6 อ. ที่แอบทำให้จิต…โง่ (ตอนจบ) จิตฉลาด มีความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น และผู้เบิกบาน เรียกว่า พุทธะ จิตนี้ไม่ใช่ตัวเราหรือของใคร แต่เป็นภาวะหนึ่งที่เกิดได้แก่ทุกผู้ทุกนาม จิตเดิมแท้มีความเป็นพุทธะอยู่เช่นนั้นทุกๆ คน แต่เพราะความโง่ที่ครอบงำจิตใจด้วยกิเลสน้อยใหญ่ แปรเปลี่ยนให้กลายเป็นผู้ไม่รู้ หลับใหล และทุกข์ทน เรารู้ตัวได้ไม่ยากว่าตอนนี้กำลังมีจิตแบบใด หากรู้สึกหนักหนา วุ่นวาย หรือยึดติดใน อ. อัตตา นั่นก็มีจิตโง่ แทนที่จะเบาสบาย สงบ และวางใจใน อ. อนัตตา คือมีจิตที่ฉลาด บทความตอนจบของเนื้อหาชุดนี้ ขอบอกเล่าอีก 3 อ. ที่เป็นกิเลสทำให้จิตของเราหมองเศร้าและขลาดเขลา แต่ละข้อมีความเชื่อมโยงกันตามลำดับที่บทความหยิบยกขึ้นมา ขอให้ลองสังเกตดู นอกจากนี้ขอให้อ่านเพื่อเรียนรู้ผลกระทบของแต่ละ อ. ต่อชีวิตของเราในปัจจุบันและอดีตที่ผ่านมา เพื่อขัดเกลาให้จิต เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น และผู้เบิกบานอย่างแท้จริง อ่านตอนแรกได้ที่เว็บไซต์ https://www.dhammaliterary.org/6อ-ที่แอบทำให้จิตโง่1/ . . อ.สี่ อคติ เป็นคำที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี หมายถึงความลำเอียง… Continue reading 6 อ. ที่แอบทำให้จิต…โง่ (ตอนจบ)
Category: ไกด์โลกจิต
6 อ. ที่แอบทำให้จิต…โง่ (ตอนแรก)
หลังจากเขียนบทความชุด จิตโง่ vs จิตฉลาด ได้สามตอน ก็ถึงเวลาเฉลยว่า จิตโง่เกิดขึ้นมาได้อย่างไร อะไรคือจิตโง่ อะไรคือจิตฉลาด เราจะเข้าใจคำตอบได้ก็ด้วยการตระหนักว่า อ. อะไรบ้างซึ่งส่งผลให้จิต…โง่เขลาลง ใครยังไม่ได้อ่านสามตอนก่อนหน้า เปิดอ่านที่เว็บไซต์ตามลิงก์ดังนี้ หรือจะข้ามไปก่อน ค่อยย้อนมาก็ย่อมได้ จิตโง่ Vs จิตฉลาด (ตอนแรก) https://www.dhammaliterary.org/จิตโง่-vs-จิตฉลาด-ตอนแรก/ จิตโง่ Vs จิตฉลาด (ตอนสอง) https://www.dhammaliterary.org/จิตโง่-vs-จิตฉลาด-ตอนสอง/ จิตโง่ VS จิตฉลาด (ตอนสาม) https://www.dhammaliterary.org/จิตโง่-vs-จิตฉลาด-ตอนสาม/ . . อ.แรก อวิชชา สิ่งที่ทำให้เกิด จิตโง่ ก็คือความ โง่ นั่นเอง เป็นคำตอบแรกแบบกำปั้นทุบดินดัง ตุ้บ แต่ความโง่คืออะไร ความโง่ก็คือความไม่รู้ นี่ก็เป็นคำอธิบายตรงๆ แบบกำปั้นทุบดินอีกหนดัง ตั้บ ! อวิชชา คือความโง่ ความไม่รู้ ซึ่งเกิดขึ้นจากการขาดสติปัญญา …ไม่รู้…ในที่นี้หมายถึงไม่รู้ความเป็นจริงอย่างที่เป็นจริง ความโง่นี้… Continue reading 6 อ. ที่แอบทำให้จิต…โง่ (ตอนแรก)
