คอลัมน์ ความหลังครั้งยุวชนสยาม #๗ ตอน “แข็งขัน” เขียนโดย ประชา หุตานุวัตร เขียนเสร็จเมื่อปลายเหมันต์ ปี ๒๕๔๘ แก้เกลาใหม่ ตุลาคม ๒๕๕๘ กระท่อมน้อยในทุ่งฝัน ชุมชนฟินด์ฮอน สก๊อตแลนด์ ไม่ว่าจะทะเลาะกันอย่างไรก็ตาม พอออกจากค่ายแล้ว ความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันก็มีสูงมาก แม้คนที่เป็นกำลังหลักหลายคนจะสอบติดมหาวิทยาลัยต่างจังหวัด แต่ที่เหลืออยู่ในกรุงก็มากพอที่จะทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันได้ ชีรฯไปติดที่เชียงใหม่ ปกรณ์ ติดมอ.สงขลาฯ ป้อม ติดพยาบาลสงขลา พวกเพื่อนห้องผมและจากเตรียมอุดมฯส่วนใหญ่ติดที่มหิดล รวมทั้งใหญ่ สันติสุข ศุภมิตร และวิญญู กลุ่มใหญ่ที่สุดจากค่ายติดครุศาสตร์จุฬาฯ จำได้ว่า๘ คนด้วยกัน ผู้ชายนั้นนอกจากผมและมนัสแล้ว ก็มีสมพร เพื่อนสนิทที่เรียนด้วยกันมาจากวัดบางปะกอกอีกคน แต่เขาไปเรียนมัธยมที่วัดมกุฎฯ นอกนั้นก็มีศิริวรรณ จินดาพร อุษณีษ์ และ บุญดี วรุธติดเกษตร แล้วก็ห่างออกไปเรื่อยๆ ผลการสอบของผมเอง แม้จะบอกว่าไม่ติดยึด แต่ก็ยังผิดหวังอยู่นิดหน่อยที่ไม่ได้ติด ๕๐ คนแรกของประเทศไทย แต่ยังอยู่ในประเภท เกินร้อยละ ๘๐ เข้าใจว่ามีชื่อประกาศลงหนังสือพิมพ์ด้วย อัตตามาถูกชดเชยได้ก็ตรงที่มาสอบเข้าครุศาสตร์ได้เป็นอันดับแรก แต่ก็หลอกตัวเองไม่ได้มาก… Continue reading “แข็งขัน” คอลัมน์ ความหลังครั้งยุวชนสยาม #๗
Category: ความหลังครั้งยุวชนสยาม
“คล้ายฝัน” คอลัมน์ ความหลังครั้งยุวชนสยาม #๖
คอลัมน์ ความหลังครั้งยุวชนสยาม #๖ ตอน “คล้ายฝัน” เขียนโดย ประชา หุตานุวัตร เขียนเสร็จเมื่อปลายเหมันต์ ปี ๒๕๔๘ แก้เกลาใหม่ ตุลาคม ๒๕๕๘ กระท่อมน้อยในทุ่งฝัน ชุมชนฟินด์ฮอน สก๊อตแลนด์ ผมจำเรื่องราวที่ทำค่ายจริงๆได้น้อยมาก รู้แต่ว่าเป็นช่วงที่ความรู้สึกเข้มข้นมาก มองย้อนไปคล้ายเป็นความฝันเสียมากกว่าความจริง คงเป็นลักษณะจมอยู่ในเหตุการณ์อย่างหมกมุ่นจนไม่ได้มีมุมมองของคนนอกเลย ถ้าจะให้ชัดขึ้นคงต้องอาศัยความจำของคนอื่นด้วย เท่าที่จำได้ พอสอบเสร็จ เราก็แบ่งกันเป็นสองทีมใหญ่ๆ ทีมหนึ่งมนัสเรียกทัพหน้า ไปเตรียมค่ายที่สามโคก เพื่อรับพวกเราสามสิบกว่าคนที่จะมาอยู่ค่ายประมาณ ๒๐ วัน อีกคณะเรียกว่าทัพหลวง เตรียมเสบียงและอุปกรณ์ต่างๆและรับคนส่วนใหญ่ตามไป ผมไปกับทัพหน้า มนัสอยู่ทัพหลัง มนัสเคยเป็นโต้โผทำค่ายลูกเสือมาแล้ว จึงคล่องงาน พวกที่อยู่ทัพหน้าก็ทำหน้าที่ขุดส้วม เตรียมที่พักชายหญิง แยกจากกัน เตรียมที่อาบน้ำอาบท่า