1 ยอมรับตัวเอง แต่ไม่จมปลัก : เราจะแก้ปัญหาใดได้ เราต้องมองให้เห็นปัญหาและสาเหตุของปัญหานั้นก่อน ก้าวแรกที่สำคัญของการแก้ไขพฤติกรรมและสิ่งลบในตัวเอง จึงเป็นการยอมรับสิ่งนั้นอย่างเต็มที่และเต็มใจ เริ่มจากการพิจารณาถึงผลเสียที่เคยเกิดขึ้นต่อตนและคนอื่น ใคร่ครวญด้วยหัวใจ ยอมรับความผิดพลาดที่ผ่านมา รักตัวเองให้มากพอที่จะพัฒนาตนและแก้ไขข้อบกพร่องที่ทำให้เราและคนรอบข้างเป็นทุกข์ . ความกล้าหาญที่แท้จริงอยู่ในหัวใจเราทุกคน เมื่อยืดอกเผชิญหน้าปัญหาที่เกิดขึ้นจากตน ไม่พยายามหลีกเลี่ยง เบี่ยงเบน หรือผลักไสโทษคนอื่น เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นจากตัวเราเอง หากแก้ไขอย่างขาดการยอมรับแล้ว ย่อมแก้ไม่ถูกจุด เพราะอาจพยายามโทษคนอื่นและสิ่งนอกตัว แต่ละเลยพฤติกรรมเดิมๆ ซึ่งพาให้เกิดปัญหาแบบที่เคยเกิดขึ้น . การมองโลกแง่ดีและคิดบวกต่อตัวเองเป็นสิ่งสำคัญ แต่หากขาดการยอมรับด้านลบแล้ว เท่ากับยังเป็นการหลอกตัวเองและกลบเกลื่อนปัญหาไว้ ยอมรับตัวเอง หมายถึงเข้าใจตัวเองรอบด้าน ตามความป็นจริง ทั้งดีร้ายและความเคยชิน ส่งผลดีและเสียอย่างไร ไม่เฉพาะด้านที่อยากมอง . การยอมรับคือแลเห็นแต่ไม่ตอกย้ำ ยอมรับแต่ไม่ซ้ำเติมตัวเองจนเราไม่ยอมเปลี่ยนแปลง เพราะการยอมรับไม่ใช่การจมปลัก เพียงต้อง “เห็นโทษ” จากสิ่งที่ทำอย่างเข้าใจ แต่ไม่ใช่ “เฝ้าโทษ” ตัวเอง แม้รู้ว่าเรามีเสียอย่างไร มีด้านลบแบบไหน แต่หากเราเอาแต่ย้ำคิดว่า เพราะฉันเป็นคนเช่นนี้ เช่นนี้ จะยิ่งมีแต่ส่งเสริมให้เรายึดติดด้านลบนั้นเป็นตัวตน เป็นของตน ทั้งที่เรามีหลากหลายด้านในตัวเอง . ยอมรับคือแลเห็นและน้อมนำมาพิจารณาปรับปรุง เพื่อระวังไม่ให้กาย… Continue reading 7 วิธีดูแลด้านลบในตัวเอง (ตอนแรก)
Category: ไกด์โลกจิต
๓ ประโยชน์ ฝึก “กราบ” กำราบใจ
๓ ประโยชน์ ฝึก “กราบ” กำราบใจ บทความนี้ขอนำเสนอความหมายและคุณค่าของจริยาหนึ่งในวัฒนธรรมไทยและสังคมพุทธศาสนา คือการ “กราบ” เราไม่เพียงกราบเพื่อเคารพสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อยำเกรงหรือสร้างอภินิหาร เพราะจริยาและมารยาทของสังคมไทยมักมีธรรมะอยู่เบื้องหลัง ไม่ใช่เป็นกรอบธรรมเนียม “บังคับ” แต่เป็นหลัก “กำกับ” กายใจให้อยู่บนทางของความดี ความงาม และความจริง “กำราบ” ใจต้านทานกระแสของกิเลสและสิ่งมัวหมองทั้งหลาย . เรากล่าวได้ว่าการดำรงอยู่ใน จริยธรรม ทั้งการประพฤติปฏิบัติทั้งหลาย ด้วยกาย วาจา และใจ ซึ่งมีหลักมารยาทและการประพฤติที่เหมาะสม เป็นดั่งการปฏิบัติธรรมระหว่างการใช้ชีวิต เพื่อสกัดกั้นกายใจมิให้มีโอกาสก่อทุกข์แก่ตนเองและผู้อื่นในสังคม เป็นศีลครองตน และเป็นการภาวนาเพื่อขัดเกลาใจจากกิเลส . ทั้งนี้ในบทความได้ยกประโยชน์การ “กราบ” ในฐานะการฝึกจิตใจในชีวิตประจำวัน เป็นสามข้อ ดังนี้ . . ๑ ลดความทุกข์จากการถือมั่นอัตตาตน : การกราบนั้นเป็นมากกว่าการไหว้ เพราะเราไม่เพียงแสดงความเคารพด้วยค้อมศีรษะลงเท่านั้น แต่ยังน้อมทั้งตัวลงกับพื้นที่ต่ำกว่าตนและคล้อยต่ำลงกว่าอีกฝ่าย เป็นการค้อมกายเพื่อฝึกน้อมใจค้อมลงต่ำ ดัดจิตผ่านจริยวัตรเป็นอุบาย . จิตคนนั้นมีแนวโน้มจะใฝ่มองสิ่งสูงกว่าตนและใฝ่หาสิ่งวิเศษอันเลอค่า แล้วเป็นทุกข์เพราะลืมความเป็นธรรมชาติธรรมดาอันเป็นจริง ที่อยู่กับดินและเรียบง่าย ต้องเที่ยวมองขวนขวายไขว่คว้ามายาทั้งหลายมา จนเดือดร้อนเป็นทุกข์เพราะมิอาจรู้สึกพอใจในชีวิตอย่างแท้จริง… Continue reading ๓ ประโยชน์ ฝึก “กราบ” กำราบใจ
๔ สิ่งที่ความป่วยกายสอนหัวใจ (ตอนสอง)
๔ สิ่งที่ความป่วยกายสอนหัวใจ (ตอนสอง) ความจริงที่เจ็บปวด คือสิ่งที่เราควรรับฟังให้มากที่สุด ยิ่งกว่าความจริงอันหอมหวาน เวลาหัวใจเราซับซ้อนเกินไปจนก่อทุกข์แก่ตนเองหรือใครๆ ร่างกายจะยังคงตรงไปตรงมา เฝ้าส่งสัญญาณเตือนใจ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เหมือนมิตรที่ซื่อสัตย์และซื่อตรง คอยบอกคำจริงที่ไม่หวาน แม้หัวใจไม่อยากรับฟัง รวนเรเพราะความอยากและอารมณ์นานา . บทความนี้ยังคงต่อเนื่องจากตอนที่แล้ว เพิ่มเติมอีกสองหัวข้อ สำหรับบทเรียนหรือสิ่งสำคัญที่ความเจ็บไข้ได้ป่วยทางร่างกายสอนแก่หัวใจเรา . ๓ ไม่มีความเป็นตัวตนให้ยึดถือไว้ : แม้ใจเราหวังให้สิ่งต่างๆ คงอยู่ตราบนานเท่านาน หรือคิดไปเองว่าสิ่งทั้งหลายที่รักและหวงแหนจะอยู่กับเราเช่นนั้นชั่วนิรันดร์ แต่ย้อนมามองร่างกายของตัวเอง เราก็มิอาจทำให้เป็นเช่นนั้นได้เลย