จิตโง่ VS จิตฉลาด ตอนที่สาม
7 จิตที่โง่ โทษคนอื่นและสิ่งต่างๆ ทำให้ทุกข์ จิตที่ฉลาด ยอมรับว่าชีวิตคือความทุกข์ . คำสอนสำคัญหนึ่งในพระพุทธศาสนา เป็นสิ่งที่ชาวพุทธเองหลายคนพยายามปฏิเสธ หรือเรียกว่าหนีก็ว่าได้ แม้จะเป็นคำสอนที่เราท่องกันบ่อยๆ ในบทสวดมนต์ก็ตาม คำสอนที่ว่านั้นคือ แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์ | แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์ | แม้ความตายก็เป็นทุกข์ | แม้ความโศกความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจก็เป็นทุกข์ | ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์ | ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์ | มีความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้นนั่นก็เป็นทุกข์… กล่าวโดยย่นย่อที่สุด ชีวิตนั่นแหละคือความทุกข์ จิตที่ยังโง่เขลา คือเบาปัญญาในการยอมรับความจริงดังกล่าว ก็จะพยายามหนีความจริงด้วยการหาแพะรับบาป โทษคนนั้นโทษสิ่งนี้เป็นตัวบั่นทอนความสุขที่พึงมี เป็นตัวก่อทุกข์แก่กายและใจตนเอง เราสังเกตตัวอย่างในเรื่องนี้ได้ไม่ยาก เป็นตั้งแต่ครั้งโบราณกาล เมื่อฝนแล้งก็ดี เมื่อเกิดโรคระบาด หรือความทุกข์ยากเกิดขึ้น มนุษย์หลายส่วนก็จะหาที่กล่าวโทษ มิว่าจะเป็นปีศาจ แม่มด เทวดา ฯ นำมาสู่การขับไล่ การบูชายัญ การขว้างปาก้อนหิน การเผาทั้งเป็น ฯ เฉกเช่นพิธีกรรม และการลงโทษต่างๆ… Continue reading จิตโง่ VS จิตฉลาด ตอนที่สาม
จิตโง่ Vs จิตฉลาด (ตอนสอง)
5. จิตโง่ คิดว่าตัวเองเป็นเจ้าของชีวิต จิตฉลาด คิดว่าชีวิตเป็นเพียงการยืมมา . จิตเมื่อยังขาดการฝึกฝนจะถือว่าร่างกายนี้คือตัวฉัน คือสิ่งที่เป็นฉัน เมื่อฝึกฝนพอสมควรแล้ว จึงจะรู้ว่ามันไม่ใช่เสียทีเดียว . ร่างกายนี้จะว่าเป็นของตนก็ไม่เชิง เป็นตัวตนก็ไม่ใช่ เป็นกล้ามเนื้อ เลือด ลม และธาตุต่างๆ ก่อตัวอยู่รวมกัน มาจากอาหารที่คนอื่นเป็นผู้ทำให้ วัตถุดิบทั้งหลายก็มีผู้ปลูก พืชสัตว์เหล่านั้นก็มีชีวิตของตัวเอง ได้รับการเลี้ยงดูจากเกษตรและธรรมชาติ . เรานำร่างกายของพืชและสัตว์มาประกอบอาหาร เมื่อดื่มกินเข้ามาก็แปรเปลี่ยนสภาพกลายเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหนังมังสา ร่างกายของพืชสัตว์เหล่านั้นก็เป็นผลพวงจากสิ่งอื่น มีแสงแดด ดิน และอากาศอยู่ในพวกเขา ซึ่งส่งทอดมาถึงร่างกายคนในตอนนี้ . เรากำลังอาศัยร่างกายของพืช สัตว์ และธรรมชาติ หาใช่ของคนอย่างเดียวไม่ . เซลล์ ระบบประสาท อวัยวะต่างๆ อาศัยอินทรีย์สารทั้งหลายหล่อหลอม มีส่วนที่ส่งผ่านมาทางแม่ พ่อ ญาติ บรรพบุรุษ สิ่งแวดล้อม อากาศที่หายใจ และอีกมากมายเป็นปัจจัยเกิดกลายเป็นร่างกาย ล้วนมาจากธรรมชาติทั้งสิ้น . ร่างกายจึงไม่ใช่ตัวตนของใครเสียทีเดียว เป็นเพียงธรรมชาติ มาจากธรรมชาติ เกิดจากดิน น้ำ… Continue reading จิตโง่ Vs จิตฉลาด (ตอนสอง)
จิตโง่ Vs จิตฉลาด (ตอนแรก)
1 จิตที่โง่ เอาอัตตาไปรับคำวิจารณ์ จิตที่ฉลาด เฝ้าดูคำวิจารณ์แล้วรับประโยชน์ . คำพูดหมิ่น คำด่าว่า คำวิจารณ์ อยู่ในสิ่งที่เรียกว่า วาจา โดยธรรมชาติของมันแล้วเป็นเพียงลมลอยออกมาจากปากพร้อมกับคลื่นเสียงที่สั่นสะเทือน หรืออาจเป็นเพียงอักษรที่ก่อร่างขึ้นด้วยหมึกและจอภาพ เหล่านี้คือธรรมชาติของวาจา เป็นแค่สิ่งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปตามปัจจัย . การคิดเอาว่านั่นเป็นวาจาที่ไม่ดี เป็นคำดูหมิ่น เป็นคำวิจารณ์ หรือเป็นคำตัดสิน เป็นธรรมชาติของจิตที่ตีความ ซึ่งสมมติให้สิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน มีตัวตนขึ้นมา ตามสัญญาคือความจำได้หมายรู้แยกแยะเอาว่า คำแบบใดเป็นลักษณะที่น่าพึงใจไม่น่าพึงใจ . จิตที่โง่ นอกจากการจะตีความต่างๆ นานาจากลมที่พัดพาจากปากผู้อื่นหรืออักษรที่ปรากฏบนหน้ากระดาษและหน้าจอ เกิดเป็นความหมายที่ก่อความรู้สึกแก่ใจแล้ว ยังเอาอัตตาตัวเองไปรับให้เป็นทุกข์ . ธรรมชาติของลม เมื่อพัดพาไปไม่เจอสิ่งที่ต้องกระทบมันก็จะเป็นเพียงอากาศเคลื่อนไหวซึ่งจะเบาลงไปตามกาล ธรรมชาติของวาจาก็เช่นกัน หากไม่มีสิ่งที่ต้องกระทบแล้วมันจะเลือนลางจางไปเอง . เพราะมีอัตตาเป็นตัวรับ วาจาจึงมีสิ่งให้ต้องกระทบ เกิดเป็นอารมณ์ความพึงใจ ไม่พึงใจ เกิดเป็นการตีความตามแต่ใจตัวเองไปต่างๆ นานา ทำให้วาจาที่เป็นแค่สิ่งไม่ใช่ตัวตน เป็นเพียงลมหรืออักษรกลายเป็นดาบที่ทิ่มแทงใจ . จิตโง่ก็จะโทษคนอื่น โทษสิ่งภายนอก คำพูดเธอทำให้ฉันทุกข์ใจ , เธอตัดสินฉัน ,… Continue reading จิตโง่ Vs จิตฉลาด (ตอนแรก)
ธรรมะ กับ เรื่องวัว สำหรับปีวัวและปีไม่วัว