เตรียมที่ทางสำหรับทำอาหาร เราอาศัยวัดเป็นที่พักและประชุม พระมีไม่มาก รูปหรือสองรูปเท่านั้น ผมเข้าใจว่าตอนนี้มีรุ่นน้องชั้นมศ๔ เข้ามาร่วมจริงจังหลายคนแล้ว คนที่จำได้แม่นที่สุดก็คือประยุทธ พฤกษางกูร จากเตรียมอุดมฯ ที่ไปเตรียมค่ายด้วยกัน เนื่องจากค่ายฝึกกำลังคน ไม่เน้นการสร้างวัตถุ ช่วงเช้าของทุกวันจึงมีรายการบรรยาย ระหว่างนี้คนที่อยู่กรุงเทพฯ ก็ติดต่อเชิญวิทยากรให้ไปบรรยายในค่ายด้วย ผมเข้าใจว่าบางคนอาจเชิญไว้ก่อนสอบ… Continue reading “คล้ายฝัน” คอลัมน์ ความหลังครั้งยุวชนสยาม #๖
“เตรียมค่าย” คอลัมน์ ความหลังครั้งยุวชนสยาม #๕
คอลัมน์ ความหลังครั้งยุวชนสยาม #๕ ตอน “เตรียมค่าย” เขียนโดย ประชา หุตานุวัตร เขียนเสร็จเมื่อปลายเหมันต์ ปี ๒๕๔๘ แก้เกลาใหม่ ตุลาคม ๒๕๕๘ กระท่อมน้อยในทุ่งฝัน ชุมชนฟินด์ฮอน สก๊อตแลนด์ กลับมาเรื่องกลุ่มยุวชน หลังจากคิดเรื่องตั้งกลุ่มไม่นานความคิดเรื่องอยากทำค่ายฝึกกำลังคนก็เกิดขึ้น นี้เป็นผลโดยตรงจากข้อเขียนเรื่องค่ายฝึกกำลังคนของโกมล คีมทอง ซึ่งสอดคล้องกับความคิดของท่าน อาจารย์พุทธทาสเรื่องก่อนจะทำประโยชน์ให้สังคมต้องพัฒนาตนเองก่อน สมัยนั้นนักศึกษาตามมหาวิทยาลัยต่างๆนิยามออกไปทำค่ายอาสาสมัครในชนบทโดยสร้างโรงเรียนหรือถาวรวัตถุอื่นๆในชนบท แต่ชมรมปริทัศน์เสวนาที่โกมลสังกัดอยู่ได้ก่อกระแสวิพากษ์วิจารณ์แนวทางนั้นขึ้น ว่าเน้นแต่วัตถุไม่ได้เน้นเรื่องสร้างคน โกมลได้ริเริ่มค่ายการศึกษาขึ้นที่คณะครุศาสตร์ ผมเข้าใจว่าน้าอาจที่ปรึกษาค่ายของเราและเป็นรุ่นเดียวกับโกมลก็ไปร่วมค่ายนี้ของโกมลด้วย ข้อได้เปรียบของนักเรียนมัธยมรุ่นผมอีกอย่างที่ได้อ่านงานของโกมลก็คือ ทำให้เรารู้ว่าพวกหัวก้าวหน้า ในมหาวิทยาลัยนั้นเขาคุยอะไรกัน เขาเถียงประเด็นอะไรกันบ้าง พอก้าวเข้ามหาวิทยาลัยในปีต่อมา พวกเราก็เลยอยู่หัวขบวนในเรื่องความคิดความอ่านโดยปริยาย แต่ทั้งนี้ก็ยังมีปัจจัยอื่นเข้าเสริมด้วย โดยเฉพาะเกี่ยวข้องกับเรื่องเนื้อหาของค่ายและสายสัมพันธ์กับจัดตั้งของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยที่ค่อยๆโยงเข้ามา ช่วงนั้นมีค่ายที่ค่อนข้างก้าวหน้าอีกแบบหนึ่งคือค่ายเยาวชนประชาธิปไตยของ ธัญญา ชุนชฎาธาร หรือพี่หงา ซึ่งเรารู้จักคุ้นเคยที่งานสัมมนาอุดมคติคนหนุ่มสาวที่เชียงใหม่ ที่มีขึ้นในเดือนพฤษจิกายน ปี ๒๕๑๔ แต่เราอาจรู้จักพี่หงามาก่อนหน้านี้ตั้งแต่ปริทัศน์เสวนาแล้วก็ได้ เพราะจำได้ว่าพออ่านหนังสืองานศพของโกมล แล้วก็สืบเสาะตามที่อยู่ในหนังสือไปที่ร้านศึกษิตสยาม และได้พบกับสองสาวนักแสวงหาจากศึกษานารี ดังกล่าวมาแล้ว จากนั้นก็ได้ไปร่วมเสวนาเป็นครั้งคราว คนที่เราหรือผมสนิทสนมด้วยมากที่สุดเป็นคนแรกเห็นจะเป็นพี่เชาวชาติ นัยนแพทย์… Continue reading “เตรียมค่าย” คอลัมน์ ความหลังครั้งยุวชนสยาม #๕
