วิถีการคิดที่ผิดเพี้ยน

  วิถีการคิดที่ผิดเพี้ยน   วิธีคิดของคนมีหลายเหตุปัจจัยประกอบเข้าด้วยกัน อาจมี “อวิชชา” คือความโง่หรือไม่ซื่อตรงต่อความจริง เข้ามาผสมเจือปนได้ตลอด อาจมีโลภะ โทสะ โมหะ หรือ “โลภ โกรธ หลง” ทำให้การคิดผิดเพี้ยนไปจากเหตุอันควร การคิดทั่วไปมักเกิดจากการปรุงแต่งจากสิ่งที่รับรู้ผ่านอายตนะทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เมื่อรับรู้อย่างขาดสติ เป็นไปด้วยอวิชชาคือความไม่รู้จริงในธรรมชาติ สิ่งใดมากระทบก็มัวเมารู้สึกรู้สา เกิดเป็น “ตัณหา” คือความอยาก และนำไปสู่ “อุปาทาน” คือการยึดติด วิธีคิดที่ผิดเพี้ยนก็เริ่มเกิดขึ้นแล้ว เพราะการคิดใดๆ ของเราต่อจากนั้นก็จะเป็นการคิดที่รับใช้อวิชชา รับใช้ตัณหา รับใช้อุปาทาน แต่ไม่ได้รับใช้ความจริง ไม่ได้รับใช้ความถูกต้อง วิถีทางแห่งการคิดที่ผิดเพี้ยนไปนี้ก็คือการมี “อคติ” นั่นเอง แต่คำว่า อคติ นั้นไม่ใช่เป็นเรื่องความคิดความเห็นอย่างภาษาปากที่คนไทยใช้ แต่ในทางพุทธศาสนานั้น หมายรวมในความประพฤติ ทัศนคติ และการคิดอีกด้วย หากแปลตรงตัว คำว่า อคติ หมายถึง ผิดที่ผิดทาง หรือความเป็นไปอันไม่สมควร แปลแบบไทยก็ใช้คำว่า… Continue reading วิถีการคิดที่ผิดเพี้ยน

“มั่นคงจากข้างใน ต้องฝึกขัดใจตัวเอง”

  “มั่นคงจากข้างใน ต้องฝึกขัดใจตัวเอง” คอลัมน์ ไกด์โลกจิต   ยิ่งเราปล่อยใจเป็นดั่งปลาว่ายตามกระแสเมื่อใด ใจยิ่งอ่อนแอลงมากขึ้นเท่านั้น เมื่อฝึกใจเป็นดั่งปลาว่ายทวนกระแส ใจยิ่งเข้มแข็งและมั่นคงมากขึ้นเท่านั้น กระแส นี้คืออะไร ? หมายถึงความเคยชินของจิตใจที่จะไหลไปตามกิเลส – สิ่งที่ทำให้จิตมัวหมอง ทั้งสิบอย่าง * จิตใจที่ไม่ได้ฝึกต้านทาน หักห้ามใจ และอดทนข่มกลั้นต่อความเคยชินของตัวเอง ย่อมปล่อยให้กระแสเหล่านี้พัดพาชีวิตไปพบกับความทุกข์ไม่จบสิ้น เมื่อปล่อยใจไหลไปตามความเคยชิน ใจเราก็จะอ่อนไหวง่ายกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่มากระทบ เป็นดั่งต้นไม้ไร้รากที่พร้อมจะโค่นลงเมื่อลมพัดไหว มิอาจหาความมั่นคงใดจากตัวเองได้เลย การไร้รากนั้นก็คือ เรามิใช่ที่พึ่งพาแก่ใจตัวเอง ขาดความมั่นคงในตัวเรา การมิอาจเป็นที่พึ่งแก่ใจตัวเองได้ ยิ่งทำให้หวังพึ่งพาความมั่นคงจากสิ่งนอกตัว ซึ่งก็จะเป็นการส่งเสริมให้ใจไหลไปตามกระแสของกิเลสสิบอย่างมากกว่าเดิม สุดท้ายแล้วเราก็จะดึงดูดสิ่งลบและสิ่งที่จะทำร้ายตัวเรา เพราะตนถูกพัดพาโดยกิเลสเหล่านั้นไปหาผู้คนและสิ่งที่มีกิเลสแบบเดียวกัน พระพุทธเจ้าท่านทรงตรัสในใจความว่า “การเลี้ยงชีพชอบ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีอาชีพผิด… ความไม่โกรธ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มักโกรธ… ความไม่โอ้อวด เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้โอ้อวด” ** น้ำมักไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำฉันใด กระแสแห่งกิเลสก็พัดพาใจไหลลงสู่ที่ต่ำลงฉันนั้น เว้นแต่ผู้ว่ายทวนน้ำ ฝืนความเคยชินของใจที่จะไหลไปกับสิ่งที่มากระทบ จึงจะขึ้นที่สูงจากที่ต่ำได้อย่างแท้จริง นี่คือการขึ้นที่สูง ที่มิใช่การปีนป่ายของหนอนทั้งหลาย ที่คืบคลานตามกระแสหนอนตัวอื่นๆ ใครว่าดีก็ทำตาม ใครว่าดีก็เชื่อไป ท้ายที่สุดแล้วการปีนป่ายขึ้นไปนั้นก็ไม่ได้นำไปสู่การขึ้นที่สูงอย่างแท้จริง แต่กลับต่ำลงมาอย่างไม่รู้ตัว… Continue reading “มั่นคงจากข้างใน ต้องฝึกขัดใจตัวเอง”

