สิ่งที่คิดเป็นประจำ จะเป็นกรงขังเราไว้เอง : ความคิดและพฤติกรรมที่นำมาสู่ความสุขหรือความทุกข์ ล้มเหลวหรือสำเร็จ ต่างทำงานซ้ำๆ เป็นร่องวงจร วนไปเวียนมา ย่ำและย้ำเป็นความเคยชิน จนเราเองก็หลงลืมไปว่า เราไม่จำเป็นต้องคิดแบบนั้นก็ได้ ไม่จำเป็นต้องทำเช่นนั้นก็ได้ เรามีวิธีคิดและทางเลือกมากมายในทุกสถานการณ์ แต่เราเลือกขังตัวเราไว้ด้วยวิธีคิดแบบเดิมๆ . 🤔 เราอาจเคยสงสัยว่าเหตุใด เราจึงผิดพลาดซ้ำแล้วซ้ำอีก เจอเหตุการณ์หรือคนแบบนี้ครั้งแล้วครั้งเล่า บางความเห็นกล่าวว่าเป็น “กฎของกระจก” เราเจอสิ่งใดก็สะท้อนว่าสิ่งนั้นอยู่ในตัวเราหรือจิตเรามาก่อนแล้ว เราดึงดูดสิ่งต่างๆ เข้าหาตัวเอง แต่ที่จริงแล้ว เราก็ไม่ใช่หลุมดำหรือดาวเคราะห์ที่ดึงดูดทุกสิ่งโดยมีตัวตนเป็นศูนย์กลาง แต่เป็นหัวใจเราเองวนเวียน ย้ำคิด ย้ำทำ เลือกวิธีคิดแบบเดิม เลือกวิธีใช้ชีวิตแบบเดิม ปัญหาแบบเดิมก็ย่อมตามมา . ความรู้สึก นึก และคิด ก่อให้เกิดการกระทำทั้งภายในใจและในชีวิตของเรา เมื่อความรู้สึก นึก และคิด วนเวียนอยู่ในแบบเดิมๆ เราก็ย่อมขังตัวเองเอาไว้ในวงจรชีวิตแบบนั้น . สิ่งที่เป็นปัญหา มักไม่ใช่ตัวปัญหา แต่เป็นวิธีคิดที่ไม่เหมาะสม ไม่ตอบโจทย์ และสร้างปัญหาขึ้นมา และยิ่งเราพยายามหาทางออกให้ชีวิต ด้วยวิธีคิดแบบเดิม คิดย้ำในทางเก่าๆ ก็มีแต่ยิ่งวนเวียนอยู่ในทางที่เราหลงทาง . เมื่อเรารู้ว่าเราหลงทางแล้ว… Continue reading จะออกจากความคิดที่ขังชีวิตคุณไว้อย่างไร
Category: ไกด์โลกจิต
ปีใหม่ไทย เริ่มต้นใหม่ ดั่งผีเสื้อ
🦋 “ไม่มีผีเสื้อตนใดที่บินมาตั้งแต่เกิด การเริ่มต้นย่อมพบเจอความยากลำบาก หนอนผีเสื้อส่วนหนึ่งต้องคืบคลานเกือบนานถึงครึ่งค่อนอายุขัย กว่าจะติดปีกบินได้ อยู่กับความเชื่องช้าและขีดจำกัดในตนเอง จนวันหนึ่งเป็นอิสระจากสิ่งเหล่านั้น . ก้าวแรกของความสำเร็จ อยู่ที่เราให้เวลากับช่วงเริ่มต้นอันเชื่องช้าได้มากเท่าใด หากเราเร่งร้อนและหวังผลเกินไป แต่ไม่สามารถทำได้ดังหวัง เฉกเช่นเป็นหนอนผีเสื้อแต่อยากวิ่งเร็วเหมือนตั๊กแตน เราย่อมไม่อาจมีความสุขและเห็นคุณค่าของการเริ่มต้นทำสิ่งใดได้เลย . 