“ตามขุด” คอลัมน์ ความหลังครั้งยุวชนสยาม #๔
คอลัมน์ ความหลังครั้งยุวชนสยาม #๔ ตอน “ตามขุด” เขียนโดย ประชา หุตานุวัตร เขียนเสร็จเมื่อปลายเหมันต์ ปี ๒๕๔๘ แก้เกลาใหม่ ตุลาคม ๒๕๕๘ กระท่อมน้อยในทุ่งฝัน ชุมชนฟินด์ฮอน สก๊อตแลนด์ เมื่อมาถามตัวเองตอนนี่ว่าอะไรทำให้พวกเราในวัยนั้น เอาจริงเอาจังกับการตั้งกลุ่มยุวชนสยามโดยมีเพียงอุดมคติกว้างๆว่าจะทำประโยชน์ต่อส่วนรวม ยังไม่มีอุดมการณ์อะไรให้ยึดมั่นจริงจังนัก และหลายคนในหมู่พวกเราก็เป็นพวกเรียนดี เอาดีตามที่สังคมสมัยนั้นยกย่องได้สบายๆตามวิถีของตนๆ ผมเข้าใจว่ามีหลายเหตุปัจจัยยากที่จะหาข้อสรุปทั่วไปได้ แต่เท่าที่พอเห็นและสังเกตได้และมองย้อนหลังไปสี่ทศวรรษ ประการแรกน่าจะเกิดจากความแปลกแยกอันเนื่องมาจากการแก่งแย่งแข่งขันในหมู่นักเรียนเรียนดีประการหนึ่ง ประการที่สองน่าจะเป็นความมันอันเกิดจากการได้ทำกิจกรรมนอกหลักสูตร ประการสุดท้ายน่าจะเป็นเพราะเราเริ่มได้รับกระเส็นกระสายของวัฒนธรรมคนหนุ่มสาวหัวก้าวหน้าในมหาวิทยาลัยกลุ่มที่กล่าวมาแล้ว โดยเฉพาะจากประวัติของโกมล คีมทอง สี่ปีกว่าในสวนกุหลาบก่อนที่ชีฯจะมาชวนผมตั้งกลุ่มนั้น ผมรู้สึกได้ว่าการแข่งขันเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ และเพื่อนจริงๆน้อยลงไปเรื่อยๆ โดยเฉพาะนับแต่เมื่อขึ้นชั้นม.ศ.๒ และผมเลื่อนจากห้องราชินีมาอยู่ห้องราชา สมัยนั้นสอบไล่ชั้นม.ศ.๕เป็นข้อสอบส่วนกลาง และมีการเทียบคะแนนทั่วประเทศ โรงเรียนผมและโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาจะผลัดกันได้ตำแหน่งที่หนึ่งประเทศไทยกันเป็นประจำ นอกจากนั้นนักเรียนที่ได้ตำแหน่ง ๕๐ คนแรก จะได้รับการจารึกชื่อไว้บนกระดานเกียรติยศของโรงเรียน เรียกว่าติดบอร์ด เมื่อมาอยู่ห้องราชา ที่มีอยู่ประมาณ ๓๐กว่าคน ตำแหน่งที่หนึ่งประเทศไทยก็ต้องถือว่าเป็นไปได้สำหรับทุกคน จำได้ว่าตอนอยู่ชั้นม.ศ.๓ ยังสนุก ตอนพอขึ้นถึงชั้นม.ศ. ๔ ผมก็ล้าเต็มที เพื่อนสนิทเหลือเพียงคนสองคน ทุกคนเอาแต่เรียน เวลาสอบบางคนถึงกับมือไม้สั่นเพราะความวิตกกังวล แม้ผมจะออกจากโรงเรียนมานาน แต่ยังฝันร้ายเรื่องสอบเสมอๆเป็นสิบปี แต่ตอนนั้นความล้า… Continue reading “ตามขุด” คอลัมน์ ความหลังครั้งยุวชนสยาม #๔