หยุดนิ่งเพื่อเปลี่ยนแปลง

  หยุดนิ่งเพื่อเปลี่ยนแปลง   จากบทความ “5 ข้อคิดการริเริ่มจาก “ผีเสื้อ” (ตอนแรก)” โดยครูโอเล่ สถาบันธรรมวรรณศิลป์ . เมื่อถึงจุดหนึ่ง หนอนผีเสื้อต้องหยุดลงและสร้างรังดักแด้ ห่อหุ้มกายและหยุดนิ่ง ดูจากภายนอกแล้วเหมือนกับว่ามันตายและไม่ทำอะไรเลย แต่นั่นคือช่วงเวลาสำคัญของการเปลี่ยนแปลง . หากเราใช้ชีวิตอย่างวิ่งวุ่นเหมือนตั๊กแตนหรือบินยุ่งเหมือนยุง เราก็ไม่อาจที่จะเปลี่ยนแปลงตนเองและเริ่มต้นสิ่งใหม่ได้ เพราะการเกิดก่อต้องบ่มจากการหลอมรวม ดังนั้น การให้เวลาอยู่กับตัวเอง ทบทวนใคร่ครวญ สงบใจด้วยใจกระจ่าง เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลงชีวิตและการเริ่มต้นสิ่งใด ๆ . การรู้หยุดบ้างจะทำให้เราสลัดจากคราบและร่องเดิมที่มีอยู่ ก้าวออกจากพื้นที่ปลอดภัยหรือการยึดติด นิ่งเพื่อทบทวนสิ่งต่างๆ อย่างชัดเจน มิใช่วุ่นวายกับสิ่งต่างๆ นอกตัว จนเราสับสนและกลบบังสิ่งสำคัญ และใช้ชีวิตไปตามร่องรอยเดิมอย่างที่เคยยึด เราจะเห็นหนทางที่จะก้าวไปข้างหน้าอย่างชัดเจนได้ ต่อเมื่อเรากลับมาหยุดนิ่งอยู่กับตนเองเท่านั้น . เปรียบเหมือนการเกิดใหม่จากหนอนแก้วกลายเป็นผีเสื้อ ช่วงเวลาของการเป็นดักแด้นั้นคือหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญ เขาจะต้องหยุดนิ่งอยู่ตรงนั้นเกือบเท่าระยะเวลาชีวิตที่คืบคลาน นานเพียงพอที่ปีกภายในจะก่อเกิดและตัวตนใหม่เข้มแข็งพอ คนเราต้องมีช่วงเวลาอยู่ในดักแด้ คือรู้สงบภายใน ทบทวนก้าวย่างชีวิตที่ล่วงเลย ให้เวลาตนได้ฝึกฝนตัวเอง ก่อนที่จะก้าวไปยังวาระใหม่แห่งชีวิต . คนที่ไม่มีเวลา หรือกล่าวให้ตามจริง คือ ไม่ให้เวลาตนเองอยู่ในดักแด้เลย ไม่หาความรู้ ไม่รู้หยุดนิ่ง ไม่รู้พักวางและฝึกฝนตน… Continue reading หยุดนิ่งเพื่อเปลี่ยนแปลง

