รับมือความเครียดไม่ยาก หากรู้ ๕ ข้อนี้

    ๑ เข้าใจความเครียด : . ความเครียดนั้นเป็นกลไกการ “ตื่นตัว” โดยธรรมชาติ เป็นสัญชาตญาณเพื่อปลุกกายจิตให้ตั้งท่า หรือเรียกว่าตั้งการ์ดให้พร้อมสำหรับการเอาตัวรอดเพื่อมีชีวิตอยู่ต่อไป ความเครียดยังเรียกได้อีกแบบว่าความ “ตึง” เป็นอาการที่กายหรือจิตมีความพยายามในการจะทำสิ่งใด เหมือนการจะขยับเขยื้อนร่างกายก็ย่อมจะมีความตึงเกิดขึ้นสลับกับความหย่อน ทั้งหมดนี้เป็นธรรมชาติ จึงกล่าวได้ว่าความเครียดเป็นภาวะธรรมดา ไม่ใช่ศัตรูหรือสิ่งที่เราต้องกลัว แต่สิ่งที่ทำร้ายเราจริงๆ แล้ว คือการตื่นตัวและการตึงจนเกินความพอดีและความจำเป็น . หากเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตดังเสียงเพลงของพิณหรือกีตาร์แล้ว การใช้ชีวิตก็คือการขึงสายของพิณหรือกีตาร์นั้น หากขึงหย่อนเกินไป หรือขึงตึงเกินไป เสียงเพลงของพิณหรือกีตาร์นั้นก็ไม่ไพเราะ การใช้ชีวิตหากตึงหรือหย่อนเกินไป คุณภาพชีวิตก็ไม่พอดี . ความเครียดที่พอดีก็คือการขึงสายที่เหมาะสม ย่อมมีความตึง มีความตื่นตัว อยู่เป็นธรรมดาและตามความจำเป็น ความเครียดไม่ใช่สิ่งเลวร้าย แต่ชีวิตจะเลวร้ายเมื่อระดับความเครียดอยู่ในระดับที่ไม่เหมาะสม หรือกล่าวให้ถูกต้องคือเมื่อกายจิตตื่นตัวและมีความตึงที่มากเกินไป หรือน้อยเกินไป . เมื่อกายจิตรับรู้ปัญหาหรืออุปสรรคบางอย่างก็จะปลุกเราให้ตื่นตัวด้วยความเครียดให้รู้สึก ด้วยอาการทางกายก็ดี หรืออาการทางใจก็ดี เพื่อเร่งเร้าให้เราจัดการกับสิ่งตรงหน้า ร่างกายและท่าทีของเราก็จะมีความตึงมากขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมต่อสู้หรือหนีสิ่งที่เข้ามา จนเมื่อปัญหาเหล่านั้นผ่านพ้นไปแล้ว ตามธรรมชาติกลไกการตื่นตัวย่อมต้องทำงานน้อยลง กายและจิตก็จะผ่อนคลายลง ลดการตั้งการ์ด หรือ “การปกป้องตนเอง” ลงไปในระดับปกติ . ข้างต้นนี้ไม่ใช่ปัญหา แต่ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อปัญหาผ่านพ้นไปแล้ว แต่กลไกการตื่นตัวยังทำงานอยู่ไม่เลิกรา… Continue reading รับมือความเครียดไม่ยาก หากรู้ ๕ ข้อนี้