โรคและความป่วยไข้มักมาเยือนในเวลาที่ไม่อยากให้เกิด อวัยวะ ผิวหนัง และกล้ามเนื้อย่อมต้องหย่อนยานและเสื่อมลง แม้เราสะกดจิตตนเองมากเท่าใดก็ตาม หรือพยายามรักษาความงามและเฝ้าดูแลสิ่งที่ยึดถือไว้อย่างไร ร่างกายและแม้ตัวตนก็ต้องแปรเปลี่ยน . ด้วยความกลัวในหัวใจ คนเรามักพยายามยึดให้ทุกสิ่งคงอยู่ ทำทุกอย่างแม้อย่างน้อยแค่ได้รู้ว่าสิ่งที่รักและหวงแหนนั้นจะยังคงเป็นเช่นที่อยากให้เป็น แต่ร่างกายก็พยายามสอนธรรมอยู่อย่างนั้นให้เรารับฟัง ไม่มีสิ่งใดคงที่และเที่ยงแท้ แม้แต่หัวใจเราเองก็ตาม แต่คนเรามักไม่ค่อยได้ฟัง พยายามใช้ชีวิตและร่างกายอย่างเกินธรรมชาติเพื่อคว้ามาซึ่งสิ่งที่อยากได้และอยากเป็น จนกระทั่งวันหนึ่งความป่วยเท่าทวี เตือนเราหนัก สิ่งที่คว้ามาก็ต้องปล่อยลงแม้ใจไม่อยากก็ตาม . คนสวนไม่อาจห้ามต้นไม้มิให้ชราและตายจาก มิอาจห้ามออกผลหรือทิ้งดอกใบ แต่ทำได้ดีที่สุดที่จะบำรุงรักษาตามปัจจัย แล้วชื่นชมคุณค่าทั้งในยามงอกงามและโรยรา . คนสวนเรียนรู้ธรรมจากต้นไม้ที่ตัวเองปลูก… Continue reading ๔ สิ่งที่ความป่วยกายสอนหัวใจ (ตอนสอง)
๔ สิ่งที่ความป่วยกายสอนหัวใจ (ตอนแรก)
๔ สิ่งที่ความป่วยกายสอนหัวใจ (ตอนแรก) เวลาที่เราเจ็บป่วย นั่นเป็นโอกาสที่ดีที่ตนจะได้เรียนรู้ธรรมะและความจริงจากร่างกายเรานี้เอง ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตล้วนมีความหมาย ดังนั้นแล้วโรคและความป่วยไข้ต่างเป็นแขกมาเยือนแก่เรา เพื่อมอบความตระหนักรู้ที่ล้ำค่าแก่ชีวิต ชนิดที่เราเองก็อาจหลงลืมหรือละเลยไปในช่วงเวลาที่ผ่านมา . หากเราเข้าใจและฝึกใจน้อมรับสารเหล่านี้ การมีชีวิตอย่างสุขสงบและอิสระ ท่ามกลางความไม่เที่ยงแท้ต่างๆ ของโลก ก็ไม่ไกลเกินเอื้อม การป่วยไข้ในแต่ละครั้งก็จะมิใช่เพียงสิ่งที่เราพยายามหนีให้พ้น แต่เป็นการเข้าห้องสอบของชีวิต เพื่อผลปลายทางสุดท้ายคือการหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง . . ๑ คุณค่าชีวิตยังมีอยู่ตรงนี้ ไม่ใช่เพียงสิ่งที่ใฝ่หา : เราหลายคนพยายามทำงานวันแล้ววันเล่าเพื่อคุณค่าของชีวิตที่เป้าหมาย เช่น ความสำเร็จ การยอมรับจากคนรอบข้าง ทรัพย์สินเงินทอง สถานะทางสังคม การเป็นผู้ให้ หรือได้ค้นพบศักยภาพในตนเอง