวังให้จะผ่อนคลายและสบายใจ ยกเว้นเสียว่าจะคิดให้เพื่อหวังการตอบแทน เช่นนั้นแล้วก็จะเป็นความเย็นเร้นความร้อน แอบกระวนกระวายไม่เป็นสุข มิว่าผลตอบแทนที่หวังนั้น จะได้รับหรือจะมิได้รับในท้ายที่สุดก็ตาม น้ำพัก และ น้ำแรง ต้องสมดุล จึงจะเป็น “สัมมาวายามะ” แปลว่ามีความเพียรที่ถูกต้อง หากพักผ่อนและทำใจผ่อนคลายเกินไปจนหย่อนยาน การงานต่างๆ ย่อมไม่เกิดผล เช่นนั้นแล้วก็จะนำมาสู่ความทุกข์ร้อนใจไม่เป็นสุขในภายหน้า แต่หากน้ำแรงมีมากเกินไปมิรู้จักหยุดพักผ่อน เช่นนั้นแล้วจิตใจก็จะเต็มไปด้วยความรุ่มร้อนเพราะความเครียด… Continue reading ร่มเย็น เป็นสุข รับปีใหม่(ไทย)

แผ่เมตตาและขอขมา ล้างพลังลบรับขวัญปีใหม่

  [ แผ่เมตตาและขอขมา ล้างพลังลบรับขวัญปีใหม่ ] “การแผ่เมตตา” คือการให้ของขวัญให้แก่ตนเองและผู้อื่น คือการเผื่อแผ่พลังของจิตที่เป็นกุศล ขยายแผ่กว้างออกมาจากภายในจิตใจของตนเอง การแผ่เมตตามิใช่เพียงความตั้งใจดีในการให้แก่ผู้อื่น แต่เป็นการเปิดพื้นที่ให้ความเมตตาในตนเองได้เติบโตงอกเงยออกมา พ้นจากกองอารมณ์และความคิดลบต่างๆ ที่สะสมมาตลอดปีเก่าและก่อนหน้านั้น เพื่อทำให้จิตใจของเรานั้นมีความสุขและพร้อมเปิดรับสิ่งดีๆ เข้ามาในชีวิต การแผ่เมตตาจะทำได้อย่างดีเยี่ยม เมื่อเราได้เมตตาตนเองก่อน ด้วยการทำสิ่งที่ดีให้กับตนเอง เช่นการทำสมาธิภาวนา การเรียนรู้พัฒนาจิตใจ หรือกิจกรรมที่ทำแล้วได้รักตนเองมากขึ้น แล้วเราจึงแผ่เมตตานั้นออกมาจากจิตใจของตนเองได้อย่างแท้จริง หากไม่ได้เมตตาตนเองก่อนแล้ว ก็จะเหมือนกับการเทน้ำชาแบ่งคนอื่นจากกาตนเอง โดยที่ในกานั้นมีน้ำเพียงน้อยนิดหรือไม่มีอยู่เลย การเติมเต็มพลังงานที่ดีและทำสิ่งที่เป็นกุศลต่อตนเอง ก่อนจะแบ่งปันสิ่งที่ดีออกไปจึงเป็นเรื่องสำคัญและหลีกหนีไม่ได้สำหรับคนที่ต้องการช่วยเหลือคนอื่น หรือแม้ว่าต้องการทำบุญเพื่อสะเดาะห์เคราะห์รับโชคลาภหรือเปิดทางให้สิ่งดีๆ เข้ามาในชีวิต เพื่อให้จักรวาลเมตตา ก็มิอาจเลี่ยงที่จะต้องเมตตาตัวเองก่อน การแผ่เมตตาให้กับตนเองและผู้อื่น จึงจะเป็นพลังงานดึงดูดความเมตตาให้เข้ามาในชีวิต หากเราไม่ได้เมตตาตนเองและคนอื่นแล้ว เราจะหวังให้จักรวาลเมตตาเราได้อย่างไร ความดีจะดึงดูดความดีให้เกาะกลุ่มกันเข้ามาอยู่ร่วมกัน ความเมตตาก็เช่นเดียวกัน เราทุกคนสามารถทำได้ง่ายๆ โดยไม่จำเป็นต้องมีดอกไม้ ธูปเทียน วัตถุมงคล คาถา หรือสถานที่ใดโดยเฉพาะ เพียงใช้เวลาสั้นๆ ไม่กี่นาทีในการมอบความรักให้แก่ตนเองและเผื่อแผ่ความรักให้กว้างใหญ่ หลังจากเราได้ทำสิ่งใดๆ ที่ดีต่อใจของเรา ทำด้วยการเห็นคุณค่าในตน ทำแล้วรักตนเองมากขึ้น แม้ไม่ใช่การสวดมนต์หรือนั่งสมาธิก็ตาม อาจเป็นเพียงการตื่นเช้า การได้อ่านหนังสือที่ดี การได้ทำบุญทำทาน การเข้าอบรม การออกกำลังกาย… Continue reading แผ่เมตตาและขอขมา ล้างพลังลบรับขวัญปีใหม่