ฟังเสียงข้างน้อยในใจบ้าง…” ประชาธิปไตยในกายจิต

  ฟังเสียงข้างน้อยในใจบ้าง : . การฟังคือหัวใจสำคัญของการปกครอง รวมทั้งการปกครองหรือดูแลตัวเองก็ย่อมต้องใช้การฟังด้วยเช่นกัน การฟังที่ดี มิใช่การเลือกฟังแต่เพียงบางส่วน แต่คือการรับฟังทั้งหมดอย่างลึกซึ้ง แม้ในส่วนที่เราไม่อยากได้ยินและเสียงกลุ่มเล็กๆ ที่มักถูกละเลย . ในสังคมภายนอกมักมีคนชายขอบที่ถูกละเลยความใส่ใจ ในจิตใจเราเองก็มีคนชายขอบที่มักถูกละเลยการรับฟังจากเราเช่นกัน คนชายขอบเหล่านี้คือตัวตนและตัวแทนของความรู้สึกกับความต้องการพื้นฐานที่ถูกปิดกั้นหรือปล่อยปละ . “จิตสำนึก” คือส่วนของจิตที่รับรู้ เป็นเสมือนเมืองหลวงของประเทศ มี “จิตใต้สำนึก” เป็นดั่งจังหวัดอื่นๆ ที่ไกลออกไปตามลำดับ ประเทศมิใช่จังหวัดเมืองหลวงเพียงหนึ่งเดียว เหมือนกับความเป็นตัวเรานั้นมิใช่แค่บุคลิกภาพเดียว แต่ประกอบด้วยบุคลิกภาพย่อยและตัวตนหลากหลายมากมาย ซึ่งในจำนวนเหล่านี้ก็จะมีบางด้านที่ถูกใส่ใจมาก เรียกว่า “ตัวตนหลัก” ในจิตสำนึก และอีกหลายด้านที่ถูกใส่ใจน้อย เรียกว่า “ตัวตนรอง” ซ่อนอยู่ในจิตใต้สำนึก . ตัวตนอย่างหลังนี้ก็จะมีอีกบางส่วนซึ่งเราแทบไม่ได้สนใจเลย อยู่ในจังหวัดของจิตที่ไกลออกไปตามชายแดนของความใส่ใจ พวกเขาจะคอยประท้วงและสื่อสารกับเรา เป็นเสียงเล็กๆ ดังในจิตใจเช่นว่า ควรใส่ใจอย่างนี้บ้างนะ หรือทำอย่างนี้บ้างนะ คอยเอ่ยถามบ้างว่า “นี่คือคุณค่าจริงๆ ของชีวิตแล้วหรือ” หรือบอกเตือนล่วงหน้าว่าทำอย่างนี้ต่อไปอาจเป็นอย่างไร แต่เราก็มิได้แลเหลียวหรือให้ค่าเสียงเหล่านั้นเท่าที่ควร . เสียงข้างน้อยในใจเหล่านี้มักจะเป็นความรู้สึก ความต้องการ และศักยภาพในตัวเราที่ถูกละเลย เมื่อส่วนใดของประเทศไม่ได้รับความใส่ใจก็ขาดการพัฒนา หรือเมื่อเราพยายามพัฒนาจากศูนย์กลางหรือเมืองหลวง โดยที่มิได้เข้าใจอัตลักษณ์ของภาคส่วนนั้นๆ ก็จะกลายเป็นการบั่นทอนและปิดกั้นคุณค่าของที่นั่น… Continue reading ฟังเสียงข้างน้อยในใจบ้าง…” ประชาธิปไตยในกายจิต

“ความอยากมีตัวตนนั้นเอง จึงเป็นศัตรูที่แท้จริงของเรา มิใช่ใครเลย”

  เพราะสิ่งที่เชื่อว่าดี จิตมักนำมาเป็นตัวแทนของตัวตนและคุณค่าของตนเอง เราจึงหวังให้คนอื่นยอมรับในสิ่งที่ดีนั้นๆ มิว่าจะเป็นบุคคล สัตว์ สิ่งของ หรือนามธรรมใด เพื่อให้เรารู้สึกว่าตนเองได้รับความสำคัญไปด้วย เมื่อถืออะไรเป็นตัวแทนของตนและคุณค่าของเราแล้ว เราก็ย่อมพยายามปกป้องสิ่งนั้น เสมือนปกป้องเลือดเนื้อของตน ใครดูหมิ่นเหยียดหยามหรือทำร้ายเจ้าสิ่งนั้นก็ทำให้รู้สึกเหมือนกับว่าคุณค่าของเราน้อยลงไปด้วย ดังนั้นการทะเลาะวิวาทกันด้วยอุดมการณ์หรือความเห็นต่างอย่างไรก็มาจากความอยากมีตัวตนของทั้งสองฝ่าย มิว่าเรื่องใดๆ ที่เชื่อว่าดีก็ตาม เมื่อมีคนเห็นต่าง เมื่อมีคนกล่าวโจมตี หรือไม่พอใจสิ่งที่เราเชื่อว่าดี เราจึงรู้สึกเจ็บปวดเหมือนกับตัวตนของเราได้รับบาดเจ็บ เราต้องถามตนเองว่า อะไรกันแน่ที่ทำให้เราทุกข์ใจ สิ่งที่เขาเป็น สิ่งที่เขาทำ สิ่งที่เขาเชื่อ มันทำร้ายกายและใจเราจริงๆ หรือเป็นความคาดหวังและความเชื่อของเราเองที่ทำร้ายตัวเราให้เจ็บปวด ในเมื่อเราก็รู้ดีอยู่แก่ใจว่า เขาไม่จำเป็นต้องเป็นเหมือนเรา ไม่จำเป็นต้องทำหรือคิดเหมือนกันกับเรา ไม่จำเป็นต้องดีเหมือนกัน และไม่สามารถที่จะเป็นเหมือนเราได้ทุกคน เหตุใดเราจึงคาดหวังในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ สิ่งที่ทำให้เราโกรธก็คือตัวเราเองที่พยายามรักษาตัวตนไว้ สิ่งที่ผลักดันให้เขาทำ คิด หรือเป็นเช่นนั้นก็คือความอยากมีตัวตนของเขาเอง ดังนั้นความอยากมีตัวตนนั้นเองจึงเป็นศัตรูที่แท้จริงของเรา มิใช่ใครเลย เมื่อเราลืมไปว่าแต่ละคนมีสิทธิที่จะชื่นชอบ ชื่นชม หรือศรัทธา ไม่เหมือนกัน เมื่อลืมไปว่าแต่ละคนมีความแตกต่างกันอยู่เป็นธรรมดา จึงเกิดสิ่งที่เรียกว่า การเหมารวม ดังเช่นคำพูดประมาณว่า ทุกๆ คนต้อง… คนไทยทุกคนกำลัง… คนทั้งเมืองรู้สึก… ทั้งๆ ที่เราก็รู้ดีว่าคำพูดแบบนี้เป็นการขยายความเพื่อเร้าอารมณ์ และมีสิทธิ์ไม่ใช่ความจริงสูง เพราะเราไม่ได้นำความเห็นของทุกคนมาแยกแยะจริง… Continue reading “ความอยากมีตัวตนนั้นเอง จึงเป็นศัตรูที่แท้จริงของเรา มิใช่ใครเลย”

ร่างกายเป็นโรค… ฉันเป็นโรค…

  มิใช่ไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หรือภัยจากธรรมชาติ ที่พึงเห็นว่าเป็นโรค แต่ร่างกายนี้เองที่พึงเห็นเป็นโรค เราไม่ค่อยกล่าวกันว่าไวรัสเป็นโรค เชื้อรา แบคทีเรีย ฯ เป็นโรค ในการพูดสื่อสารทั่วไป แต่เรามักจะพูดกันว่า ฉันเป็นโรค… ร่างกายเป็นโรค… นั่นก็เป็นปริศนาธรรมให้ทายกันในชีวิตประจำวันแล้ว เพราะไวรัสไม่ใช่โรคในทางธรรมะ แต่ร่างกายเรานี้เองที่เป็นโรค และการยึดมั่นในตัวตนฉันนี่เองที่เป็นโรค… . ความไม่มีโรค สำหรับคนทั่วไป คือการมีร่างกายที่แข็งแรงและไม่เจ็บป่วย แต่ในทางธรรมะหรือความเป็นจริงแล้ว ความไม่มีโรค คือการพ้นจากอำนาจของร่างกาย ซึ่งเป็นโรคอย่างแท้จริง เหตุใดพุทธศาสนาจึงกล่าวว่า ร่างกายคือโรค ลองพิจารณาจากคำตรัสของพระพุทธเจ้าที่ตรัสว่า . “กายนี้มีรูป (เป็นวัตถุ) เป็นที่ประชุมมหาภูต (ธาตุ) ทั้งสี่ มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด เจริญด้วยข้าวสุกและขนมสด ต้องอบและขัดสีกันเป็นนิจ มีความแตกกระจัดกระจายเป็นธรรมดา ท่านควรพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นความเจ็บไข้ เป็นดังผู้อื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของว่างเปล่า เป็นของมิใช่ตน . “เมื่อท่านพิจารณาเห็นกายนี้ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์… Continue reading ร่างกายเป็นโรค… ฉันเป็นโรค…

ตั้งคำถามเพื่อสอนตัวเราและเด็กๆ

  ตั้งคำถาม เพื่อสอนตัวเราและเด็กๆ เนื้อหาต่อยอดจากการอบรม “ห้องเรียน วิถีครู” รุ่นที่ 6   คัมภีร์สอนเด็กที่ดีที่สุดนั้น ก็คือการกลับมาทบทวนประสบการณ์วัยเด็กของตัวเอง เราในวัยเด็กรู้ว่าการตั้งคำถามแบบใดของผู้ใหญ่จึงจะเป็นประโยชน์กับเขา รวมทั้งท่าทีแบบใดและวิธีการใดบ้างที่จะช่วยให้ผู้ใหญ่เกื้อกูลการเรียนรู้ของเด็กได้ ตัวเราในวัยเด็กนั้นมีคำตอบอยู่แล้ว ผ่านประสบการณ์ทั้งสุขและทุกข์ในห้องเรียนและครอบครัว หากต้องการตั้งคำถามที่ทรงพลังกับเด็ก คุณครูต้องกลับมาถามตนเองก่อน เช่น ประสบการณ์วัยเด็กที่ผ่านมาสอนอะไรฉันบ้างในฐานะครู ? การที่ฉันในวัยเด็กจะเปิดใจกล้าพูดกล้าตอบกับผู้ใหญ่คนใด ต้องอาศัยเหตุปัจจัยใดบ้าง ? อย่าเพียงถามว่า “จะถามคำถามอย่างไรให้เด็กกระตือรือร้นที่จะตอบ” แต่ต้องกลับมาถามตนเองว่า ฉันมีสิ่งที่ดีอะไรที่จะทำให้เด็กสนใจอยากเรียนรู้และพูดคุยกับฉัน ? ฉันจะสร้างพื้นที่ที่ทำให้เด็กรู้สึกวางใจในและมีสมาธิในการทบทวนสิ่งต่างๆ ด้วยกันอย่างไร ? …และควรถามว่า ตอนฉันเป็นเด็ก ฉันก็อยากให้ผู้ใหญ่ พ่อแม่ และคุณครู ถามอะไรกับฉันบ้าง ? ก่อนที่เราจะถามคำถามยากๆ หรือซับซ้อนให้กับเด็ก เราควรเริ่มต้นจากคำถามง่ายๆ ที่จริงใจและทำให้เขารู้สึกวางใจว่า ครูรับฟังทุกคำตอบของเขา ไม่ใช่เฉพาะคำตอบที่ถูกต้องตามใจครูเท่านั้น เพราะมิเช่นนั้นแล้ว เขาจะไม่กล้าคิดและไม่กล้าตอบ เพราะรู้สึกว่าตัวเองไม่ดีหรือไม่ฉลาดพอที่จะตอบได้ ซึ่งบั่นทอนศักยภาพการเรียนรู้ของเขาอย่างมหาศาล การสอนให้เด็กตอบคำถาม ต้องควบคู่ไปด้วยกับการสร้างพื้นที่ในการเรียนรู้ และกระตุ้นให้เด็กเห็นความสำคัญของการตั้งคำถาม หากเราสอนแบบเดิมๆ ที่เน้นให้เด็กได้คำตอบตามตำรา หลักการ และความเห็นของครู… Continue reading ตั้งคำถามเพื่อสอนตัวเราและเด็กๆ