เราอาจมีความสุขเมื่อไปถึงเป้าหมาย หรือสุขที่ได้สัมผัสใกล้เป้าหมายมากขึ้นตามลำดับ แต่ท้ายที่สุดความทุกข์ในร่างกายก็จะฉุดชวนเรากลับมาทบทวน ไม่วันใดก็วันหนึ่งว่า ชีวิตสำคัญน้อยกว่าความสำเร็จหรือสิ่งที่หวังนั้นใช่หรือไม่ หากเราไม่มีชีวิต เป้าหมายหรือสิ่งที่หวังนั้นยังมีประโยชน์อยู่หรือไม่ . ความสุขและความพอใจที่ฉวยคว้ามาได้ จะเหลืออยู่จีรังเพียงใด เมื่อชีวิตกำลังหมดลมหายใจหรือร่างกายไม่อาจมีสมบูรณ์ครบเหมือนเดิม . เมื่อใดที่ตาชั่งคุณค่าของชีวิตเอนเอียงไปทางใดมากเกินไป เมื่อนั้นย่อมเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์และปัญหาทางสุขภาพกายกับใจติดตามมา . สำหรับบางคนแล้วคุณค่าชีวิตอยู่ที่การดูแลใส่ใจผู้อื่น จนวันหนึ่งไม่แก้ไขปัญหาของชีวิตตนเองได้เลย ขณะเที่ยวแก้ปัญหาให้ใครอื่น หรือแบกรับความคาดหวังจากใครๆ จนหัวใจอ่อนล้าและหลงลืมว่า… Continue reading ๔ สิ่งที่ความป่วยกายสอนหัวใจ (ตอนแรก)
คุณค่าแท้การให้อภัย
คุณค่าแท้การให้ “อภัย” การให้อภัยไม่ใช่การให้คนอื่น แต่เป็นการให้แก่ตัวเอง : การให้อภัยนั้นเรามักเข้าใจว่าเป็นการให้กับผู้อื่นที่ทำร้ายหรือกระทำสิ่งผิดต่อเราและสิ่งที่เราเกี่ยวข้อง ทว่าจริงๆ แล้วนั้นการให้อภัยเป็นการย้อนกลับมาให้ตัวเอง มอบทานที่ล้ำค่าให้แก่จิตใจนี้ . เมื่อใครอื่นทำให้เราเป็นทุกข์ เราย่อมเสียใจและเจ็บปวด อยากให้เขาชดใช้ หวังให้เขาสาสมแก่สิ่งที่กระทำ เมื่อนั้นแล้วเรากำลังทับถมตนเองด้วยความโกรธ ความเกลียด และกิเลสทั้งหลาย เราคิดจงเกลียดจงชังเช่นนั้น เรารู้สึกพยาบาทเช่นนี้ เพื่อปกป้องหัวใจตัวเองจากความเจ็บปวด แต่เราเองกำลังทำร้ายตนด้วยสิ่งลบร้ายในหัวใจ ซึ่งมีอยู่ในหัวใจของอีกฝ่ายด้วยเช่นกัน . การให้อภัยแท้จริงแล้วคือการให้ตัวเองเป็นอิสระ จากความโกรธแค้น ความผูกใจเจ็บ และความเจ็บปวดที่เราทับถมตนเอง . เพราะแม้อีกฝ่ายจะได้รับผลสาสมดั่งใจเราอยากให้เป็น ความเจ็บปวดที่มีก็ใช่ว่าจะหายไปจากหัวใจ . เพราะหัวใจเรานี้จะเปรียบก็เหมือนภาชนะ ทุกสิ่งที่เราคิด พูด และทำโดยขาดสติ ย่อมเหมือนเก็บดองนองเนื่องไว้ภายในหัวใจเรานั้น . ความเจ็บปวดอันเกิดจากบุคคลอื่นกระทำต่อเรา มิได้เป็นนรกอันเลวร้าย