๑๑ ข้อคิด คอลัมน์ “ไกด์โลกจิต” ส่งท้ายปี ๒๕๖๒

      รวมบางข้อคิดและเนื้อหาจากบทความคอลัมน์ ไกด์โลกจิต ตอนที่ ๓๙ ถึง ตอนที่ ๔๙ ประจำปี ๒๕๖๒ ซึ่งเผยแพร่รายเดือนทางเว็บไซต์และเพจเฟสบุ๊คของเรา . ผู้อ่านสามารถอ่านบทความเต็มของทุกเรื่องได้ฟรี ในเว็บไซต์ www.dhammaliterary.org/คอลัมน์-ไกด์โลกจิต/ . . – บทความเรื่อง สร้างวันว่าง ด้วยการวาง . “ต่อให้แม้ไม่ใช่วันว่างหรือเวลาว่าง แต่หากเราวางใจไว้ว่า สิ่งใดสำคัญต่อเรามากๆ แล้ว เราย่อมสามารถแบ่งเวลาและหาหนทางจัดการมันได้ สิ่งใดที่ดีที่อยากทำแต่แม้มีเวลาว่างแล้วก็ไม่ทำ เพราะเรายังวางใจในคุณค่าของสิ่งนั้นๆ ไม่พอ . “เราต้องคิดถึงคุณค่าของสิ่งที่เราตั้งใจที่จะลงมือทำ ไม่คิดว่าหากไม่ได้ทำวันหน้าก็อาจทำได้ ลองคิดในทางแย่ที่สุดว่าหากไม่ได้ทำแล้วจะเป็นอย่างไร และอาจไม่มีโอกาสหน้าให้ทำอีกก็ได้ . “เราจะมีเวลาว่างได้ เรายังต้องวางใจในตนเองด้วยว่า เราสามารถทำสิ่งนั้นๆ ได้ และหาทางจัดการให้ได้ทำสิ่งดังกล่าวให้สำเร็จ เพราะตราบใดที่เราเอาแต่บอกว่า ไม่นำทำได้ ไม่น่ามีเวลาพอ หรือเรามีข้อจำกัดอย่างนั้นอย่างนี้ เราก็ไม่มีทางทำได้เลย เพราะสะกดจิตตนเองไว้แล้ว สะกดกลั้นไฟแรงมุ่งมั่นที่จะทำให้สำเร็จไว้แล้ว . “วางใจยังมีความหมายว่า ศรัทธา หรือ ความเชื่อ… Continue reading ๑๑ ข้อคิด คอลัมน์ “ไกด์โลกจิต” ส่งท้ายปี ๒๕๖๒

๕ คำสอนพระพุทธเจ้า เพื่อรับมือคำด่าและท่าทีแย่ๆ

    ๑ ยอมรับความเป็นจริงแห่งชีวิต : . “การนินทาหรือการสรรเสริญนี้มีมาแต่โบราณ มิใช่มีเพียงวันนี้ คนย่อมนินทาแม้ผู้นั่งนิ่ง แม้ผู้พูดมาก แม้พูดพอประมาณ ผู้ไม่ถูกนินทาไม่มีในโลก บุรุษผู้ถูกนินทาโดยส่วนเดียว หรือถูกสรรเสริญโดยส่วนเดียว ไม่มีแล้ว จักไม่มี และไม่มีในบัดนี้” *(๑) . เป็นธรรมดาที่เราจะถูกดุ วิจารณ์ ตำหนิ ตัดสิน หรือมีท่าทีแย่ๆ ต่อเรา ไม่ได้เป็นสิ่งที่เกิดกับเราลำพังคนเดียวบนโลก ไม่ได้เป็นสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นเท่านั้นในตอนนี้ เราเป็นคนธรรมดาคนๆ หนึ่ง ย่อมทำผิดพลาดได้ ย่อมเผลอพลั้งทำสิ่งที่ไม่น่าพึงพอใจ เป็นธรรมดาที่จะถูกตำหนิได้ เพราะเราเป็นคนธรรมดาคนหนึ่งเท่านั้น . เหตุที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่าการนินทาหรือการสรรเสริญมีมาแต่โบราณ หรือเรียกว่าเป็นของเก่า เพราะเวลาเราโดนว่าหรือโดนชมเชย ใจมักรู้สึกไปเองว่าคำพูดหรือท่าทีเหล่านั้นมันสำคัญมาก ใหญ่โตมาก เป็นของเราแต่ผู้เดียว เหมือนโลกทั้งใบเราถูกตำหนิเพียงลำพัง ตรงนี้เป็นเพราะอัตตาเผลอคิดไปเอง . การถูกว่า ถูกกระทำในทางที่ไม่ชอบใจ เป็นเรื่องธรรมดาที่เราไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เช่นเดียวกันกับ ลาภ หรือสิ่งดีๆ ที่ได้มา ได้มี , ความเสื่อมลาภ , ยศ… Continue reading ๕ คำสอนพระพุทธเจ้า เพื่อรับมือคำด่าและท่าทีแย่ๆ