เปลี่ยนคำถาม เปลี่ยนชีวิต

  “เปลี่ยนคำถาม เปลี่ยนชีวิต” เนื้อหาต่อยอดจากการอบรม “ห้องเรียน วิถีครู” รุ่นที่ 6   การตั้งคำถามต่อตนเองเป็นการกำหนดวิธีคิดและการตัดสินใจ ซึ่งจะส่งผลไปยังท่าทีที่มีต่อสถานการณ์ในชีวิตทั้งทางตรงและทางอ้อม จิตใจนั้นมีการตั้งคำถามอยู่แล้วเป็นธรรมชาติ โดยเฉพาะเมื่อกำลังเผชิญกับจุดหวั่นไหว – ขอบรอยต่อระหว่างพื้นที่ปลอดภัยและพื้นที่เสี่ยง รวมถึงหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิตในช่วงวัยต่างๆ คำถามที่ดีมักทำให้เกิดการสะกิดใจให้ฉุกคิดและตัดสินใจอย่างเหมาะสม ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง การต่อยอด และการเติบโตไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เพราะคำถามเป็นเครื่องมือของธรรมชาติที่มอบให้มนุษย์ไว้ใช้รับมือกับความเปลี่ยนแปลง เป็นเครื่องมือในการแสวงความรู้และสร้างมิตรแท้ที่เติบโตไปด้วยกัน มิว่าเขาจะอยู่ในฐานะนักเรียน เพื่อน หรือกระทั่งตัวเราเองก็ตาม ขณะเดียวกันคำถามที่ไม่ดีมักเป็นการตอกย้ำและกักขังเราไว้ในวิธีคิดและวิธีการแก้ปัญหาที่วกวนไม่สิ้นสุด โดยไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ความสุข และการบรรลุจุดหมายเท่าที่ควร การถามอย่างตอกย้ำเช่นว่า “ทำไมจึงเป็นแบบนี้” “ทำไมจึงเป็นแบบนั้น” ซึ่งทำให้เรากล่าวโทษสิ่งต่างๆ มิว่าตนเองหรือผู้อื่น แต่ไม่ทำให้เห็นหนทางในการก้าวออกจากความมืดมนตรงหน้านั้นเลย มันเป็นคำถามที่ไร้ประโยชน์เพราะแค่ทำให้เราโกรธ เศร้าหมอง และอยากเอาชนะ แต่ไม่เกิดปัญญา การโฟกัสไปที่ปัญหาและถามซ้ำๆ ไม่สิ้นสุด เช่น “ทำอย่างไรจึงจะแก้ไขเรื่องนี้ได้” “ทำอย่างไรจึงจะทำได้สำเร็จ” อาจไม่ใช่คำถามที่เหมาะสม หากเมื่อถามแล้วคำตอบก็ยังเวียนวนในแบบเดิม และไม่ช่วยให้เกิดมุมมองที่นำไปสู่การพัฒนาให้ดีขึ้น การตั้งคำถามโดยโฟกัสไปยังปัญหามากเกินไปก็เปรียบเหมือนการอยู่ในบ้านที่ไฟกำลังลุกไหม้ แต่มัวจ้องไปยังกองเพลิง แทนที่จะมองหาทางออก ลองกลับมาตั้งคำถามใหม่ว่า ตอนนี้ยังมีโอกาสอย่างไร ? ประสบการณ์นี้สอนอะไรกับฉันบ้าง ?… Continue reading เปลี่ยนคำถาม เปลี่ยนชีวิต

หากยึด ‘สุข’ ก็ไม่พ้น ‘ทุกข์’ (ตอน 2)

