“Dream Interpretation for Beginners: Understanding the Basics of Analyzing Dreams.” การตีความความฝัน (Dream Interpretation) เป็นกระบวนการกำหนดความหมายให้กับความฝัน เป็นศาสตร์ที่น่าสนใจและลึกซึ้ง ซึ่งได้รับการศึกษามานานหลายศตวรรษโดยวัฒนธรรมและสาขาวิชาที่แตกต่างกัน ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่าความฝันมีความหมายพิเศษ แต่บางคนเชื่อว่ามันเป็นเพียงวิธีการประมวลผลความคิดและอารมณ์ของสมอง ในบทความนี้ เราจะสำรวจพื้นฐานของการตีความความฝัน สำหรับผู้ไม่มีพื้นฐานมาก่อน เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการค้นพบความลับในความฝันของเรา ก้าวแรกๆ ในการทำความเข้าใจความฝันยามหลับนั้น คือการเริ่มจดบันทึกเกี่ยวกับความฝันของตนเอง หลังจากเพิ่งตื่นขึ้น เตรียมสมุดบันทึกหรืออุปกรณ์จด เตรียมไว้ใกล้ๆ เตียงนอน ให้เราสามารถเขียนความฝันของตนได้ทันทีที่ตื่นขึ้น การจดความฝันทันทีที่ตื่นขึ้นหรือภายในเวลาไม่นาน จะทำให้จดจำความคิดหรือความรู้สึกต่างๆ ที่มีในขณะที่ฝันได้ โดยไม่ทันถูกกลบด้วยความคิดหลังตื่นนอน สิ่งนี้จะช่วยให้เราติดตามการเดินทางของความฝันตัวเองและเริ่มสังเกตเห็นรูปแบบหรือธีมที่เกิดซ้ำๆ ซึ่งจะสะท้อนการเดินทางของจิตใจและภาพชีวิตในช่วงเวลานั้นๆ วิธีการตีความฝันที่ได้รับความนิยมมากที่สุดวิธีหนึ่งคือ ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ โดยซิกมันด์ ฟรอยด์ ตามทฤษฎีนี้ ความฝันเป็นภาพสะท้อนของความปรารถนา ความคิด แรงผลักดันทางเพศ และประสบการณ์ในจิตใต้สำนึกของบุคคล ฟรอยด์เชื่อว่าความฝันเป็นหนทางสำหรับจิตไร้สำนึก (Unconscious mind) ในการแสดงความคิดและอารมณ์ที่อัดอั้นไว้ข้างใน ซึ่งไม่สามารถแสดงออกได้ในชีวิตยามตื่น นอกจากนี้เขายังเชื่อว่าความฝันสามารถเปิดเผยความปรารถนาหรือความกลัวที่ซ่อนอยู่ได้ การวิเคราะห์สิ่งเหล่านี้สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับจิตใจ เป็นประโยชน์ในการบำบัดผู้ป่วยที่มีอาการทางจิต… Continue reading ความลับในความฝัน : พื้นฐานของการวิเคราะห์ความฝัน
Category: ไกด์โลกจิต
ปีใหม่ คือ ปัจจุบัน