๕ ข้อต้องรู้ ถ้าไม่อยากเป็นทาสความคิด

    ๕ ข้อต้องรู้ ถ้าไม่อยากเป็นทาสความคิด   ๑ แม้ใช้เหตุผล ก็มีอารมณ์อยู่เบื้องหลัง : . เหตุใดการพูดคุยกันด้วยเหตุผลหรือการตัดสินใจด้วยเหตุผลจึงอาจไม่ได้ลดความทุกข์ในหัวใจ เหตุใดจึงมีความวุ่นวายในที่ๆ ซึ่งต่างฝ่ายต่างก็ใช้เหตุผลของตนเอง เหตุใดคนเราจึงตกอยู่ภายใต้ความคิดดูที่มีเหตุผลเหลือเกินแต่ไม่ช่วยให้สถานการณ์และชีวิตดีขึ้น . ความล้มเหลวของการใช้ความคิด เริ่มจากการไม่รู้เท่าทันอารมณ์ที่อยู่เบื้องหลัง เพราะเรามักคิดว่าตนเองนั้นใช้เหตุผลแล้ว แต่มักคิดว่าอีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมฟังเหตุผลหรือทำตามอารมณ์อำเภอใจ โดยหารู้ไม่ว่า เราเองก็ไม่ได้ใช้เหตุผลอย่างแท้จริงเหมือนกัน เพราะความคิดมักถูกผลักดันด้วยอารมณ์ที่ไม่รู้สึกตัว . สังเกตได้ว่าเวลาอารมณ์ดี ความคิดและการใช้เหตุผลของเราจะเป็นอย่างหนึ่ง เวลาไหนอารมณ์ไม่ค่อยดี ความคิดและการใช้เหตุผลของเราอาจจะเป็นอีกอย่างหนึ่ง แม้ในเรื่องเดียวกัน . ในทางจิตวิทยาเบื้องหลังพฤติกรรมและความคิดของมนุษย์ มีอารมณ์ความรู้สึกซ่อนอยู่ข้างใต้เสมอ ทั้งอารมณ์ที่สังเกตได้ง่ายและสังเกตได้ยาก โดยเบื้องหลังของอารมณ์นั้นๆ ก็มักมีความต้องการพื้นฐาน (Need) เป็นเบื้องหลังอีกทีหนึ่ง . ดังนั้นแล้ว ความคิดก็เป็นเพียงเครื่องมือที่เราใช้เพื่อตอบสนองอารมณ์ของใจอันเนื่องมาจากความต้องการพื้นฐาน เราใช้ไปโดยอัตโนมัติ . ในทางพุทธศาสนาความคิดก็เป็นเพียงการปรุงแต่งขึ้น สืบเนื่องมาจากอารมณ์ ความจำได้หมายรู้ และการรับรู้ผ่านอายตนะเป็นที่มา เมื่อขาดสติแล้ว เหตุผลที่ว่าดี (สำหรับเรา) ก็เป็นเหมือนเรือที่ลอยลำอยู่บนน้ำ พร้อมที่จะแปรเปลี่ยนไปตามอารมณ์และการรับรู้ของเราเอง . อารมณ์ที่ว่านั้นมีทั้งลักษณะเป็นสุข (สุขเวทนา) เป็นทุกข์… Continue reading ๕ ข้อต้องรู้ ถ้าไม่อยากเป็นทาสความคิด

๙ วิธี ชนะข้ออ้าง “ไม่มีเวลา” และหยุดเสียเวลาชีวิต

    ๙ วิธี ชนะข้ออ้าง “ไม่มีเวลา” และหยุดเสียเวลาชีวิต   ภาค ปรับวิธีคิด . ๑ เรากำลังเผลอโทษสิ่งนอกตัวหรือไม่ : . การกล่าวว่า “ไม่มีเวลา” หรือ “ต้องใช้เวลามาก” เป็นการโทษสิ่งนอกตัว คือโทษเวลาหรือภาระทั้งหลาย นี่เป็นการบอกปัดความรับผิดชอบออกไปนอกตัว ทั้งที่สาเหตุแท้จริงที่ทำให้เรา “ทำไม่ได้” หรือ “ไม่ได้ทำ” เกิดจากความเพียรมากน้อยของตนเอง และการบริหารจัดการชีวิต . การกล่าวโทษเวลาและภาระจึงยังเป็นการปฏิเสธตัวเองและความจริงที่ว่า เรายังมีความเกียจคร้านอยู่ เรายังมีความหลงอยู่ การกระทำของเราเองเป็นเหตุของความผิดพลาด มิใช่เวลาเป็นเหตุผลสำคัญ . หากเรามัวเฝ้าโทษเวลาน้อย และภาระต่างๆ อันเป็นของนอกตัวแล้ว เมื่อนั้นเราก็กำลังเสียเวลา เพราะไม่เรียนรู้และไม่สำนึกตนว่าเราต้องพัฒนาตนเอง ความผิดพลาดก็จะเกิดขึ้นต่อไป จึงเป็นเหตุทำให้เสียเวลาไม่รู้จบ แม้เพียงแค่เรามีความเพียรมากขึ้นกว่านี้ โทษตนเองไม่โทษสิ่งนอกตัวเกินไป เราก็มีเวลามากขึ้นแล้ว เพราะเหตุที่จะทำให้เสียเวลาในวันหน้าได้ลดน้อยลง . ชีวิตของตัวเราเองคือสิ่งที่เราต้องรับผิดชอบด้วยตัวเอง การใช้ชีวิตในแต่ละวันคือสิ่งที่เราต้องรับผิดชอบด้วยตัวเอง เวลาไม่ใช่สิ่งที่จะรับผิดชอบภาระต่างๆ ให้ได้ เราต้องเคารพตนเองให้มากพอ เป็นผู้ใหญ่ให้มากพอที่จะรู้ดูแลสิ่งต่างๆ ในขอบเขตที่ควร .… Continue reading ๙ วิธี ชนะข้ออ้าง “ไม่มีเวลา” และหยุดเสียเวลาชีวิต