🐛 หนอนแก้วน้อยให้เวลากับการคืบคลาน เริ่มต้นอย่างเชื่องช้า งุ่นง่าน ดูแสนธรรมดาไม่มีอะไรพิเศษ คนอาจดูแคลน ใครบางคนอาจสงสัย แต่ชีวิตอันธรรมดาจะติดปีกได้ก็ต้องอาศัยความอดทนเช่นนี้ . เพราะหนอนผีเสื้อเห็นคุณค่าในสิ่งที่ตนเองเป็นและทำ แม้มันอาจไม่เห็นปีกของตนเองในตอนนั้นอย่างชัดเจน มันก็ไม่เคยหยุดที่จะมีชีวิตและเริ่มต้น ปีกของเราแต่ละคนซ่อนอยู่ข้างใน มันต้องมีพื้นที่และเวลาที่จะกางปีกนั้นออกมา” ⭐️ บทความนี้ตัดทอนจากงานเขียน “5 ข้อคิดการริเริ่มจาก “ผีเสื้อ” (ตอนแรก)” ในคอลัมน์ ไกด์โลกจิต ประจำปี 2560 โดยครูโอเล่ สถาบันธรรมวรรณศิลป์ 🧘♀️ อ่านบทความคอลัมน์ไกด์โลกจิต : www.dhammaliterary.org/คอลัมน์-ไกด์โลกจิต/ 🔍 สามารถสนับสนุนกิจกรรมและบทความ ผ่านการเข้าร่วมคอร์สของเรา www.dhammaliterary.org/คอร์สการอบรม/ 📒… Continue reading ปีใหม่ไทย เริ่มต้นใหม่ ดั่งผีเสื้อ
พักจาก 6 อย่างนี้ แล้วเราจะได้พักผ่อนอย่างแท้จริง !
พักจาก 6 อย่างนี้ แล้วเราจะได้พักผ่อนอย่างแท้จริง ! พักจากความอยาก : หากเราไม่ได้พักตนเองจากความอยากแล้ว เมื่อถึงเวลาว่างมันก็จะลากพาเราไปเรื่อยๆ จนไม่ได้พักผ่อนอย่างแท้จริง มันอาจชวนเราไปทำอย่างโน้น ไปทำอย่างนี้ ตามความอยาก ความน่าสนใจ ความเร้าแก่อารมณ์ ฯ ทำให้เราไม่ได้หยุดนิ่งเพื่อดูแลตนเองอย่างแท้จริง แต่ได้ไปดูแลความอยากแทน ซึ่งมักลงเอยด้วยความเหนื่อย ความป่วย หรือความเมามายขาดสติ . พักจากการกังวลถึงอนาคต : สิ่งที่จะเกิดขึ้นในวันหน้ายังไม่มีอยู่จริง แต่ความกลัว ความวิตก และความสงสัยก็จะทำให้กายจิตเราไม่ได้ผ่อนพัก เพราะต้องคอยคิดคำนึงวางแผนต่างๆ นานา และคาดเดาคาดคะเน จนความคิดวุ่นวายไม่ได้อยู่กับปัจจุบัน เราก็ไม่สามารถพักผ่อนอย่างเต็มที่ได้ . พักจากการอาลัยสิ่งที่ล่วงเลย : ไม่มีใครที่ฝืนกระแสความไม่เที่ยงแท้ของทุกสิ่งได้ ยิ่งหวนหาอยากให้กลับคืน ยิ่งทำให้ชีวิตและสิ่งที่มีอยู่สูญเสียไปทีละน้อย ความคิดคำนึงถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาแล้วอย่างขาดสติทำให้จิตเหนื่อยล้า การคิดถึงสิ่งที่ผ่านไปแล้วอย่างไม่ก่อประโยชน์ มีแต่ทำให้จิตเศร้าโศกและหม่นหมองลง เราจึงลืมดูแลสิ่งที่มีอยู่ในปัจจุบัน . พักจากการสอดส่องและแบกรับ : เราไม่อาจแบกทุกอย่างไว้ที่ตนเองได้ การพยายามรับผิดชอบสิ่งต่างๆ มากจนเกินไป ทำให้เราบีบคั้นตนเองทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ บางครั้งเราก็เอาเวลาในการดูแลตนเองไปสอดส่องกับเรื่องราวของคนอื่น ไปยุ่งเกี่ยวอย่างไม่เกิดประโยชน์… Continue reading พักจาก 6 อย่างนี้ แล้วเราจะได้พักผ่อนอย่างแท้จริง !