7 วิธีการ ลดความเป็น “Perfectionist”ในตัวคุณ

  7 วิธีการ ลดความเป็น “Perfectionist”ในตัวคุณ เรียบเรียงใหม่จากบทความคอลัมน์ ไกด์โลกจิต ตอนที่ 34 โดยครูโอเล่   “Perfectionist” เป็นลักษณะนิสัยและพฤติกรรมที่พยายามทำให้สิ่งต่างๆ หรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ใส่ใจ ดีครบถ้วนสมบูรณ์ตามมาตรฐานหรือหลักการที่ยึดถือ ลักษณะพฤติกรรมนี้ไม่ได้เป็นเฉพาะบางบุคคลเท่านั้น แม้บางคนจะมีนิสัยนี้เป็นบุคลิกประจำตัวซึ่งพยายามทำให้ “เป๊ะ” แทบทุกเรื่อง ยึดถือมาตรฐานและความถูกต้องในเรื่องต่างๆ จนเป็นคน “เนี้ยบ” อยู่แล้ว หลายคนที่ไม่ได้มีบุคลิกนิสัยนี้ก็อาจมีบางเรื่องที่จะคาดหวังมากเป็นพิเศษ อ่อนไหวกับประเด็นนั้นๆ มากกว่าเรื่องอื่น วิตกกังวลกับมันบ่อยๆ หรือกำหนดมาตรฐานตั้งเงื่อนไขเอาไว้ เช่น บางคนไม่ต้องการให้คนรอบตัวเก็บความลับหรือปิดบังความจริงกับตนแม้แต่นิดเดียว บางคนจะออกนอกบ้านทีการแต่งหน้าแต่งกายจะทำไปอย่างลวกๆ ไม่ได้ บางคนให้คุณค่ากับงานไม่อยากให้มีข้อตำหนิผิดพลาดแม้แต่นิดเดียว บางคนไม่อยากเห็นการเปรียบเทียบคะแนนและระดับความสามารถกับเพื่อน บางคนมีข้อกำหนดว่าคนรักจะต้องทำแบบนั้นและไม่ทำแบบนี้ บางคนมีข้อชี้วัดชัดเจนว่าคนดีจะต้องเป็นอย่างไรและห้ามทำอะไร ฯ เราต่างมีความเป็น “Perfectionist” ในตัวเองอย่างน้อยในแง่ที่ต้องการให้ตนเองและสิ่งที่ใส่ใจ “ดีพอ” ตามเงื่อนไขและมาตรฐานที่แอบมีอยู่ในจิตใจ และมีมาตรวัด “ความสมบูรณ์แบบ” ในเรื่องที่สำคัญของตนเอง ความใฝ่ในความสมบูรณ์แบบมีอยู่ในตัวเราทุกคน อาจคาดหวังอยากให้มีครอบครัวที่เพอร์เฟค อยากมีอาชีพที่ตอบโจทย์ทุกด้านของชีวิต อยากมีแฟนที่เข้าใจและยอมรับตนทุกๆ อย่าง อยากมีลูกที่อยู่ในโอวาททุกบรรทัด อยากมีเคหาอาศัยที่ไร้ข้อบกพร่อง อยากมีปีใหม่ที่มีความสุขตลอดทั้งปี ฯ การนิยมความสมบูรณ์ไม่ใช่สิ่งเลวร้าย… Continue reading 7 วิธีการ ลดความเป็น “Perfectionist”ในตัวคุณ