  หากยึด ‘สุข’ ก็ไม่พ้น ‘ทุกข์’ (ตอน 2) หนึ่งในเนื้อหาช่วงท้ายของกิจกรรม “เขียน ปล่อย วาง” ครั้งที่ 5 . ความสุข และ คุณค่าของชีวิต มีมากมายหลายรูปแบบ เปรียบดังคำตอบของชีวิตที่เปิดกว้าง ไม่ได้มีใครจำกัดว่าจะต้องใช้คำตอบใดเป็นเพียงคำตอบเดียวของชีวิต ยกเว้นจิตที่มีความยึดมั่นเท่านั้นเอง การยึดมั่นในคำตอบใดคำตอบหนึ่งโดยไม่ได้พิจารณาให้ดี อาจทำให้เราพลาดโอกาสเรียนรู้ว่าจริงๆ แล้วชีวิตนั้นกว้างใหญ่กว่าความคิดของตนมากเพียงใด ‘การปล่อยวาง’ แง่หนึ่งคือการลอง ‘เปิดกว้าง’ กับตนเอง ฉันไม่จำเป็นต้องทำแบบนี้แบบเดียวก็ได้ … ฉันลองทำแบบที่ไม่เคยชินบ้างก็ได้ … ฉันไม่จำเป็นต้องคิดแบบนี้ก็ได้ … ฉันไม่จำเป็นต้องขังความคิดด้วยการย้ำคิดแบบเดิมๆ … ฉันไม่จำเป็นต้องสุขด้วยวิธีนี้ก็ได้ … มีความสุขอีกหลายแบบรอให้ฉันค้นหา การที่เราเคยชินที่จะยึดติดกับความสุขจากบางสิ่งบางอย่าง ก็คือการยึด ‘สุข’ ในอีกรูปแบบหนึ่ง ทำให้สุดท้ายเราก็จะเป็นทุกข์เพราะความสุขแบบเดิมๆ ที่เรายึดติดนั้นเอง เช่นความสุขจากการกิน การดื่ม การท่องเที่ยว การจับจ่ายซื้อของ การได้รับความรักจากคนอื่น การได้ทำงานสำเร็จ ฯลฯ ความสุขเหล่านี้ในตัวมันเองอาจไม่ใช่สิ่งเลวร้าย แต่เมื่อยึดถือเป็นคำตอบเดียวหรือคำตอบสำคัญของชีวิตแล้ว ผลเสียจากการกระทำหรือใส่ใจในสิ่งนั้นมากเกินไปก็จะเกิดขึ้น… Continue reading หากยึด ‘สุข’ ก็ไม่พ้น ‘ทุกข์’ (ตอน 2)

หากยึด ‘สุข’ ก็ไม่พ้น ‘ทุกข์’

  หากยึด ‘สุข’ ก็ไม่พ้น ‘ทุกข์’ หนึ่งในเนื้อหาช่วงท้ายของกิจกรรม “เขียน ปล่อย วาง” ครั้งที่ 5   สุข และ ทุกข์ ต่างก็เป็นเหรียญสองด้านของสิ่งเดียวกัน การปรารถนาในสุขก็ต้องยอมรับอีกด้านของมัน นั่นก็คือความทุกข์ แท้จริงความสุขก็เป็นเพียงความทุกข์ในรูปแบบที่เราทนกับมันได้มากกว่า มีเปลือกที่ดูสวยงาม หรือเราพอใจกับมันได้มากกว่าความทุกข์ในรูปแบบอื่น การใฝ่หาในสุขโดยหวังว่าจะไม่มีทุกข์นั้นเป็นไปไม่ได้ เพราะแม้แต่ความสุขที่ประเสริฐเพียงใด ก็มิพ้นไปจากการเสื่อมสลาย ความไม่สมบูรณ์แบบ และการไม่อาจที่ยึดเป็นของๆ ตนได้อย่างแท้จริง การยึดในความสุข ก็จะพาให้ชีวิตต้องดิ้นรนตามหาความสุขที่มากกว่า หรืออย่างน้อยๆ ก็เท่ากัน นั่นก็เป็นทุกข์ คือมีภาระ ความยากลำบาก และความไม่พอใจ เมื่อได้น้อยกว่าที่เคย หรือน้อยกว่าที่วาดหวังไว้ จิตใจก็เป็นทุกข์เช่นกัน เมื่อยึดสุขตามใจอยาก เจอสิ่งใดที่ไม่ได้ให้ความสุขอย่างที่อยากได้ มันก็เป็นทุกข์เพราะความไม่พอใจ สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตหรือที่เรียกว่าปัญหา อาจมิใช่ปัญหาโดยแท้จริงก็ได้ เพียงแค่มันเป็นสถานการณ์ หรือสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วไม่ได้ทำให้เราเกิดความสุขอย่างที่อยากได้เท่านั้นเอง เราจึงมองมันในทางลบ มากกว่ามองไปตามความจริง การฝึกภาวนาในทางพุทธศาสนา จึงให้เผชิญหน้าและก้าวข้ามไปจากทั้งสองขั้ว เพราะมิว่าจะยึดในสุขหรือทุกข์ ชีวิตเราก็ยังต้องเวียนว่ายในท้องทะเล ณ ที่ซึ่งจิตใจเราจะถูกคลื่นโยนขึ้นลงอย่างไม่จบสิ้น ความสุขยิ่ง ที่กล่าวถึงในพระพุทธศาสนา… Continue reading หากยึด ‘สุข’ ก็ไม่พ้น ‘ทุกข์’