ความลับในความฝัน : พื้นฐานของการวิเคราะห์ความฝัน
“Dream Interpretation for Beginners: Understanding the Basics of Analyzing Dreams.” การตีความความฝัน (Dream Interpretation) เป็นกระบวนการกำหนดความหมายให้กับความฝัน เป็นศาสตร์ที่น่าสนใจและลึกซึ้ง ซึ่งได้รับการศึกษามานานหลายศตวรรษโดยวัฒนธรรมและสาขาวิชาที่แตกต่างกัน ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่าความฝันมีความหมายพิเศษ แต่บางคนเชื่อว่ามันเป็นเพียงวิธีการประมวลผลความคิดและอารมณ์ของสมอง ในบทความนี้ เราจะสำรวจพื้นฐานของการตีความความฝัน สำหรับผู้ไม่มีพื้นฐานมาก่อน เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการค้นพบความลับในความฝันของเรา ก้าวแรกๆ ในการทำความเข้าใจความฝันยามหลับนั้น คือการเริ่มจดบันทึกเกี่ยวกับความฝันของตนเอง หลังจากเพิ่งตื่นขึ้น เตรียมสมุดบันทึกหรืออุปกรณ์จด เตรียมไว้ใกล้ๆ เตียงนอน ให้เราสามารถเขียนความฝันของตนได้ทันทีที่ตื่นขึ้น การจดความฝันทันทีที่ตื่นขึ้นหรือภายในเวลาไม่นาน จะทำให้จดจำความคิดหรือความรู้สึกต่างๆ ที่มีในขณะที่ฝันได้ โดยไม่ทันถูกกลบด้วยความคิดหลังตื่นนอน สิ่งนี้จะช่วยให้เราติดตามการเดินทางของความฝันตัวเองและเริ่มสังเกตเห็นรูปแบบหรือธีมที่เกิดซ้ำๆ ซึ่งจะสะท้อนการเดินทางของจิตใจและภาพชีวิตในช่วงเวลานั้นๆ วิธีการตีความฝันที่ได้รับความนิยมมากที่สุดวิธีหนึ่งคือ ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ โดยซิกมันด์ ฟรอยด์ ตามทฤษฎีนี้ ความฝันเป็นภาพสะท้อนของความปรารถนา ความคิด แรงผลักดันทางเพศ และประสบการณ์ในจิตใต้สำนึกของบุคคล ฟรอยด์เชื่อว่าความฝันเป็นหนทางสำหรับจิตไร้สำนึก (Unconscious mind) ในการแสดงความคิดและอารมณ์ที่อัดอั้นไว้ข้างใน ซึ่งไม่สามารถแสดงออกได้ในชีวิตยามตื่น นอกจากนี้เขายังเชื่อว่าความฝันสามารถเปิดเผยความปรารถนาหรือความกลัวที่ซ่อนอยู่ได้ การวิเคราะห์สิ่งเหล่านี้สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับจิตใจ เป็นประโยชน์ในการบำบัดผู้ป่วยที่มีอาการทางจิต… Continue reading ความลับในความฝัน : พื้นฐานของการวิเคราะห์ความฝัน
ปีใหม่ คือ ปัจจุบัน