คุณค่าของเธอ ไม่ได้ขึ้นกับความเข้าใจ(ของคนอื่น)

  เมื่อใดที่คนอื่นเข้าใจตัวเราผิดพลาด แล้วทำให้รู้สึกหม่นหมอง เสียกำลังใจ โกรธหงุดหงิด หรือน้อยเนื้อต่ำใจ แสดงว่าใจเรากำลังผูกคุณค่าตนเองไว้ที่มุมมองกับความคิดของผู้อื่น และการได้รับความเข้าใจ จนเป็นทุกข์ การใส่ใจความคิดและความรู้สึกของผู้อื่นเป็นสิ่งที่ดี แต่หากเราถือสิ่งนี้ไว้มากเกินไปจนไม่มีหลักยึดให้ใจหนักแน่นพอ หัวใจก็จะเป็นลูกบอลที่ถูกยื้อแย่งและส่งไปหาคนนั้นที คนนี้ที มิได้กลับมาหาคุณค่าที่ตนเองอย่างมั่นคง ความสุขทุกข์ก็จะขึ้นอยู่กับผู้อื่น เรากำลังนำภาพที่คนอื่นมองเห็นมาเป็นเนื้อตัวเรา ทั้งที่ความคิดคนผันแปรไม่แน่นอน เมื่อใดอารมณ์ดีความคิดก็เป็นอย่างหนึ่ง เมื่อใดอารมณ์เสียความคิดก็เปลี่ยนแปลง ยามทำถูกใจก็ยกยอชื่นชม ยามขัดใจก็หมิ่นหยามหมางเมิน ตัวเราคือสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ณ ตรงนี้ มิใช่ในดวงตาหรือความคิดใคร หากเราถือตนเองเป็นหนึ่งเดียวกับสิ่งที่คนอื่นมอง ก็เสมือนถือว่าภาพจากเครื่องฉายเป็นของจริง เมื่อใดเขาไม่สนใจไยดีหรือคิดเห็นเป็นอื่น เราก็รู้สึกด้อยค่าประหนึ่งไม่มีตัวตน การถูกเข้าใจผิดมิได้ติดตราประทับไว้ที่ตัวเราแต่เพียงลำพัง คนที่ทำคุณงามความดีหลายคนย่อมเคยผ่านการถูกเข้าใจผิด หรือแม้แต่การถูกประณามหยามเกียรติ ศาสดาของศาสนาต่างๆ ย่อมเคยถูกเข้าใจผิดหรือคิดเห็นในทางลบร้ายจากผู้อื่น ก่อนที่ท่านจะก้าวผ่านด้วยสัจจะ ศรัทธา และปัญญา หากพวกท่านนำคุณค่าจากสายตาผู้อื่นมาเป็นเครื่องชี้วัดตัดสินคุณค่าแล้ว โลกนี้ก็คงไร้ซึ่งศาสนาพยุงความดีของมนุษย์ และไม่มีคำสอนเพื่อการหลุดพ้นจากความทุกข์มาจนถึงทุกวันนี้ คุณค่าของสิ่งใดๆ มีคุณค่าในตัวมันเอง การตีตราให้ราคาจากภายนอกมิใช่สิ่งที่เที่ยงแท้และยั่งยืน เปลี่ยนแปลงได้ตามอารมณ์ สถานการณ์ และปัจจัยมากมาย เราจะเลือกฝากคุณค่าของตัวเองไว้ที่ตาชั่งเหล่านั้นหรือไม่ ถึงอย่างนั้นมิใช่ห้ามเราไม่รับฟังผู้อื่นเลย มุมมองจากผู้อื่นเป็นแง่คิดให้เรารับฟังและเรียนรู้ได้เสมอ แต่ต้องแยกให้ออกระหว่างคุณค่าของสิ่งที่เราเป็นหรือได้ทำ กับความคิดเห็นหรือความเข้าใจจากผู้อื่น สองส่วนนี้ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน สิ่งที่คนอื่นบอกเป็นการ “เสนอแนะ” ความคิดเห็นเป็นสิ่งนอกตัว… Continue reading คุณค่าของเธอ ไม่ได้ขึ้นกับความเข้าใจ(ของคนอื่น)