เมื่อเราก้าวเข้าสู่ปีใหม่ เป็นเรื่องปกติที่เราจะเหลียวมองอดีตและวางแผนอนาคต แต่คำสอนของพระพุทธเจ้ากล่าวไว้ว่า ปัจจุบันขณะเป็นสิ่งเดียวที่เราพึงมีได้ เป็นคำสอนพื้นฐาน แต่ก็สำคัญมากที่สุดข้อหนึ่งในพุทธศาสนา ความว่า “อดีตล่วงเลยไปแล้ว อนาคตก็ยังมาไม่ถึง มีเพียงปัจจุบันขณะเท่านั้น” คำสอนนี้เตือนเราว่า ปีใหม่ไม่ใช่อนาคตที่ห่างไกล ไม่ใช่สิ่งที่เรารอคอยให้มาถึง แต่คือปัจจุบันที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ ไม่ใช่สิ่งที่ล่วงเลยไปแล้วหรือสิ่งที่ยังมาไม่ถึง คนที่อยู่กับปัจจุบันขณะเท่านั้นจึงเป็นผู้ที่มีปีใหม่และได้รับพรสูงสุด การกลับมามีสติกับสิ่งที่เป็นอยู่ โดยไม่คำนึงถึงอดีตและอนาคตด้วยความโลภ โกรธ และหลง กลับมาหาลมหายใจที่เข้าแล้วออกไป จึงจะเข้าใจว่า ปีใหม่แท้จริงก็คือปัจจุบัน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีอยู่จริงเท่านั้น เพราะทั้งอดีตและอนาคตต่างไม่มีอยู่ในตอนนี้เลย การวางแผนปีใหม่ ไม่ได้ขัดกับการอยู่กับปัจจุบัน แต่ผู้ที่อยู่กับปัจจุบันเท่านั้น จึงจะทบทวนอดีตได้อย่างถ่องแท้ และสามารถวางแผนปีหน้าอย่างแยบยล เพราะมิได้ถูกความกลัวในสิ่งที่ยังมาไม่ถึง หรือความเจ็บปวดในอดีตที่ผ่านมา รบกวนปัญญาของใจตนเอง ด้วยการอยู่กับปัจจุบันนั้นเอง เราจึงสามารถทำให้ปีใหม่เป็นช่วงเวลาแห่งการเติบโต ความสมหวัง และความสุข ดังนั้นขอให้ใช้ช่วงเวลาปัจจุบันให้คุ้มค่าที่สุดและต้อนรับปีใหม่ด้วยใจที่เปิดกว้างและจิตใจที่แจ่มใส สวัสดีปีใหม่ จากพวกเราทีมงานธรรมวรรณศิลป์ ติดตามกิจกรรมของทางโครงการ เข้าร่วมอบรมเพื่อพัฒนาจิตใจ รู้จักตัวเอง เยียวยาความทุกข์ และเครื่องมือในการช่วยเหลือตนเองและผู้อื่น ผ่านหลักสูตรต่างๆ ได้ที่เว็บไซต์ www.dhammaliterary.org/open-course/
8 หนทางอันประเสริฐที่มนุษย์ควรก้าวตาม “อริยมรรค” (ตอนสี่)
8 หนทางอันประเสริฐที่มนุษย์ควรก้าวตาม “อริยมรรค” (ตอน : วิธีคิดแบบพุทธะ ภาค 3) บทความนี้เป็นภาคต่อของ “วิธีคิดแบบพุทธะ ภาค 2” ผู้สนใจอ่านให้ครบถ้วนเนื้อหาที่ปูพื้นไว้สามารถย้อนอ่านได้ทางลิงก์ https://www.dhammaliterary.org/สัมมาสังกัปปะ2/ อ่านบทความตอนนี้ได้ในโพสต์ตามข้อความด้านล่าง หรือเปิดอ่านในเว็บไซต์ https://www.dhammaliterary.org/สัมมาสังกัปปะ3/ #วิธีคิดแบบพุทธะ #ดำริเพื่ออิสระและถูกต้อง #สัมมาสังกัปปะ #ภาคสาม ครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ในเรือนของท่านสุทัตตะเศรษฐี หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า อนาถบิณฑิกเศรษฐี หมายถึง เศรษฐีผู้มีก้อนข้าวเพื่อคนยาก หรือที่พึ่งแก่ผู้ยากจน พระพุทธเจ้าทรงเรียกภิกษุผู้ติดตามและอยู่ในละแวกนั้น เพื่อทรงสอนผ่านเรื่องราวการฝึกตนของพระองค์ก่อนตรัสรู้ ความว่า เมื่อยังทรงเป็นเพียงพระโพธิสัตว์ หมายถึง ผู้ที่มีความสามารถในการตรัสรู้ และกำลังบำเพ็ญเพียรฝึกตนเพื่อตรัสรู้ ขณะนั้นท่านทรงมีความคิดว่า เราควรแยกความวิตก หรือความคิด ให้เป็นสองส่วน เพื่อจักได้พิจารณาอย่างชัดเจน ความคิดที่ทรงแยกออกเป็นสองส่วน ประกอบด้วย อกุศลวิตก คือความคิดที่เป็นโทษ ได้แก่ กามวิตก พยาบาทวิตก… Continue reading 8 หนทางอันประเสริฐที่มนุษย์ควรก้าวตาม “อริยมรรค” (ตอนสี่)
8 หนทางอันประเสริฐที่มนุษย์ควรก้าวตาม “อริยมรรค” (ตอนสาม)
8 หนทางอันประเสริฐที่มนุษย์ควรก้าวตาม “อริยมรรค” (ตอนที่สาม : วิธีคิดแบบพุทธะ ภาค 2) ช่วงเวลาเลวร้ายที่สุดของบุคคลหนึ่งอาจเป็นความ “ตกต่ำ” ที่มิอาจฟื้นคืนกลับมาได้ ยิ่งหวังให้สิ่งต่างๆ “หวนคืน” เป็นอย่างเก่าก็มีแต่ความ “ตีบตัน” อับจนหนทาง หากบุคคลนั้นเห็นว่าช่วงเวลาดังกล่าวคือโอกาสทองของการ “ตกผลึก” ยอมรับความไม่เที่ยงแท้แล้ว “หวนคิด” เพื่อเปลี่ยนแปลงตนเองจนมิต้องหวังย้อนหลังกลับสู่สิ่งที่ล่วงเลย แต่ตั้งใจ “ตั้งต้น” เริ่มต้นใหม่ ชีวิตก็ยังดำเนินได้อีกยาวไกล มิต้องอาลัยกับเส้นทางที่ผ่านมา คนเราไม่ได้อับจนหนทางเพราะทางมันตันเพียงอย่างเดียว แต่ยังเพราะการคิดที่ตีบตันและคับแคบ รถแล่นเข้าซอยตันก็ยังดั้งด้นหาหนทางกลับออกมาได้ แต่วิธีคิดที่ผิดพลาดยิ่งคิดยิ่งล้มเหลวและเป็นทุกข์ แต่ก็ยังจะคิดแบบเดิมทำแบบเดิมอยู่ต่อไป ชนกำแพงแล้วก็ยังชนเข้าไปอีกด้วยหวังว่าจะทะลุผ่านได้ในที่สุด ไม่ยอมหันเลี้ยวไม่ยอมถอย หรือไม่ยอมรับว่ามันมีกำแพงอยู่ตรงนั้น ชีวิตก็ตันเสียแล้ว หากเราเห็นว่าวิธีคิดที่ใช้คือตัวปัญหา…เพราะเอาแต่คิดแบบนี้จึงได้เป็นแบบนี้… แล้วย้อนกลับมาเปลี่ยนแปลงวิถีดำริหรือการคิดของตนเสียใหม่ เหมือนถอยรถหรือกลับลำหันออกมาเลือกทางใหม่ที่เลี้ยวผิด ชีวิตก็จะไม่ตีบตันอีกแล้ว ชีวิตเปรียบดั่งรถเรือ สารถีคนขับก็คือความคิด แทนที่จะเอาแต่โทษสิ่งนอกตัวหรือคนอื่นเป็นผู้ผิดอย่างเดียว เหมือนเฝ้าก่นด่ากำแพงกับซอยแคบ หรือด่าจีพีเอส