เมื่อเราก้าวเข้าสู่ปีใหม่ เป็นเรื่องปกติที่เราจะเหลียวมองอดีตและวางแผนอนาคต แต่คำสอนของพระพุทธเจ้ากล่าวไว้ว่า ปัจจุบันขณะเป็นสิ่งเดียวที่เราพึงมีได้ เป็นคำสอนพื้นฐาน แต่ก็สำคัญมากที่สุดข้อหนึ่งในพุทธศาสนา ความว่า “อดีตล่วงเลยไปแล้ว อนาคตก็ยังมาไม่ถึง มีเพียงปัจจุบันขณะเท่านั้น” คำสอนนี้เตือนเราว่า ปีใหม่ไม่ใช่อนาคตที่ห่างไกล ไม่ใช่สิ่งที่เรารอคอยให้มาถึง แต่คือปัจจุบันที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ ไม่ใช่สิ่งที่ล่วงเลยไปแล้วหรือสิ่งที่ยังมาไม่ถึง คนที่อยู่กับปัจจุบันขณะเท่านั้นจึงเป็นผู้ที่มีปีใหม่และได้รับพรสูงสุด การกลับมามีสติกับสิ่งที่เป็นอยู่ โดยไม่คำนึงถึงอดีตและอนาคตด้วยความโลภ โกรธ และหลง กลับมาหาลมหายใจที่เข้าแล้วออกไป จึงจะเข้าใจว่า ปีใหม่แท้จริงก็คือปัจจุบัน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีอยู่จริงเท่านั้น เพราะทั้งอดีตและอนาคตต่างไม่มีอยู่ในตอนนี้เลย การวางแผนปีใหม่ ไม่ได้ขัดกับการอยู่กับปัจจุบัน แต่ผู้ที่อยู่กับปัจจุบันเท่านั้น จึงจะทบทวนอดีตได้อย่างถ่องแท้ และสามารถวางแผนปีหน้าอย่างแยบยล เพราะมิได้ถูกความกลัวในสิ่งที่ยังมาไม่ถึง หรือความเจ็บปวดในอดีตที่ผ่านมา รบกวนปัญญาของใจตนเอง ด้วยการอยู่กับปัจจุบันนั้นเอง เราจึงสามารถทำให้ปีใหม่เป็นช่วงเวลาแห่งการเติบโต ความสมหวัง และความสุข ดังนั้นขอให้ใช้ช่วงเวลาปัจจุบันให้คุ้มค่าที่สุดและต้อนรับปีใหม่ด้วยใจที่เปิดกว้างและจิตใจที่แจ่มใส สวัสดีปีใหม่ จากพวกเราทีมงานธรรมวรรณศิลป์ ติดตามกิจกรรมของทางโครงการ เข้าร่วมอบรมเพื่อพัฒนาจิตใจ รู้จักตัวเอง เยียวยาความทุกข์ และเครื่องมือในการช่วยเหลือตนเองและผู้อื่น ผ่านหลักสูตรต่างๆ ได้ที่เว็บไซต์ www.dhammaliterary.org/open-course/
8 หนทางอันประเสริฐที่มนุษย์ควรก้าวตาม “อริยมรรค” (ตอนสี่)
8 หนทางอันประเสริฐที่มนุษย์ควรก้าวตาม “อริยมรรค” (ตอน : วิธีคิดแบบพุทธะ ภาค 3) บทความนี้เป็นภาคต่อของ “วิธีคิดแบบพุทธะ ภาค 2” ผู้สนใจอ่านให้ครบถ้วนเนื้อหาที่ปูพื้นไว้สามารถย้อนอ่านได้ทางลิงก์ https://www.dhammaliterary.org/สัมมาสังกัปปะ2/ อ่านบทความตอนนี้ได้ในโพสต์ตามข้อความด้านล่าง หรือเปิดอ่านในเว็บไซต์ https://www.dhammaliterary.org/สัมมาสังกัปปะ3/ #วิธีคิดแบบพุทธะ #ดำริเพื่ออิสระและถูกต้อง #สัมมาสังกัปปะ #ภาคสาม ครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ในเรือนของท่านสุทัตตะเศรษฐี หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า อนาถบิณฑิกเศรษฐี หมายถึง เศรษฐีผู้มีก้อนข้าวเพื่อคนยาก หรือที่พึ่งแก่ผู้ยากจน พระพุทธเจ้าทรงเรียกภิกษุผู้ติดตามและอยู่ในละแวกนั้น