โฮโอโปโนโปโน

      “สี่คำนี้ทรงพลังในการรักษา I love you ฉันรักคุณ I am sorry ฉันขอโทษ Please forgive me โปรดให้อภัยฉัน Thank you ขอบคุณ   “โรเบิร์ต ดิว คิดค้น จากการสังเกตการทำงานนายแพทย์สแตนลี่ ฮิว ในหนังสือของ โจว วิทาลี ในโรงพยาบาล จากหนังสือ “zero limit” Forgiveness love your problem . “เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อสามสิบกว่าปีที่แล้ว ณ โรงพยาบาลแห่งหนึ่งซึ่งเป็นโรงพยาบาลประจำรัฐฮาวาย ซึ่งในโรงพยาบาลแห่งนี้มีแผนกจิตเวชที่รักษานักโทษโรคจิตขั้นร้ายแรงอยู่ คนไข้ที่มารักษาที่นี่มีประวัติที่สุดแสนอุกฉกรรจ์ มีทั้ง ฆาตรกรโรคจิต ฆาตรกรฆ่าข่มขืน ลักพาตัวฯลฯ ซึ่งคนไข้ส่วนใหญ่จะเป็นนักโทษซึ่งถูกส่งตัวมารักษา บ้างก็ก่อนได้รับการพิจารณาโทษหรือในบางรายก็ถูกส่งตัวมาดูอาการว่าสามารถส่งพิจารณาความผิดได้หรือไม่ . “เป็นที่เล่าขานกันว่าสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปในแผนกนั้นทรุดโทรมย่ำแย่เหลือทน ผนังเก่าๆ สภาพห้องที่เหม็นอับ จนแพทย์พยาบาลทั้งหลายต่างไม่อยากที่จะแวะเวียนไปย่ำกรายที่แผนกนี้ พนักงานประจำต่างพากันลาป่วยเป็นว่าเล่น ประกอบกับความหวาดกลัวการถูกทำร้ายจากบรรดานักโทษทั้งหลายที่ได้ชื่อว่ามักจะทำร้ายนักโทษด้วยกันหรือแม้แต่ผู้คุมไม่เว้นแต่ละวัน… Continue reading โฮโอโปโนโปโน

จดหมายจากการพลัดพราก

    จดหมายจากการพลัดพราก 4 ข้อคิดความสูญเสียในพระไตรปิฎก   จิตของเราโดยธรรมชาติมีกลไกปกป้องตัวเองจากความทุกข์ต่างๆ เป็นการหนีบ้าง สู้บ้าง สยบยอมบ้าง ไม่ก็ชะงักงันไป เรียกว่าเป็นหลัก 4F (Fight Flight Freeze Fawn) หลักธรรมในพุทธศาสนาและคำสอนจากศาสนาและจิตวิทยาอันชอบด้วยธรรมอันดีแล้ว ย่อมช่วยขัดเกลาและโน้มน้าวพาใจกล้าหาญเผชิญกับทุกข์ อันเป็นความจริงของชีวิตที่หลีกหนีไม่ได้ ยิ่งหนียิ่งสู้ก็ยิ่งเป็นทุกข์ผูกรัดเป็นปมแก่ใจ . ปมในใจต่างๆ ของเรานั้นล้วนไม่ได้เกิดจากทุกขอริยสัจ หรือความจริงแห่งทุกข์แต่เกิดจากกลไกปกป้องตัวเองของเรานี่เอง ทำให้ทุกข์ตามธรรมชาติเป็นทุกข์ซ้ำซับซ้อน . “ทุกขอริยสัจ คือ ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความประจวบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์” * เป็นความเป็นไปที่เราต่างก็ต้องพบเจอ ไม่อยู่ในฐานะที่จะเปลี่ยนแปลงหรือหลบเลี่ยงได้ เมื่อใดจิตอยู่ในกลไกปกป้องตนเองสี่แบบอย่างขาดสติ จิตก็ยิ่งดิ้นรนจนทุกข์ทวี . จากกลไกปกป้องตนเองสี่แบบ บทความนี้ขอเชิญชวนเราใคร่ครวญในธรรมะสี่ข้อ ซึ่งเป็นข้อคิดจากพระไตรปิฎก ซึ่งเปรียบได้กับจดหมายจากการพลัดพรากส่งมาถึงเราเพื่อบอกกล่าวสิ่งเตือนใจและความเป็นจริงของชีวิตให้รับรู้ . . ๑ ที่สุดของการยึดถือคือการพลัดพราก : . “สิ่งใดที่เกิดแล้ว มีแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว… Continue reading จดหมายจากการพลัดพราก