เมื่อเลี้ยวเข้าทางตันทั้งที่มีป้ายบอกเตือน เราควรย้อนกลับมาดูว่าสารถีในใจทำหน้าที่อย่างไร เราทุกคนมีสิทธิ์คิดผิดได้เสมอ ต่อให้แม้มีปัญญาประสบการณ์เพียงใดก็ตาม เพียงแต่ว่าเมื่อคิดผิดแล้ว เลือกยอมรับความจริงแล้วถอยหลังเพื่อคิดใหม่ หรือดันทุรังชนกำแพงจนพังภินท์ไปทั้งตนและคนอื่น หากกำลังเป็นทุกข์ ชีวิตกำลังอับจนหนทาง… Continue reading 8 หนทางอันประเสริฐที่มนุษย์ควรก้าวตาม “อริยมรรค” (ตอนสาม)
8 หนทางอันประเสริฐที่มนุษย์ควรก้าวตาม “อริยมรรค” (ตอนสอง)
8 หนทางอันประเสริฐที่มนุษย์ควรก้าวตาม “อริยมรรค” (ตอนที่สอง : วิธีคิดแบบพุทธะ ภาค1) การก้าวไปสู่จุดหมายใดๆ ไม่ว่าทางโลกหรือทางธรรม มิอาจเลี่ยงการฝึกความคิดของตนเอง จะประสบความสำเร็จด้านค้าขายหรือทางธุรกิจ ต้องฝึกวิธีคิดอย่างนักบริหารหรือวาณิชที่ช่ำชอง จะประสบความสำเร็จในทางธรรมหรือทางจิตวิญญาณ ต้องฝึกวิธีคิดอย่างพระพุทธเจ้าและบรมศาสดาของโลกนี้ เพราะความคิดเป็นสิ่งที่ขับเคลื่อนกายจิต ไม่ใช่เพียงแค่ดึงดูดแต่ยังผลักดันให้เวียนว่ายในวังวนซึ่งเป็นภาพสะท้อนของวิธีคิดที่วกวนของเราเอง คิดอย่างไรย่อมเป็นอย่างนั้น เพราะวิถีชีวิตกำหนดเริ่มที่วิธีคิด จะผ่านพ้นความล้มเหลวไปสู่ความสำเร็จก็ต้องปรับวิธีคิดที่ล้มเหลวให้เป็นวิธีคิดที่สำเร็จ จะผ่านพ้นความทุกข์ระทมก็ต้องปรับวิธีคิดที่เคยพาทุกข์ทน เปลี่ยนเป็นวิธีคิดที่พ้นทุกข์สิ้นเชิง เราจะเรียนการคิดที่เหมาะสมมากเพียงพอที่จะทำให้ชีวิตถึงที่สุดแห่งการพัฒนาจากใคร หากไม่เรียนรู้จากผู้ที่ถึงที่สุดแห่งการพัฒนาตนเองแล้ว บทความนี้คือหลักธรรมที่สอนให้เป็นนายเหนือความคิด ดำริเพื่อหลุดพ้น ไตร่ตรองอย่างแยบยล ขจัดทุกข์ทนในชาตินี้ เรียนรู้จากวิธีคิดแบบพระพุทธเจ้า การฝึกคิดเพื่อการพ้นทุกข์ทำได้จริง เพียงก้าวตามรอย “อริยมรรค” ของพุทธะ แปดหนทางอันประเสริฐที่มนุษย์ควรก้าวตาม . อ่านบทความตอนก่อนหน้า หัวข้อ “สัมมาทิฏฐิ : ดวงตาแห่งพุทธะ” ทางลิงก์ดังนี้ youngawakening.org/write4life/สัมมาทิฏฐิ/ . . #วิธีคิดแบบพุทธะ #ดำริเพื่ออิสระและถูกต้อง #สัมมาสังกัปปะ #ภาคแรก . . หากชีวิตคือหนังสือวรรณกรรม… Continue reading 8 หนทางอันประเสริฐที่มนุษย์ควรก้าวตาม “อริยมรรค” (ตอนสอง)
8 หนทางอันประเสริฐที่มนุษย์ควรก้าวตาม “อริยมรรค” (ตอนแรก)