5 ข้อคิดรับมือคำด่าและท่าทีแย่ๆ

  5 ข้อคิดรับมือคำด่าและท่าทีแย่ๆ เรียบเรียงใหม่จากบทความคอลัมน์ ไกด์โลกจิต ตอนที่ 48   1. มองให้เห็นเป็นธรรมดา ความจริงข้อแรกที่เราต้องมองให้เห็นคือ “ไม่มีใครเป็นที่รักแก่คนทั้งโลก” ไม่มีทางที่ทุกคนจะเคารพและเห็นคุณค่าในตัวเรา เพราะแต่ละคนล้วนมีรสนิยม ความเชื่อ มีสิ่งที่ตนเองเคารพ และมีสิ่งที่ให้คุณค่ามากกว่าสิ่งอื่น รวมทั้งมุมมองที่เขาเห็นเราก็อาจเพียงแค่ด้านเดียว ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น แต่การที่คนๆ หนึ่งไม่ได้รัก เคารพ หรือเห็นค่าในตัวเรา สิ่งนั้นไม่ได้บั่นทอนความน่ารัก น่าเคารพ หรือคุณค่าที่เรามีอยู่แล้วในตนเอง เหมือนคนไม่ชอบหนังสือเล่มหนึ่งเล่มใด ความไม่ชอบนั้นๆ ก็ไม่ได้ทำให้ข้อความดีๆ บนหน้ากระดาษหนังสือจางหาย ความจริงข้อสองที่เราควรมองให้เห็นคือ “ไม่มีนินทาและสรรเสริญใดที่ยั่งยืน” ทั้งคำชมคำชังเพียงมาและจากไปด้วยกันทั้งสิ้น วันนี้เขาชมเรา วันหน้าเขาอาจด่าเรา ความยินดีต่อกันในวันนี้อาจแปรเปลี่ยนไปในวันหน้าได้ตลอด พุทธศาสนานั้นสอนให้เราวางเฉยต่อสิ่งเหล่านี้ เพราะการยึดถือในคำนินทาก็ดี คำสรรเสริญก็ดี ล้วนทำให้เราเป็นทุกข์ด้วยกันทั้งสิ้น หลงกับคำชมเกินไปเราก็ประมาท หลงกับคำด่าเกินไปเราก็ดูถูกตนเอง ยึดถือสิ่งที่ไม่คงที่เที่ยงแท้ก็มีแต่จะทำให้ผิดหวังและเป็นทุกข์ในภายหน้า หลงกับลมปากของคนก็เหมือนพยายามคว้าสายลมไว้ในมือเท่านั้นเอง ความจริงข้อที่สามที่เราควรมองให้เห็นคือ “เราทุกคนมีโลภ-โกรธ-หลง เป็นธรรมดา” ไม่ว่าเราจะถูกกระทำด้วยท่าทีแย่ๆ แบบใด หรือด้วยคำพูดแบบไหน สิ่งเหล่านั้นก็ไม่พ้นจากความโลภ โกรธ และหลงเป็นสาเหตุ เป็นเหมือนเส้นใยที่ชักนำจิตของผู้กระทำไว้อย่างนั้น เมื่อใดที่เจ้าสามตัวนี้เบาบางลง… Continue reading 5 ข้อคิดรับมือคำด่าและท่าทีแย่ๆ