เพื่อทรงสอนผ่านเรื่องราวการฝึกตนของพระองค์ก่อนตรัสรู้ ความว่า เมื่อยังทรงเป็นเพียงพระโพธิสัตว์ หมายถึง ผู้ที่มีความสามารถในการตรัสรู้ และกำลังบำเพ็ญเพียรฝึกตนเพื่อตรัสรู้ ขณะนั้นท่านทรงมีความคิดว่า เราควรแยกความวิตก หรือความคิด ให้เป็นสองส่วน เพื่อจักได้พิจารณาอย่างชัดเจน ความคิดที่ทรงแยกออกเป็นสองส่วน ประกอบด้วย อกุศลวิตก คือความคิดที่เป็นโทษ ได้แก่ กามวิตก พยาบาทวิตก… Continue reading 8 หนทางอันประเสริฐที่มนุษย์ควรก้าวตาม “อริยมรรค” (ตอนสี่)
8 หนทางอันประเสริฐที่มนุษย์ควรก้าวตาม “อริยมรรค” (ตอนสาม)
8 หนทางอันประเสริฐที่มนุษย์ควรก้าวตาม “อริยมรรค” (ตอนที่สาม : วิธีคิดแบบพุทธะ ภาค 2) ช่วงเวลาเลวร้ายที่สุดของบุคคลหนึ่งอาจเป็นความ “ตกต่ำ” ที่มิอาจฟื้นคืนกลับมาได้ ยิ่งหวังให้สิ่งต่างๆ “หวนคืน” เป็นอย่างเก่าก็มีแต่ความ “ตีบตัน” อับจนหนทาง หากบุคคลนั้นเห็นว่าช่วงเวลาดังกล่าวคือโอกาสทองของการ “ตกผลึก” ยอมรับความไม่เที่ยงแท้แล้ว “หวนคิด” เพื่อเปลี่ยนแปลงตนเองจนมิต้องหวังย้อนหลังกลับสู่สิ่งที่ล่วงเลย แต่ตั้งใจ “ตั้งต้น” เริ่มต้นใหม่ ชีวิตก็ยังดำเนินได้อีกยาวไกล มิต้องอาลัยกับเส้นทางที่ผ่านมา คนเราไม่ได้อับจนหนทางเพราะทางมันตันเพียงอย่างเดียว แต่ยังเพราะการคิดที่ตีบตันและคับแคบ รถแล่นเข้าซอยตันก็ยังดั้งด้นหาหนทางกลับออกมาได้ แต่วิธีคิดที่ผิดพลาดยิ่งคิดยิ่งล้มเหลวและเป็นทุกข์ แต่ก็ยังจะคิดแบบเดิมทำแบบเดิมอยู่ต่อไป ชนกำแพงแล้วก็ยังชนเข้าไปอีกด้วยหวังว่าจะทะลุผ่านได้ในที่สุด ไม่ยอมหันเลี้ยวไม่ยอมถอย หรือไม่ยอมรับว่ามันมีกำแพงอยู่ตรงนั้น ชีวิตก็ตันเสียแล้ว หากเราเห็นว่าวิธีคิดที่ใช้คือตัวปัญหา…เพราะเอาแต่คิดแบบนี้จึงได้เป็นแบบนี้… แล้วย้อนกลับมาเปลี่ยนแปลงวิถีดำริหรือการคิดของตนเสียใหม่ เหมือนถอยรถหรือกลับลำหันออกมาเลือกทางใหม่ที่เลี้ยวผิด ชีวิตก็จะไม่ตีบตันอีกแล้ว ชีวิตเปรียบดั่งรถเรือ สารถีคนขับก็คือความคิด แทนที่จะเอาแต่โทษสิ่งนอกตัวหรือคนอื่นเป็นผู้ผิดอย่างเดียว เหมือนเฝ้าก่นด่ากำแพงกับซอยแคบ หรือด่าจีพีเอส เมื่อเลี้ยวเข้าทางตันทั้งที่มีป้ายบอกเตือน เราควรย้อนกลับมาดูว่าสารถีในใจทำหน้าที่อย่างไร เราทุกคนมีสิทธิ์คิดผิดได้เสมอ ต่อให้แม้มีปัญญาประสบการณ์เพียงใดก็ตาม เพียงแต่ว่าเมื่อคิดผิดแล้ว เลือกยอมรับความจริงแล้วถอยหลังเพื่อคิดใหม่ หรือดันทุรังชนกำแพงจนพังภินท์ไปทั้งตนและคนอื่น หากกำลังเป็นทุกข์ ชีวิตกำลังอับจนหนทาง… Continue reading 8 หนทางอันประเสริฐที่มนุษย์ควรก้าวตาม “อริยมรรค” (ตอนสาม)