8 หนทางอันประเสริฐที่มนุษย์ควรก้าวตาม “อริยมรรค” (ตอนแรก : ดวงตาแห่งพุทธะ) หนทางสู่การตื่นรู้ มีอยู่ในชีวิตทุกๆ วัน หากน้อมนำมาพิจารณาและกระทำในทุกๆ ลมหายใจ ไม่ต้องรอปฏิบัติธรรมบรรลุผล เริ่มตั้งต้นได้ตั้งแต่ชาตินี้ . . #ดวงตาแห่งพุทธะ #มุมมองต่อชีวิตที่เป็นคุณและถูกต้อง #สัมมาทิฏฐิ . เรือจะแล่นไปในทางใด ถึงฝั่งเมื่อไร ด้วยดีหรือไม่ ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย แต่สิ่งแรกที่สำคัญคือ กัปตัน และ ต้นหนเรือ – ผู้ชี้ทาง ได้มองไปยังทิศทางใด ด้วยความชัดเจนมากแค่ไหน และเห็นอะไรจากการมองนั้น หากพวกเขามีมุมมองที่พลาด ดูผิดทิศ ไม่ระวังทางลม ไม่สังเกตอุปสรรค มองทางไปไม่กระจ่างชัดเจน อ่านแผนที่ไม่ถูก โอกาสที่จะไม่ถึงฝั่งหรือล่าช้าก็มีสูง เช่นเดียวกันกับการขับรถยนต์ หากมีฝ้าไอน้ำหรือหมอกหนาบดบังกระจกหน้า หรือไม่อาจมองกระจกข้าง กระจกหลัง ได้ชัดเจนทันการณ์ในเวลาอันควร หรือคลาดสายตาจากการมองทางไปสนใจสิ่งอื่น โอกาสเกิดอุบัติเหตุก็มีมากตาม มุมมองที่ถูกต้อง เป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกๆ ในการใช้ชีวิตให้ถูกต้อง เช่นเดียวกัน จึงเป็นเหตุให้ข้อแรกของ อริยมรรค… Continue reading 8 หนทางอันประเสริฐที่มนุษย์ควรก้าวตาม “อริยมรรค” (ตอนแรก)
10 ชวนคิด คอลัมน์ ไกด์โลกจิต
ในวาระที่คอลัมน์นี้ได้มาถึงตอนที่ 64 ในปี พ.ศ. 2564 เมื่อเดือนที่ผ่านมา โดยมีความยาวของเนื้อหารวมทั้งหมดมากกว่า 530 หน้าเอสี่แล้ว นับจากตอนแรกจนมาถึงวันนี้ก็เป็นเวลากว่าห้าปี จึงขอเก็บเกี่ยวบางวรรควลีจากบางบทความที่ผ่านมา นำมาปักหมุดไว้ในตอนพิเศษนี้ พร้อมทบทวนชีวิตของผมเองในฐานะผู้เขียน บอกเล่าแชร์ความคิดเห็นแบบเล่าสู่กันฟัง โดยไม่ได้ร่างเค้าโครงไว้ล่วงหน้า ผู้อ่าน/ผู้ติดตาม หากต้องการรู้เรื่องใดหรือต้องการให้เขียนเกี่ยวกับเรื่องใดเป็นพิเศษ โดยยังอยู่ในแนวทางของคอลัมน์นี้ สามารถเสนอผมมาได้ที่ช่องทางคอมเมนท์ หรือช่องทางติดต่ออื่นๆ . . I “แม้อ่านหนังสือคู่มือสร้างสุข สร้างความสำเร็จ และเทคนิคพิชิตอุปสรรค มากมายเพียงใด หากไร้การทำและผลักดันด้วยตนเองแล้ว กองตัวอักษรและความรู้ต่างๆ ก็จะถมทับเราอยู่กับความมืดมน” . ข้อความนี้มาจากตอนแรกของคอลัมน์ในชื่อ …เราไม่ได้อับแสง แต่เราหลงลืมตัวเอง… ตอนแรกของคอลัมน์นี้เปรียบเสมือนการตั้งธงไว้กลายๆ ว่า การเดินทางของอักษรในตอนต่อๆ เป็นการเดินกลับเข้าไปหาตัวเอง ตามหาแสงสว่างภายในที่หลงลืม แม้จะเป็นความรู้ ธรรมะ หรือคำแนะนำต่างๆ แต่สุดท้ายแล้ว… มันคือการกลับมาถามใจตนแล้วตอบตัวเองให้ได้ในคำถามสำคัญต่างๆ ของชีวิต …คนที่เป็น ไกด์โลกจิต จริงๆ แล้วไม่ใช่ผู้เขียน แต่เป็นตัวเราเองและการฝึกฝนตนด้วยตัวเอง… การขาดความรู้สึกมีคุณค่ากับความเคยชินในการพึ่งพาสิ่งนอกตัว มันทำให้เราหลงลืมแสงสว่างในตัวเอง ลืมความสำคัญของความพากเพียรและการทำสิ่งที่มีค่าให้กับตนอย่างต่อเนื่อง… Continue reading 10 ชวนคิด คอลัมน์ ไกด์โลกจิต
6 อ. ที่แอบทำให้จิต…โง่ (ตอนจบ)
6 อ. ที่แอบทำให้จิต…โง่ (ตอนจบ) จิตฉลาด มีความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น และผู้เบิกบาน เรียกว่า พุทธะ จิตนี้ไม่ใช่ตัวเราหรือของใคร แต่เป็นภาวะหนึ่งที่เกิดได้แก่ทุกผู้ทุกนาม จิตเดิมแท้มีความเป็นพุทธะอยู่เช่นนั้นทุกๆ คน แต่เพราะความโง่ที่ครอบงำจิตใจด้วยกิเลสน้อยใหญ่ แปรเปลี่ยนให้กลายเป็นผู้ไม่รู้ หลับใหล และทุกข์ทน เรารู้ตัวได้ไม่ยากว่าตอนนี้กำลังมีจิตแบบใด หากรู้สึกหนักหนา วุ่นวาย หรือยึดติดใน อ. อัตตา นั่นก็มีจิตโง่ แทนที่จะเบาสบาย สงบ และวางใจใน อ. อนัตตา คือมีจิตที่ฉลาด บทความตอนจบของเนื้อหาชุดนี้ ขอบอกเล่าอีก 3 อ. ที่เป็นกิเลสทำให้จิตของเราหมองเศร้าและขลาดเขลา แต่ละข้อมีความเชื่อมโยงกันตามลำดับที่บทความหยิบยกขึ้นมา ขอให้ลองสังเกตดู นอกจากนี้ขอให้อ่านเพื่อเรียนรู้ผลกระทบของแต่ละ อ. ต่อชีวิตของเราในปัจจุบันและอดีตที่ผ่านมา เพื่อขัดเกลาให้จิต เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น และผู้เบิกบานอย่างแท้จริง อ่านตอนแรกได้ที่เว็บไซต์ https://www.dhammaliterary.org/6อ-ที่แอบทำให้จิตโง่1/ . . อ.สี่ อคติ เป็นคำที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี หมายถึงความลำเอียง… Continue reading 6 อ. ที่แอบทำให้จิต…โง่ (ตอนจบ)
6 อ. ที่แอบทำให้จิต…โง่ (ตอนแรก)