9 ส. (ศ) เพื่อหลุดพ้นจากบ่วงความคิด

  9 ส. (ศ) เพื่อหลุดพ้นจากบ่วงความคิด : เรียบเรียงใหม่จาก คอลัมน์ ไกด์โลกจิต ตอนที่ 47 . อุบายในการเป็นอิสระจากบ่วงความคิดอาจจำแนกแจกแจงได้หลายแบบหลายแนวทาง แต่ในบทความนี้ขอกล่าวถึงแนวทางและสิ่งที่จะช่วยเหลือให้เป็นอิสระจากการเป็นทาสของความคิด จำนวน 9 อย่างด้วยกัน เรียกว่า เก้า ส. (ศ) เพื่อหลุดพ้นจากบ่วงความคิด . ส 1.  คือ “สงบ” เพราะความคิดรวดเร็วและว่องไว บ่อยครั้งจึงทำให้รู้สึกว่าดูแลจัดการความคิดของตนเองไม่ได้เลย จะดึงความคิดให้หยุดนิ่งหรือช้าลงก็ยากมาก หรือแทบเป็นไปไม่ได้ แต่จริงๆ แล้วเราดึงความคิดให้ช้าลงได้ ด้วยการปรับให้กายกับใจช้าลงตามลำดับ เวลาที่กายใจวุ่นวายและร้อนรน ตอนนั้นกลไกปกป้องตนเองมักจะทำงานอยู่ ทำให้เราคิดแบบปลายปิด คิดในมุมแคบ คิดในทางที่จะปกป้องตัวตน หรือคิดอะไรไม่ได้เลย เพราะขาดความสงบ ร่างกายก็จะอยู่ในความตึงเครียด มีแต่ความยุ่งวุ่นวาย รีบร้อน และอารมณ์ต่างๆ รบกวน  ความสงบในที่นี้ไม่ใช่เพียงความสงบในสิ่งแวดล้อม แต่หมายถึงความสงบของกาย วาจา และใจของเราเอง เราควรผ่อนเกียร์ ผ่อนคันเร่ง ให้แก่การใช้ชีวิตของตนเองบ้าง เพื่อลดกลไกปกป้องตนเอง เริ่มจากร่างกายก่อน… Continue reading 9 ส. (ศ) เพื่อหลุดพ้นจากบ่วงความคิด

จะออกจากความคิดที่ขังชีวิตคุณไว้อย่างไร

  สิ่งที่คิดเป็นประจำ จะเป็นกรงขังเราไว้เอง : ความคิดและพฤติกรรมที่นำมาสู่ความสุขหรือความทุกข์ ล้มเหลวหรือสำเร็จ ต่างทำงานซ้ำๆ เป็นร่องวงจร วนไปเวียนมา ย่ำและย้ำเป็นความเคยชิน จนเราเองก็หลงลืมไปว่า เราไม่จำเป็นต้องคิดแบบนั้นก็ได้ ไม่จำเป็นต้องทำเช่นนั้นก็ได้ เรามีวิธีคิดและทางเลือกมากมายในทุกสถานการณ์ แต่เราเลือกขังตัวเราไว้ด้วยวิธีคิดแบบเดิมๆ . 🤔 เราอาจเคยสงสัยว่าเหตุใด เราจึงผิดพลาดซ้ำแล้วซ้ำอีก เจอเหตุการณ์หรือคนแบบนี้ครั้งแล้วครั้งเล่า บางความเห็นกล่าวว่าเป็น “กฎของกระจก” เราเจอสิ่งใดก็สะท้อนว่าสิ่งนั้นอยู่ในตัวเราหรือจิตเรามาก่อนแล้ว เราดึงดูดสิ่งต่างๆ เข้าหาตัวเอง แต่ที่จริงแล้ว เราก็ไม่ใช่หลุมดำหรือดาวเคราะห์ที่ดึงดูดทุกสิ่งโดยมีตัวตนเป็นศูนย์กลาง แต่เป็นหัวใจเราเองวนเวียน ย้ำคิด ย้ำทำ เลือกวิธีคิดแบบเดิม เลือกวิธีใช้ชีวิตแบบเดิม ปัญหาแบบเดิมก็ย่อมตามมา . ความรู้สึก นึก และคิด ก่อให้เกิดการกระทำทั้งภายในใจและในชีวิตของเรา เมื่อความรู้สึก นึก และคิด วนเวียนอยู่ในแบบเดิมๆ เราก็ย่อมขังตัวเองเอาไว้ในวงจรชีวิตแบบนั้น . สิ่งที่เป็นปัญหา มักไม่ใช่ตัวปัญหา แต่เป็นวิธีคิดที่ไม่เหมาะสม ไม่ตอบโจทย์ และสร้างปัญหาขึ้นมา และยิ่งเราพยายามหาทางออกให้ชีวิต ด้วยวิธีคิดแบบเดิม คิดย้ำในทางเก่าๆ ก็มีแต่ยิ่งวนเวียนอยู่ในทางที่เราหลงทาง . เมื่อเรารู้ว่าเราหลงทางแล้ว… Continue reading จะออกจากความคิดที่ขังชีวิตคุณไว้อย่างไร