๕ วิธีเพิ่มความตระหนักรู้ในตนเองให้แก่เด็ก

    ๕ วิธีเพิ่มความตระหนักรู้ในตนเองให้แก่เด็ก   ความตระหนักรู้ในตนเอง (Self-Awareness) คือ การรู้เท่าทันตนและรับรู้กายใจตนเองอย่างมีสติ เป็นฐานสำคัญของการรู้จักตัวเอง (Self-Understanding) แล้วมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในช่วยพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ การมีความสุขและความพึงพอใจในตนเอง ส่งเสริมการแสดงออกทางอารมณ์อย่างเหมาะสม พัฒนาการเข้าสังคม และการรู้จักควบคุมพฤติกรรมของตนเอง . สิ่งนี้เป็นเสมือนรากฐานที่จะช่วยให้เด็กๆ เติบโตอย่างมีความมั่นคงทางจิตใจ ใช้ชีวิตอย่างเห็นคุณค่าของตนและของสิ่งรอบข้าง ไม่ทำสิ่งที่บั่นทอนแก่ตนเองและผู้อื่น จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ครูและผู้ปกครองจะต้องส่งเสริมให้เด็กๆ ได้มีความตระหนักรู้ในตนตั้งแต่ช่วงเยาว์วัย เพื่อให้เขารักตัวเองอย่างเหมาะสมต่อไป ซึ่งจะมีผลทำให้รักผู้คนและสิ่งต่างๆ รอบตัวอย่างเคารพในคุณค่าอีกด้วย . บทความนี้จึงจะบอกเล่าวิธีการบางส่วนเพิ่มเติมความตระหนักรู้ในตนให้แก่เด็กๆ ในฐานะที่เราเป็นพ่อแม่หรือผู้ปกครองของพวกเขาก็ดี หรือเป็นคุณครูก็ดี หรือเป็นผู้ใหญ่คนหนึ่งก็ตาม . ๑ เป็นกระจกให้แก่พวกเขา : . ทักษะการให้ Feedback หรือการสะท้อนและให้คำแนะนำ เป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้ปกครองและครู ซึ่งเป็นเสมือนตัวช่วยให้พวกเขาสังเกตตนเองอย่างชัดเจนคล้ายเป็นการสร้างกระจกให้แก่เด็กๆ ได้ทบทวนย้อนดูตนเองและสิ่งที่พวกเขาทำ ผ่านคำพูดจากตัวเราสะท้อนตัวเขาและเสนอแนะเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาเป็นและทำ . การสะท้อนเด็กๆ ที่ดีนั้นมีองค์ประกอบสำคัญอยู่ ๓ ประการด้วยกัน ได้แก่ เฉพาะเจาะจงและแสดงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น , ชมเชยคุณสมบัติแต่ไม่มากเกินไป และ แยกแยะความรู้สึกออกจากพฤติกรรมและความคิด .… Continue reading ๕ วิธีเพิ่มความตระหนักรู้ในตนเองให้แก่เด็ก