มากไปกว่าการขังหัวใจตัวเองไว้ในความชิงชังและความเศร้าโศก . เราอาจรู้สึกว่าการบอกให้อภัยนั้นมันง่าย แต่ใจที่จะให้อภัยมันยาก ความรู้สึกที่อีกฝ่ายกระทำต่อเรามิได้หายไปง่ายดาย นั่นเพราะการให้อภัยมิใช่คำพูด แต่เป็นการทำที่หัวใจเรา ทำใจของเรา . การให้อภัยคือการปลดปล่อยใจจากความคิด ความรู้สึก และการกระทำของความโกรธเกลียดและเศร้าหมอง เพื่อให้หัวใจเราไม่ทิ่มแทงหัวใจตนเองซ้ำแล้วซ้ำเล่า… Continue reading คุณค่าแท้การให้อภัย
2 ละ 1 เริ่ม เพื่อปีใหม่ของชีวิต
2 “ละ” 1 “เริ่ม” เพื่อปีใหม่ของชีวิต 1 ละเลิกการสร้างเงื่อนไขไม่ให้ตัวเองทำสิ่งที่ควร : กำแพงที่ขวางกั้นตัวเรามากที่สุดก็คือความเชื่อที่เราสร้างขึ้นให้ตัวเอง ปีใหม่อาจมิได้แตกต่างจากปีเดิมเท่าไรนัก หากเงื่อนไขของหัวใจทั้งหลายยังผูกพันใจเราอยู่เช่นปีเก่า . บ่อยครั้งที่เราอาจย้ำคิดแก่ตัวเองว่า “ถ้า…ฉันก็จะสามารถ…” หรือ “เพราะฉันไม่ได้… ฉันจึงไม่สามารถ…” นี่คือหนึ่งในเงื่อนไขที่เราผูกพันตัวเองไว้ เพราะเมื่อใดที่ใจเราคิดเช่นนี้ จิตและสมองก็จะไม่ได้โฟกัสว่า แท้จริงแล้วเราสามารถทำอะไรได้ แต่มัวใส่ใจว่า “ถ้า…” หรือไม่ . ปีเก่าล่วงเลยไปกี่ปีแล้วที่เราย้ำซ้ำอยู่เหมือนเดิม เพราะสมองและจิตตกร่องเงื่อนไขที่เราป้อนให้ตัวเองแบบนี้ และหวังกับตนเองว่า “ปีหน้า ฉันจะ…” แล้วก็ “จะ” อยู่อย่างนั้น วันแล้ววันเล่า ปีแล้วปีเล่า . ปีใหม่ของชีวิตไม่ได้เริ่มต้นเพราะเปลี่ยนปฏิทิน แต่เริ่มต้นที่การก้าวข้ามของหัวใจ หลายครั้งเรารู้ตัวว่าควรทำอะไร แต่ใจลังเลที่จะทำ เพราะ “มันจะดีกว่าถ้า…” หรือ “ฉันมันก็แค่…” สมองและจิตก็เลยจมอยู่กับกำแพงของคำว่า ถ้า และ แค่ ที่เราสร้างขึ้น จนมองไม่เห็นหนทางที่มีอยู่แล้วในตอนนี้… Continue reading 2 ละ 1 เริ่ม เพื่อปีใหม่ของชีวิต
๑๐ บางข้อคิดคอลัมน์ “ไกด์โลกจิต” ประจำปี ๒๕๖๐
๑๐ บางข้อคิดคอลัมน์ “ไกด์โลกจิต” ประจำปี ๒๕๖๐ ๑ “ ปีใหม่จึงจะเป็นเพียงแค่เทศกาลให้เราปลดเปลื้องภาระชั่วคราว เพียงเพื่อกลับมาแบกรับและเหนื่อยหนักอย่างเก่า ปีใหม่จึงจะเป็นเพียงช่วงเวลาสั้นๆ ให้เราสุขสันต์ ก่อนกลับมาทุกข์เพราะเรื่องเดิมมิได้แปรเปลี่ยน เพราะปีใหม่ของชีวิตมิใช่เทศกาล หากแต่เป็นการยอมวางและเริ่มต้นใหม่ . “ การเริ่มต้นใหม่อาจทำให้เรากลัวและเสียดาย ดุจที่ผมรู้สึกยามเห็นต้นกุหลาบที่ผูกพันถูกตัด ยามเราต้องวางสิ่งที่เคยเชื่อมั่นหรือเป็นคำตอบแก่เราลง มันย่อมทำให้เรารู้สึกไม่เชื่อใจ และบางคนอาจสับสน แต่ซ้ำร้ายบางคนมิอาจยอมรับถึงกับเสียศูนย์ชีวิตเลยก็มี หากเราไม่กล้าก้าวออกมาแล้ว ชีวิตย่อมกลับมาอยู่ในร่องวงจรเก่าหรือทนทุกข์เดิมซ้ำมิอาจหาทางแก้ไข วันหนึ่งสิ่งที่เราเชื่อว่าใช่หรือแน่นอนได้ผิดเพี้ยนไป หัวใจย่อมเสียหลักและตกทุกข์ ความเชื่อมั่นในตัวเราหรือชีวิตตนมิได้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เคยยึดถือเท่านั้น คุณค่าแท้ของต้นไม้มิได้อยู่ที่ใบหรือดอก ต้นไม้รู้เช่นนั้นจึงกล้าปลิดทิ้งลงเพื่อเปิดโอกาสให้ชีวิตมีหนทางไป หาไม่แล้วเราก็จะปิดโอกาสเติบโตของตนเอง ” . จากคอลัมน์ ไกด์โลกจิต ตอน “มีปีใหม่ในทุกๆ วัน” . . ๒ “ หัวใจที่หม่นหมองเป็นเพียงสิ่งชั่วคราว ความเสียใจไม่ใช่สิ่งที่แน่นอน อารมณ์เหมือนเมฆที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลง : ท้องฟ้าเป็นเหมือนภาพยนต์เรื่องยาวที่ฉายเรื่องราวของการเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกคืนวัน ตอนนี้เราเห็นเมฆเป็นแบบนั้น ท้องฟ้าสดใสหรือหมองหม่นแบบนี้ อีกชั่วโมงหนึ่งหรือวันต่อไป เมฆและฟ้าก็แปรเปลี่ยนไปแล้ว . “ หัวใจคนก็เป็นดั่งท้องฟ้านี่เอง… Continue reading ๑๐ บางข้อคิดคอลัมน์ “ไกด์โลกจิต” ประจำปี ๒๕๖๐
๕ ข้อคิดพัฒนาจิตและงานศิลป์ จากการตีมีดเหล็ก
๕ ข้อคิดพัฒนาจิตและงานศิลป์ จากการตีมีดเหล็ก (แก่ครูและผู้ไม่หยุดเรียนรู้) หากจะเป็นมีดที่แกร่งกล้า สามารถตัดฝ่าสิ่งมัวหมองใจทั้งหลาย หรือหากหวังความสำเร็จของการฝึกพลังใจ จงอย่ากลัวไฟหลอมและค้อนทุบตี หันหน้าเข้าหาความทุกข์และไม้เรียวจากจักรวาล กล่อมเกลาหัวใจหยาบกร้าน ทลายกำแพงอัตตา และก้าวข้ามทิฐิตนเอง . บทความตอนนี้ได้เรียบเรียงจากการตีมีดเหล็กอรัญญิก ซึ่งมีขั้นตอนโดยสรุปประมาณ ๑๐ ขั้นตอน ผู้เขียนสรุปรวบยอดขั้นตอนและขอนำมาเปรียบเทียบกับข้อคิดการพัฒนาจิต เป็นห้าข้อดังต่อไปนี้ หากผู้อ่านเห็นข้อคิดข้อที่น่าสนใจจากเหล็กและการตีเหล็ก สามารถแลกเปลี่ยนเพิ่มเติมได้ตามช่องทางที่เหมาะสม . . ๑ “หลาบ” “ซ้ำ” ให้ หลาบจำ : ขั้นตอนแรกของการตีมีดนั้นคือการนำเหล็กที่ตัดตามขนาด เข้าเตาเผาไฟจนแดง อาศัยแรงช่างกว่าสามคนใช้พะเนินตีจนได้ “หุ่น” หรือเรียกแบบงานเขียนว่า ร่างแรก ขั้นตอนนี้ชาวบ้านเรียกว่าการ “หลาบ” เหล็ก ซึ่งการพัฒนาจิตในช่วงเริ่มต้นเราต้องอาศัยเพื่อนที่เหมาะสม ร่วมปฏิบัติเป็นกลุ่ม ผ่านการเรียนรู้แบบมิ่งมิตร สร้างสัมพันธ์เป็นกัลยาณมิตร ประคองและบ่มฉันทะรักการเรียนรู้ ลงแรงช่วยกันโตดังการตีมีดในช่วงแรกต้องอาศัยช่างถึงสามนาย ร่วมหลอมแรงให้เนื้อแนบแน่น . เมื่อถึงขั้นตอนที่สอง เรียกว่า “ซ้ำ” คือการนำเหล็กที่เพิ่งตี เข้าเตาเผาไฟอีกคราว… Continue reading ๕ ข้อคิดพัฒนาจิตและงานศิลป์ จากการตีมีดเหล็ก
5 ข้อคิดพัฒนาชีวิตและจิตใจจาก พ่อหลวง ร.9 พร้อมนัยยะสำคัญ (ตอนสอง)
5 ข้อคิดพัฒนาชีวิตและจิตใจจาก พ่อหลวง ร.9 พร้อมนัยยะสำคัญ (ตอนที่สอง) . ในช่วงเวลาแห่งการสูญเสีย และห้วงเวลามืดมนของชีวิต คำกล่าวของผู้รู้และบุคคลที่มีหัวใจอันประเสริฐ ย่อมเป็นดั่งตะเกียงปัญญาส่องทางแก่เรา ณ เวลาก็ตามที่จิตเราน้อมระลึกนึกถึง . เนื่องในวาระสวรรคตของในหลวง รัชกาลที่ 9 เราจึงควรน้อมนำพระราชดำรัสจากพระอัจฉริยภาพของพระองค์ เป็นเพื่อให้คำสอนที่ดีจากพ่อมิเพียงแนบเนาหัวใจลูก หากแต่ดำรงอยู่ในชีวิต เป็นที่พึ่งด้วยปัญญาและศรัทธา พ่อจึงอยู่กับเราเสมอ . บทความนี้เป็นตอนที่สอง ในหัวข้อ 5 ข้อคิดพัฒนาชีวิตและจิตใจจาก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พร้อมการวิเคราะห์ประเด็นสำคัญและขยายความ เพื่อให้ผู้อ่านได้ทบทวนและน้อมนำพระราชกระแสมาปรับใช้ในชีวิตของตนเอง ผู้อ่านท่านใดมีข้อคิดแลกเปลี่ยนเพิ่มเติมในเนื้อหาเดียวกัน สามารถแลกเปลี่ยนได้ตามช่องทางที่สะดวกและเหมาะสม . . 3 : “ การขบคิดวินิจฉัยปัญหา จึงต้องใช้สติปัญญา คือคิดด้วยสติรู้ตัวอยู่เสมอ เพื่อหยุดยั้งและป้องกันความประมาทผิดพลาด และอคติต่างๆมิให้เกิดขึ้นช่วยให้การใช้ปัญญาพิจารณาปัญหาต่างๆ เป็นไปอย่างเที่ยงตรง ทำให้เห็นเหตุเห็นผลที่เกี่ยวเนื่องกัน เป็นกระบวนการได้กระจ่างชัด ทุกขั้นตอน ” * . ประเด็นสำคัญที่ท่านทรงชี้แนะแก่เราคือ ปัญญาอย่างเดียวนั้นไม่พอ… Continue reading 5 ข้อคิดพัฒนาชีวิตและจิตใจจาก พ่อหลวง ร.9 พร้อมนัยยะสำคัญ (ตอนสอง)