ปีใหม่ไทย เริ่มต้นใหม่ ดั่งผีเสื้อ

  🦋 “ไม่มีผีเสื้อตนใดที่บินมาตั้งแต่เกิด การเริ่มต้นย่อมพบเจอความยากลำบาก หนอนผีเสื้อส่วนหนึ่งต้องคืบคลานเกือบนานถึงครึ่งค่อนอายุขัย กว่าจะติดปีกบินได้ อยู่กับความเชื่องช้าและขีดจำกัดในตนเอง จนวันหนึ่งเป็นอิสระจากสิ่งเหล่านั้น . ก้าวแรกของความสำเร็จ อยู่ที่เราให้เวลากับช่วงเริ่มต้นอันเชื่องช้าได้มากเท่าใด หากเราเร่งร้อนและหวังผลเกินไป แต่ไม่สามารถทำได้ดังหวัง เฉกเช่นเป็นหนอนผีเสื้อแต่อยากวิ่งเร็วเหมือนตั๊กแตน เราย่อมไม่อาจมีความสุขและเห็นคุณค่าของการเริ่มต้นทำสิ่งใดได้เลย . 🐛 หนอนแก้วน้อยให้เวลากับการคืบคลาน เริ่มต้นอย่างเชื่องช้า งุ่นง่าน ดูแสนธรรมดาไม่มีอะไรพิเศษ คนอาจดูแคลน ใครบางคนอาจสงสัย แต่ชีวิตอันธรรมดาจะติดปีกได้ก็ต้องอาศัยความอดทนเช่นนี้ . เพราะหนอนผีเสื้อเห็นคุณค่าในสิ่งที่ตนเองเป็นและทำ แม้มันอาจไม่เห็นปีกของตนเองในตอนนั้นอย่างชัดเจน มันก็ไม่เคยหยุดที่จะมีชีวิตและเริ่มต้น ปีกของเราแต่ละคนซ่อนอยู่ข้างใน มันต้องมีพื้นที่และเวลาที่จะกางปีกนั้นออกมา”   ⭐️ บทความนี้ตัดทอนจากงานเขียน “5 ข้อคิดการริเริ่มจาก “ผีเสื้อ” (ตอนแรก)” ในคอลัมน์ ไกด์โลกจิต ประจำปี 2560 โดยครูโอเล่ สถาบันธรรมวรรณศิลป์   🧘‍♀️ อ่านบทความคอลัมน์ไกด์โลกจิต : www.dhammaliterary.org/คอลัมน์-ไกด์โลกจิต/   🔍 สามารถสนับสนุนกิจกรรมและบทความ ผ่านการเข้าร่วมคอร์สของเรา www.dhammaliterary.org/คอร์สการอบรม/   📒… Continue reading ปีใหม่ไทย เริ่มต้นใหม่ ดั่งผีเสื้อ

พักจาก 6 อย่างนี้ แล้วเราจะได้พักผ่อนอย่างแท้จริง !

  พักจาก 6 อย่างนี้ แล้วเราจะได้พักผ่อนอย่างแท้จริง !   พักจากความอยาก : หากเราไม่ได้พักตนเองจากความอยากแล้ว เมื่อถึงเวลาว่างมันก็จะลากพาเราไปเรื่อยๆ จนไม่ได้พักผ่อนอย่างแท้จริง มันอาจชวนเราไปทำอย่างโน้น ไปทำอย่างนี้ ตามความอยาก ความน่าสนใจ ความเร้าแก่อารมณ์ ฯ ทำให้เราไม่ได้หยุดนิ่งเพื่อดูแลตนเองอย่างแท้จริง แต่ได้ไปดูแลความอยากแทน ซึ่งมักลงเอยด้วยความเหนื่อย ความป่วย หรือความเมามายขาดสติ . พักจากการกังวลถึงอนาคต : สิ่งที่จะเกิดขึ้นในวันหน้ายังไม่มีอยู่จริง แต่ความกลัว ความวิตก และความสงสัยก็จะทำให้กายจิตเราไม่ได้ผ่อนพัก เพราะต้องคอยคิดคำนึงวางแผนต่างๆ นานา และคาดเดาคาดคะเน จนความคิดวุ่นวายไม่ได้อยู่กับปัจจุบัน เราก็ไม่สามารถพักผ่อนอย่างเต็มที่ได้ . พักจากการอาลัยสิ่งที่ล่วงเลย : ไม่มีใครที่ฝืนกระแสความไม่เที่ยงแท้ของทุกสิ่งได้ ยิ่งหวนหาอยากให้กลับคืน ยิ่งทำให้ชีวิตและสิ่งที่มีอยู่สูญเสียไปทีละน้อย ความคิดคำนึงถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาแล้วอย่างขาดสติทำให้จิตเหนื่อยล้า การคิดถึงสิ่งที่ผ่านไปแล้วอย่างไม่ก่อประโยชน์ มีแต่ทำให้จิตเศร้าโศกและหม่นหมองลง เราจึงลืมดูแลสิ่งที่มีอยู่ในปัจจุบัน . พักจากการสอดส่องและแบกรับ : เราไม่อาจแบกทุกอย่างไว้ที่ตนเองได้ การพยายามรับผิดชอบสิ่งต่างๆ มากจนเกินไป ทำให้เราบีบคั้นตนเองทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ บางครั้งเราก็เอาเวลาในการดูแลตนเองไปสอดส่องกับเรื่องราวของคนอื่น ไปยุ่งเกี่ยวอย่างไม่เกิดประโยชน์… Continue reading พักจาก 6 อย่างนี้ แล้วเราจะได้พักผ่อนอย่างแท้จริง !