หลังจากเขียนบทความชุด จิตโง่ vs จิตฉลาด ได้สามตอน ก็ถึงเวลาเฉลยว่า จิตโง่เกิดขึ้นมาได้อย่างไร อะไรคือจิตโง่ อะไรคือจิตฉลาด เราจะเข้าใจคำตอบได้ก็ด้วยการตระหนักว่า อ. อะไรบ้างซึ่งส่งผลให้จิต…โง่เขลาลง ใครยังไม่ได้อ่านสามตอนก่อนหน้า เปิดอ่านที่เว็บไซต์ตามลิงก์ดังนี้ หรือจะข้ามไปก่อน ค่อยย้อนมาก็ย่อมได้ จิตโง่ Vs จิตฉลาด (ตอนแรก) https://www.dhammaliterary.org/จิตโง่-vs-จิตฉลาด-ตอนแรก/ จิตโง่ Vs จิตฉลาด (ตอนสอง) https://www.dhammaliterary.org/จิตโง่-vs-จิตฉลาด-ตอนสอง/ จิตโง่ VS จิตฉลาด (ตอนสาม) https://www.dhammaliterary.org/จิตโง่-vs-จิตฉลาด-ตอนสาม/ . . อ.แรก อวิชชา สิ่งที่ทำให้เกิด จิตโง่ ก็คือความ โง่ นั่นเอง เป็นคำตอบแรกแบบกำปั้นทุบดินดัง ตุ้บ แต่ความโง่คืออะไร ความโง่ก็คือความไม่รู้ นี่ก็เป็นคำอธิบายตรงๆ แบบกำปั้นทุบดินอีกหนดัง ตั้บ ! อวิชชา คือความโง่ ความไม่รู้ ซึ่งเกิดขึ้นจากการขาดสติปัญญา …ไม่รู้…ในที่นี้หมายถึงไม่รู้ความเป็นจริงอย่างที่เป็นจริง ความโง่นี้… Continue reading 6 อ. ที่แอบทำให้จิต…โง่ (ตอนแรก)
จิตโง่ VS จิตฉลาด ตอนที่สาม
7 จิตที่โง่ โทษคนอื่นและสิ่งต่างๆ ทำให้ทุกข์ จิตที่ฉลาด ยอมรับว่าชีวิตคือความทุกข์ . คำสอนสำคัญหนึ่งในพระพุทธศาสนา เป็นสิ่งที่ชาวพุทธเองหลายคนพยายามปฏิเสธ หรือเรียกว่าหนีก็ว่าได้ แม้จะเป็นคำสอนที่เราท่องกันบ่อยๆ ในบทสวดมนต์ก็ตาม คำสอนที่ว่านั้นคือ แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์ | แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์ | แม้ความตายก็เป็นทุกข์ | แม้ความโศกความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจก็เป็นทุกข์ | ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์ | ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์ | มีความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้นนั่นก็เป็นทุกข์… กล่าวโดยย่นย่อที่สุด ชีวิตนั่นแหละคือความทุกข์ จิตที่ยังโง่เขลา คือเบาปัญญาในการยอมรับความจริงดังกล่าว ก็จะพยายามหนีความจริงด้วยการหาแพะรับบาป โทษคนนั้นโทษสิ่งนี้เป็นตัวบั่นทอนความสุขที่พึงมี เป็นตัวก่อทุกข์แก่กายและใจตนเอง เราสังเกตตัวอย่างในเรื่องนี้ได้ไม่ยาก เป็นตั้งแต่ครั้งโบราณกาล เมื่อฝนแล้งก็ดี เมื่อเกิดโรคระบาด หรือความทุกข์ยากเกิดขึ้น มนุษย์หลายส่วนก็จะหาที่กล่าวโทษ มิว่าจะเป็นปีศาจ แม่มด เทวดา ฯ นำมาสู่การขับไล่ การบูชายัญ การขว้างปาก้อนหิน การเผาทั้งเป็น ฯ เฉกเช่นพิธีกรรม และการลงโทษต่างๆ… Continue reading จิตโง่ VS จิตฉลาด ตอนที่สาม