“สร้างนาม” คอลัมน์ ความหลังครั้งยุวชนสยาม #๓
คอลัมน์ ความหลังครั้งยุวชนสยาม #๓ ตอน “สร้างนาม” เขียนโดย ประชา หุตานุวัตร เขียนเสร็จเมื่อปลายเหมันต์ ปี ๒๕๔๘ แก้เกลาใหม่ ตุลาคม ๒๕๕๘ กระท่อมน้อยในทุ่งฝัน ชุมชนฟินด์ฮอน สก๊อตแลนด์ การหาชื่อกลุ่มก็เป็นเรื่องที่พูดกันมาก คุยกันหลายรอบ จำได้ว่ามีเพื่อนชื่อสุชาย เป็นประธานชมรมพุทธศาสน์หรือภาษาไทย ผมจำไม่ได้แล้ว แต่ห้องชมรมติดกันกับชมรมภาษาอังกฤษที่ผมเป็นประธาน เป็นนักเรียนแผนกศิลป์ เป็นคนเรียบร้อย แบบมาตรฐาน คงอ่านหนังสือนอกห้องเรียนมากกว่าพวกเรา เขาเห็นมนัสกับผมครั่งท่านอาจารย์พุทธทาสและสวนโมกข์เขาก็เหล่ๆ อยู่ แต่เราก็ทำงานร่วมกัน เขามาช่วยงานภาษาอังกฤษที่เราจัดกับศึกษานารีด้วย ดูเหมือนจะขึ้นโต้วาทีด้วยกัน เขามีพี่ชายอยู่มหาวิทยาลัย รุ่นไม่ห่างพวกเรา ทำให้สุชายรู้เรื่องกลุ่มเรื่องชมรมค่ายต่างๆในมหาวิทยาลัยบ้าง และดูเหมือนจะมีกลุ่มแบบไม่เป็นทางการอยู่ด้วย ชื่อกลุ่มยุวชนอาสา พี่ชายเขาก็เคยมาประชุมกับพวกเรา อาจจะเป็นการประชุมครั้งแรกที่บ้านโตดังกล่าวมาแล้วด้วย ผมชอบชื่อนี้ ฟังเพราะดี แต่มีคนใช้เสียแล้ว ก็ต้องคิดกันใหม่ ตอนนั้นรัฐบาลกำลังโฆษณาต่อต้าน “ผู้ก่อการร้าย” อย่างมากมาย ชีฯเลยเสนอชื่อ “ผู้ก่อาการดี” ผมก็ตรองเรื่องชื่อมาก จนเช้าวันหนึ่งขณะที่กำลังถอนขนไก่ช่วยงานที่บ้านก่อนออกมาโรงเรียน ชื่อสองชื่อผุดขึ้นมา ชื่อหนึ่งคือยุวชนสยาม อีกชื่อคือ ยุวสยามินทร์ แต่ตอนนั้นไม่แน่ใจว่าชื่อหลังหมายถึงอะไรกันแน่… Continue reading “สร้างนาม” คอลัมน์ ความหลังครั้งยุวชนสยาม #๓
“ก่อรูป” คอลัมน์ ความหลังครั้งยุวชนสยาม #๒
คอลัมน์ ความหลังครั้งยุวชนสยาม #๒ ตอน “ก่อรูป” เขียนโดย ประชา หุตานุวัตร เขียนเสร็จเมื่อปลายเหมันต์ ปี ๒๕๔๘ แก้เกลาใหม่ ตุลาคม ๒๕๕๘ กระท่อมน้อยในทุ่งฝัน ชุมชนฟินด์ฮอน สก๊อตแลนด์ ผลจากการประชุมอย่างหนึ่งที่แน่ๆก็คือเราต้องหาสมาชิกเพิ่ม พยายามขยายไปตามโรงเรียนต่างๆให้มากที่สุด ผมจำได้ว่าเราทำกันสองสามวิธี ประการแรกก็คือไปหาเพื่อนต่างโรงเรียนที่เรารู้จัก ผมเข้าใจว่า ป้อม สุจินดา เพื่อนบ้านงิ้วรายของชีฯเป็นคนหนึ่งที่เข้ามาด้วยวิธีนี้ เธอเรียนอยู่สตรีวัดระฆัง ผมชวนหลายสาวที่เรียนอยู่สตรีวิทย์ มนัสชวนเพื่อนจากสุวรรณาราม ผมเข้าใจว่าเพื่อนศึกษานารีที่จัดงานภาษาอังกฤษด้วยกัน มาร่วมประชุมตั้งแต่ต้นที่บ้านโตแล้ว แต่มีสองคนจากศึกษานารี ที่ไม่ได้ร่วมกับงานชมรมฯ แต่ไปเจอกันที่ศึกษิตสยาม คือรังสิมา ลิมปิสวัสดิ์ และ วาสนา พุ่มพัดตุน สองคนนี้เป็นศิษย์ก้นกุฏิของอาจารย์ภัทรศรี อนุมานราชธน หนีโรงเรียนไปเหมือนเรา เพราะอ่านหนังสืองงานศพของโกมล คีมทองเหมือนกัน จำได้ว่าตอนจะตั้งกลุ่ม นัดเจอเธอทั้งสองที่ข้างห้องสมุดวัดอนงคาราม ตรงวงเวียนเล็กในสมัยนั้น เธอทั้งสองอยู่มศ.