๗ ข้อคิดเรื่องความโกรธ จากพระพุทธเจ้า

      ๗ ข้อคิดเรื่องความโกรธ จากพระพุทธเจ้า   ความโกรธ มักเป็นอารมณ์ที่เราอยากให้คนอื่นแก้ไข แต่มักไม่ค่อยสังเกตและแก้ไขในตนเอง ธรรมะและข้อคิดเรื่องความโกรธไม่เพียงเหมาะแก่ผู้มักโกรธหรือหัวเสียบ่อยเท่านั้น แต่ยังเหมาะกับเราที่หัวเสียไม่บ่อยด้วย ทั้งชีวิตที่มิค่อยแสดงความโกรธ แต่เพียงกระทำตามความโกรธแค่ครั้งเดียวก็อาจส่งผลต่อชีวิตชนิดที่ไม่อาจย้อนคืน . . ๑ ความโกรธมีหลายระดับและลักษณะ : . การที่เราจะรู้ทันและดูแลความโกรธเป็น เราต้องเข้าใจก่อนว่าความโกรธนั้นมีหลายแบบหลายระดับด้วยกัน บางครั้งเราปฏิเสธว่านี่มิใช่ความโกรธ แค่หงุดหงิด รำคาญ ดังพระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า . “ความปองร้าย ความมุ่งร้าย ความขัดเคือง ความขุ่นเคือง ความเคือง ความเคืองทั่ว ความเคืองเสมอ ความชัง ความชังทั่ว ความชังเสมอ ความพยาบาทแห่งจิต ความประทุษร้ายในใจ ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ความเป็นผู้โกรธ ความชัง กิริยาที่ชัง ความเป็นผู้ชัง ความพยาบาท กิริยาที่พยาบาท ความเป็นผู้พยาบาท ความพิโรธ ความพิโรธตอบ ความเป็นผู้ดุร้าย ความเพาะวาจาชั่ว ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต นี้เรียกว่า ความโกรธ.”… Continue reading ๗ ข้อคิดเรื่องความโกรธ จากพระพุทธเจ้า

แก้ง่วง (และใจห่อเหี่ยว) ด้วย ๘ วิธี ๓ คำแนะนำจากพระพุทธเจ้า

    แก้ง่วง (และใจห่อเหี่ยว) ด้วย ๘ วิธี ๓ คำแนะนำจากพระพุทธเจ้า   ครั้งหนึ่งเมื่อพระพุทธเจ้าทรงเห็นพระโมคคัลลานะนั่งโงกง่วงอยู่ จึงทรงปรากฏตรงหน้าให้รู้สึกตัว แล้วทรงตรัสถามด้วยความใส่ใจและให้ข้อแนะนำวิธีแก้อาการง่วงดังกล่าวเพิ่มเติม ซึ่งมิใช่มีประโยชน์แต่เพียงพระโมคคัลลานะเท่านั้น แต่ยังเป็นเทคนิควิธีการที่ใช้ได้แก่ตัวเราเองในการทำงาน การเรียน และการปฏิบัติธรรมอีกด้วย . แบ่งวิธีแก้อาการง่วงและใจห่อเหี่ยวที่ท่านทรงตรัสเป็น ๘ ข้อดังนี้ * โดยไล่เรียงตามลำดับคำแนะนำ หากวิธีการลำดับต้นใช้ไม่ได้ผล ก็ให้ใช้วิธีการลำดับถัดมา  เนื่องด้วยความง่วงเป็นนิวรณ์หรือเมฆหมอกที่ห่อคลุมใจ กลุ่มเดียวกันกับความห่อเหี่ยว หมดพลัง และเศร้าใจ เรียกว่า ถีนมิทธะ คำแนะนำบางประการหลังจากนี้จึงสามารถใช้เพื่อโน้มน้าวจิตให้ตื่นขึ้นจากความห่อเหี่ยว หมดพลัง และเศร้าใจได้ด้วยเช่นกัน . . ๑ พิจารณา สัญญา คือความจำได้หมายรู้และสิ่งนองเนื่องแห่งจิต สำรวจตรวจใจตนเองว่าภายในมีความนึกคิดและเมล็ดพันธุ์แห่งจิตอะไรที่ก่อตัวความง่วงและความห่อเหี่ยวขึ้น เช่นหากชีวิตช่วงนี้เราเอาแต่คิดว่า การงานช่างน่าเบื่อเหลือเกิน , ตัวฉันทำอะไรก็ไม่ดี , ฉันไม่ชอบสิ่งนี้เลย เป็นต้น ความนึกคิดเช่นนี้ใน สัญญา ก็จะเป็นส่วนก่อตัวความง่วงและห่อเหี่ยวแก่ใจ . ๒ ระลึกถึง ธรรมะที่ได้เล่าเรียนมา… Continue reading แก้ง่วง (และใจห่อเหี่ยว) ด้วย ๘ วิธี ๓ คำแนะนำจากพระพุทธเจ้า