8 หนทางอันประเสริฐที่มนุษย์ควรก้าวตาม “อริยมรรค” (ตอนสอง)
8 หนทางอันประเสริฐที่มนุษย์ควรก้าวตาม “อริยมรรค” (ตอนที่สอง : วิธีคิดแบบพุทธะ ภาค1) การก้าวไปสู่จุดหมายใดๆ ไม่ว่าทางโลกหรือทางธรรม มิอาจเลี่ยงการฝึกความคิดของตนเอง จะประสบความสำเร็จด้านค้าขายหรือทางธุรกิจ ต้องฝึกวิธีคิดอย่างนักบริหารหรือวาณิชที่ช่ำชอง จะประสบความสำเร็จในทางธรรมหรือทางจิตวิญญาณ ต้องฝึกวิธีคิดอย่างพระพุทธเจ้าและบรมศาสดาของโลกนี้ เพราะความคิดเป็นสิ่งที่ขับเคลื่อนกายจิต ไม่ใช่เพียงแค่ดึงดูดแต่ยังผลักดันให้เวียนว่ายในวังวนซึ่งเป็นภาพสะท้อนของวิธีคิดที่วกวนของเราเอง คิดอย่างไรย่อมเป็นอย่างนั้น เพราะวิถีชีวิตกำหนดเริ่มที่วิธีคิด จะผ่านพ้นความล้มเหลวไปสู่ความสำเร็จก็ต้องปรับวิธีคิดที่ล้มเหลวให้เป็นวิธีคิดที่สำเร็จ จะผ่านพ้นความทุกข์ระทมก็ต้องปรับวิธีคิดที่เคยพาทุกข์ทน เปลี่ยนเป็นวิธีคิดที่พ้นทุกข์สิ้นเชิง เราจะเรียนการคิดที่เหมาะสมมากเพียงพอที่จะทำให้ชีวิตถึงที่สุดแห่งการพัฒนาจากใคร หากไม่เรียนรู้จากผู้ที่ถึงที่สุดแห่งการพัฒนาตนเองแล้ว บทความนี้คือหลักธรรมที่สอนให้เป็นนายเหนือความคิด ดำริเพื่อหลุดพ้น ไตร่ตรองอย่างแยบยล ขจัดทุกข์ทนในชาตินี้ เรียนรู้จากวิธีคิดแบบพระพุทธเจ้า การฝึกคิดเพื่อการพ้นทุกข์ทำได้จริง เพียงก้าวตามรอย “อริยมรรค” ของพุทธะ แปดหนทางอันประเสริฐที่มนุษย์ควรก้าวตาม . อ่านบทความตอนก่อนหน้า หัวข้อ “สัมมาทิฏฐิ : ดวงตาแห่งพุทธะ” ทางลิงก์ดังนี้ youngawakening.org/write4life/สัมมาทิฏฐิ/ . . #วิธีคิดแบบพุทธะ #ดำริเพื่ออิสระและถูกต้อง #สัมมาสังกัปปะ #ภาคแรก . . หากชีวิตคือหนังสือวรรณกรรม… Continue reading 8 หนทางอันประเสริฐที่มนุษย์ควรก้าวตาม “อริยมรรค” (ตอนสอง)
8 หนทางอันประเสริฐที่มนุษย์ควรก้าวตาม “อริยมรรค” (ตอนแรก)
8 หนทางอันประเสริฐที่มนุษย์ควรก้าวตาม “อริยมรรค” (ตอนแรก : ดวงตาแห่งพุทธะ) หนทางสู่การตื่นรู้ มีอยู่ในชีวิตทุกๆ วัน หากน้อมนำมาพิจารณาและกระทำในทุกๆ ลมหายใจ ไม่ต้องรอปฏิบัติธรรมบรรลุผล เริ่มตั้งต้นได้ตั้งแต่ชาตินี้ . . #ดวงตาแห่งพุทธะ #มุมมองต่อชีวิตที่เป็นคุณและถูกต้อง #สัมมาทิฏฐิ . เรือจะแล่นไปในทางใด ถึงฝั่งเมื่อไร ด้วยดีหรือไม่ ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย แต่สิ่งแรกที่สำคัญคือ กัปตัน และ ต้นหนเรือ – ผู้ชี้ทาง ได้มองไปยังทิศทางใด ด้วยความชัดเจนมากแค่ไหน และเห็นอะไรจากการมองนั้น หากพวกเขามีมุมมองที่พลาด ดูผิดทิศ ไม่ระวังทางลม ไม่สังเกตอุปสรรค มองทางไปไม่กระจ่างชัดเจน อ่านแผนที่ไม่ถูก โอกาสที่จะไม่ถึงฝั่งหรือล่าช้าก็มีสูง เช่นเดียวกันกับการขับรถยนต์ หากมีฝ้าไอน้ำหรือหมอกหนาบดบังกระจกหน้า หรือไม่อาจมองกระจกข้าง กระจกหลัง ได้ชัดเจนทันการณ์ในเวลาอันควร หรือคลาดสายตาจากการมองทางไปสนใจสิ่งอื่น โอกาสเกิดอุบัติเหตุก็มีมากตาม มุมมองที่ถูกต้อง เป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกๆ ในการใช้ชีวิตให้ถูกต้อง เช่นเดียวกัน จึงเป็นเหตุให้ข้อแรกของ อริยมรรค… Continue reading 8 หนทางอันประเสริฐที่มนุษย์ควรก้าวตาม “อริยมรรค” (ตอนแรก)
10 ชวนคิด คอลัมน์ ไกด์โลกจิต
ในวาระที่คอลัมน์นี้ได้มาถึงตอนที่ 64 ในปี พ.ศ. 2564 เมื่อเดือนที่ผ่านมา โดยมีความยาวของเนื้อหารวมทั้งหมดมากกว่า 530 หน้าเอสี่แล้ว นับจากตอนแรกจนมาถึงวันนี้ก็เป็นเวลากว่าห้าปี จึงขอเก็บเกี่ยวบางวรรควลีจากบางบทความที่ผ่านมา นำมาปักหมุดไว้ในตอนพิเศษนี้ พร้อมทบทวนชีวิตของผมเองในฐานะผู้เขียน บอกเล่าแชร์ความคิดเห็นแบบเล่าสู่กันฟัง โดยไม่ได้ร่างเค้าโครงไว้ล่วงหน้า ผู้อ่าน/ผู้ติดตาม หากต้องการรู้เรื่องใดหรือต้องการให้เขียนเกี่ยวกับเรื่องใดเป็นพิเศษ โดยยังอยู่ในแนวทางของคอลัมน์นี้ สามารถเสนอผมมาได้ที่ช่องทางคอมเมนท์ หรือช่องทางติดต่ออื่นๆ . . I “แม้อ่านหนังสือคู่มือสร้างสุข สร้างความสำเร็จ และเทคนิคพิชิตอุปสรรค มากมายเพียงใด หากไร้การทำและผลักดันด้วยตนเองแล้ว กองตัวอักษรและความรู้ต่างๆ ก็จะถมทับเราอยู่กับความมืดมน” . ข้อความนี้มาจากตอนแรกของคอลัมน์ในชื่อ …เราไม่ได้อับแสง แต่เราหลงลืมตัวเอง… ตอนแรกของคอลัมน์นี้เปรียบเสมือนการตั้งธงไว้กลายๆ ว่า การเดินทางของอักษรในตอนต่อๆ เป็นการเดินกลับเข้าไปหาตัวเอง ตามหาแสงสว่างภายในที่หลงลืม แม้จะเป็นความรู้ ธรรมะ หรือคำแนะนำต่างๆ แต่สุดท้ายแล้ว… มันคือการกลับมาถามใจตนแล้วตอบตัวเองให้ได้ในคำถามสำคัญต่างๆ ของชีวิต …คนที่เป็น ไกด์โลกจิต จริงๆ แล้วไม่ใช่ผู้เขียน แต่เป็นตัวเราเองและการฝึกฝนตนด้วยตัวเอง… การขาดความรู้สึกมีคุณค่ากับความเคยชินในการพึ่งพาสิ่งนอกตัว มันทำให้เราหลงลืมแสงสว่างในตัวเอง ลืมความสำคัญของความพากเพียรและการทำสิ่งที่มีค่าให้กับตนอย่างต่อเนื่อง… Continue reading 10 ชวนคิด คอลัมน์ ไกด์โลกจิต