ความลับในความฝัน : พื้นฐานของการวิเคราะห์ความฝัน

  “Dream Interpretation for Beginners: Understanding the Basics of Analyzing Dreams.”   การตีความความฝัน (Dream Interpretation) เป็นกระบวนการกำหนดความหมายให้กับความฝัน เป็นศาสตร์ที่น่าสนใจและลึกซึ้ง ซึ่งได้รับการศึกษามานานหลายศตวรรษโดยวัฒนธรรมและสาขาวิชาที่แตกต่างกัน ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่าความฝันมีความหมายพิเศษ แต่บางคนเชื่อว่ามันเป็นเพียงวิธีการประมวลผลความคิดและอารมณ์ของสมอง ในบทความนี้ เราจะสำรวจพื้นฐานของการตีความความฝัน สำหรับผู้ไม่มีพื้นฐานมาก่อน เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการค้นพบความลับในความฝันของเรา ก้าวแรกๆ ในการทำความเข้าใจความฝันยามหลับนั้น คือการเริ่มจดบันทึกเกี่ยวกับความฝันของตนเอง หลังจากเพิ่งตื่นขึ้น เตรียมสมุดบันทึกหรืออุปกรณ์จด เตรียมไว้ใกล้ๆ เตียงนอน ให้เราสามารถเขียนความฝันของตนได้ทันทีที่ตื่นขึ้น การจดความฝันทันทีที่ตื่นขึ้นหรือภายในเวลาไม่นาน จะทำให้จดจำความคิดหรือความรู้สึกต่างๆ ที่มีในขณะที่ฝันได้ โดยไม่ทันถูกกลบด้วยความคิดหลังตื่นนอน สิ่งนี้จะช่วยให้เราติดตามการเดินทางของความฝันตัวเองและเริ่มสังเกตเห็นรูปแบบหรือธีมที่เกิดซ้ำๆ ซึ่งจะสะท้อนการเดินทางของจิตใจและภาพชีวิตในช่วงเวลานั้นๆ วิธีการตีความฝันที่ได้รับความนิยมมากที่สุดวิธีหนึ่งคือ ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ โดยซิกมันด์ ฟรอยด์ ตามทฤษฎีนี้ ความฝันเป็นภาพสะท้อนของความปรารถนา ความคิด แรงผลักดันทางเพศ และประสบการณ์ในจิตใต้สำนึกของบุคคล ฟรอยด์เชื่อว่าความฝันเป็นหนทางสำหรับจิตไร้สำนึก (Unconscious mind) ในการแสดงความคิดและอารมณ์ที่อัดอั้นไว้ข้างใน ซึ่งไม่สามารถแสดงออกได้ในชีวิตยามตื่น นอกจากนี้เขายังเชื่อว่าความฝันสามารถเปิดเผยความปรารถนาหรือความกลัวที่ซ่อนอยู่ได้ การวิเคราะห์สิ่งเหล่านี้สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับจิตใจ เป็นประโยชน์ในการบำบัดผู้ป่วยที่มีอาการทางจิต… Continue reading ความลับในความฝัน : พื้นฐานของการวิเคราะห์ความฝัน