๔ ผมอยู่มศ.๕ สันติสุข โสภณสิริอาจจะอยู่ด้วย เพราะเข้าคุ้นกับห้องสมุดนี้ดี เขาเคยบอกว่าเขาอ่านหนังสือหมดทุกเล่มในห้องสมุดนี้ อีกวิธีหนึ่งคือไปตามโรงเรียนที่มีครูฝึกสอนที่เคยมาสอนเรา และสนิทสนมกัน ผมจำได้ว่าทำให้เราได้เพื่อนจากวิทยาลัยครูธนบุรี มาร่วมด้วย… Continue reading “ก่อรูป” คอลัมน์ ความหลังครั้งยุวชนสยาม #๒
“จุดเริ่มต้น” คอลัมน์ ความหลังครั้งยุวชนสยาม #๑
คอลัมน์ ความหลังครั้งยุวชนสยาม #๑ ตอน “จุดเริ่มต้น” เขียนโดย ประชา หุตานุวัตร เขียนเสร็จเมื่อปลายเหมันต์ ปี ๒๕๔๘ แก้เกลาใหม่ ตุลาคม ๒๕๕๘ กระท่อมน้อยในทุ่งฝัน ชุมชนฟินด์ฮอน สก๊อตแลนด์ เย็นวันนั้นของเดือนสิ่งหาคม ๒๕๑๔ เป็นเย็นวันสุดท้ายของงานสังคมนิทัศน์ ชีรชัย มฤคพิทักษ์เดินมาหาผมที่ห้องนิทัศน์การเกี่ยวกับสวนโมกข์ มนัส จินตณดิลกกุล เพื่อนๆจากศึกษานารีที่เคยจัดงานของชมรมภาษาอังกฤษ และผมเป็นคนช่วยกันจัดห้องนี้ ชีรชัย ชวนให้มนัสกับผมไปช่วยพูดหาเสียงที่โรงอาหารใกล้ศาลาพระเสร็จในโครงการ “เลือกตั้งจำลอง” ที่เขาและเพื่อนอีกหลายโรงเรียนเป็นคนจัด เป็นการพูดเกือบจะปิดท้าย จำได้ว่าประเด็นเก๋ของการหาเสียงของคณะนี้ก็คือ ดอกไม้ประจำชาติไทยคือดอกเบี้ย เพราะรัฐกู้เงินต่างประเทศมามาก และงบประมาณจำนวนมากถูกใช้ไปเพื่อชำระดอกเบี้ย คนที่พูดเรื่องได้เด็ดคือพเยาว์ ยรรยงยุทธ์ นักเรียนจากโรงเรียนเอกชนฝั่งธนฯผมจำชื่อไม่ได้เสียแล้ว เมื่อชีรชัยมาชวนให้ผมไปพูดนั้น “เฮ้ย กูพูดไม่เป็นนะเรื่องอื่น พูดได้เรื่องเดียวเรื่องการศึกษา” ผมออกตัวเพราะกำลังตื่นเต้นกับแนวคิดวิพากษ์การศึกษาของท่านอาจารย์พุทธทาส “เออ นั่นแหละ เอาเลย” ชีฯให้กำลังใจ ที่ผมมั่นใจว่าพูดเรื่องนี้ได้ เพราะตอนนั้นผมกำลังอ่านงานท่านอาจารย์พุทธทาสมาก ท่านก็โจมตีระบบการศึกษามาก เรื่องนี้คงขึ้นสมอง ประเด็นที่พูดก็ไม่น่าจะมีอะไรมากไปกว่า ระบบการศึกษาปัจจุบันทำให้คนเห็นแก่ตัว และทำลายความเป็นมนุษย์อะไรทำนองนั้น ผมคงพูดได้มันพอสมควรเพราะกำลังเบื่อหน่ายกับการแข็งขันในห้องเรียนอย่างยิ่ง… Continue reading “จุดเริ่มต้น” คอลัมน์ ความหลังครั้งยุวชนสยาม #๑