5 ข้อคิดพัฒนาชีวิตและจิตใจจาก พ่อหลวง ร.9 พร้อมนัยยะสำคัญ (ตอนแรก)
5 ข้อคิดพัฒนาชีวิตและจิตใจจาก พ่อหลวง ร.9 พร้อมนัยยะสำคัญ . (ตอนแรก) . เมื่อครั้งผู้เขียน ค้นคว้าและรวบรวมข้อคิดจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นไฟล์สมุดบันทึก “ลิขิตตามรอยก้าว พ่อหลวง ร.๙” เพื่อแจกฟรีแก่บุคคลทั่วไป ผู้เขียนพบว่ามีข้อคิดและบทเรียนที่ดีในด้านการพัฒนาจิตและชีวิตระดับบุคคลอยู่เป็นจำนวนมาก ที่ถูกกล่าวถึงน้อยจากประชาชนคนไทย และยิ่งน้อยไปอีกในการถูกส่งเสริมสู่การปฏิบัติจริงจากภาครัฐและความเข้าใจของพสกนิกร จึงควรค่าอย่างยิ่งที่เราจะกล่าวถึงและน้อมนำคำสอนที่ถูกละเลยและหลงลืมเหล่านี้มาใคร่ครวญและปฏิบัติในชีวิตของตนเอง . ในหลวง รัชกาลที่ ๙ และพระบรมศาสดาทั้งหลายต่างสอนเราถึงความพอเพียงและความพอใจในสิ่งที่ตนมี แต่ก็ทรงตรัสสอนเพื่อเติมควบคู่อีกว่า การจะมีชีวิตที่มีความสุขและบรรลุความหมายของชีวิต ต้องอาศัยวิริยะและฉันทะพัฒนาตนเองอย่างไม่หยุดหย่อนและไม่ย่อท้อ ดั่งพระพุทธเจ้าตรัสว่า ผู้มีความเพียรจึงหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งหลายได้ . ทั้งการพอใจในตนเองและการมีความเพียรเป็นสองขั้วหยินหยางที่ต้องมีควบคู่กัน ขาดด้านใดไปแล้วย่อมเป็นผลเสีย หากเรามีความมุ่งมั่นพัฒนาตนเอง แต่ขาดการรักตนเองตามที่เป็นจริง เราย่อมรู้สึกขัดแย้งตนเองไม่รู้สิ้นสุดแม้เข้าอบรมมากมายก็ไม่อาจรู้สึกเต็ม หากเราพึงพอใจตนเอง แต่ขาดการพิจารณาสิ่งลบที่ควรแก้ไข เราย่อมกลายเป็นคนหลงตัวเองและมีส่วนสร้างปัญหาเดิมๆ ให้เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า . บทความต่อไปนี้จึงเป็นการรวบรวมบางข้อคิดคำสอนจาก ในหลวง รัชกาลที่ ๙ ในด้านการดูแลจิตใจ การพัฒนาชีวิต และการต่อสู้กับปัญหา พร้อมการวิเคราะห์นัยยะสำคัญลึกซึ้งที่แอบซ่อน ผู้อ่านสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมในประเด็นเดียวกันตามช่องทางที่สะดวกและความเหมาะสม . . 1 :… Continue reading 5 ข้อคิดพัฒนาชีวิตและจิตใจจาก พ่อหลวง ร.9 พร้อมนัยยะสำคัญ (ตอนแรก)