บทความ ไกด์โลกจิต ตอนนี้ได้ขอน้อมนำข้อคิดจากพระไตรปิฎกสามข้อใหญ่ และภาพปริศนาธรรมคนจับวัว ซึ่งเชื่อมั่นว่าสามารถช่วยให้เรารอดปีวัวและปีใดๆ หลังจากนี้ รวมทั้งการเป็นนายเหนือวัวภายในตัวตนของตัวเอง ขอให้ดูรอยเท้าที่ย่ำบนพื้นแล้วเดินตามไป . . 1 อยู่อย่างโคประเภทใด ให้เลือกเอง : พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า วัวตัวผู้ มีอยู่สี่แบบด้วยกัน แบบหนึ่ง ระรานพวกพ้องของตัวเอง ไม่ระรานพวกคนอื่น แบบหนึ่ง ระรานพวกคนอื่น ไม่ระรานพวกพ้องตนเอง แบบหนึ่งก็ระรานสร้างความเสื่อมเสียไปทั่ว แบบหนึ่งก็ไม่ระรานและไม่สร้างความเสื่อมเสียให้พวกใด *(1) วัวที่ว่านั้นก็เปรียบเหมือนคนสี่จำพวก ท่านมิได้ทรงตรัสโดยตรงว่าแบบใดดีที่สุด แต่ให้เราตัดสินใจด้วยตนเองว่า จะประพฤติแบบใด และรับผลที่เป็นเช่นนั้นด้วยตนเอง โคยังมีหลายฝูง คนก็มีหลายพวกพ้อง มีความคิดเห็นแตกต่างกันเป็นฝ่ายๆ มีนิสัยจำเพาะผิดแผกกัน เราจะเป็นวัวที่ยอมรับความต่าง หรือเป็นสัตว์มีเขาที่อยากเอาชนะอย่างเดียว เราจะทำให้ปีวัวปีนี้และปีใดๆ เป็นชีวิตที่ดี ก็อยู่ที่การการวางตัวและความเป็นมิตรของตนเอง จะอยู่อย่างสร้างมิตร จะอยู่อย่างสร้างศัตรู จะเลือกทำทั้งสองอย่างกับบุคคลที่เราคิดว่าสมควรได้รับ หรือจะไม่ขัดแย้งหรือแข่งดีกับใคร เราเลือกเอง ท้ายที่สุดแล้วกรรมที่วัวหรือตัวเราเองสร้างไว้ก็จะย้อนคืนกลับมาที่ตน เพราะชีวิตเราคือผู้เลือกที่สำคัญ ปีใดจะเป็นปีที่ดีหรือปีชง เราเป็นผู้ตัดสินใจ จะเป็นปีแห่งสงคราม หรือปีแห่งสันติภาพ ล้วนขึ้นอยู่กับเราเลือกเป็นวัวแบบใด… Continue reading ธรรมะ กับ เรื่องวัว สำหรับปีวัวและปีไม่วัว
สิ่งที่เราเรียนรู้ได้จากปฏิทิน
ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นครูแก่หัวใจที่พร้อมจะเรียนรู้ ปฏิทินที่อยู่กับมนุษย์มาปีแล้วปีเล่าก็เช่นกัน ลองมองเขาอย่างพินิจใส่ใจ นอกจากวันเดือนปี วาระสำคัญ หรือนัดหมายที่เขาบอกกับเราแล้ว สิ่งใดที่เราอาจเรียนรู้ได้จากปฏิทิน 1 ความสัมพันธ์ที่ดีไม่จำเป็นต้องมีตลอดไป ทุกอย่างมีวาระของตนเอง สิ่งดีๆ ล้ำค่า ใครบางคน หรือบางสิ่งที่ดีต่อใจ แค่มาอยู่กับเราเพียงชั่วคราว คนที่ช่วยเหลือเรา รักกัน ส่งเสริมเกื้อกูลดูแล แต่งงาน หรือเข้ามาเปลี่ยนแปลงชีวิต พวกเขามีวาระของตนเองดั่งเช่นปฏิทิน อาจสั้นกว่าหนึ่งปี อาจยาวกว่าหนึ่งปี แต่เมื่อถึงเวลาแล้วก็หมดหน้าที่ของเขา เราอาจมิได้อาลัยอาวรณ์เมื่อต้องทิ้งปฏิทินปีเก่าไป เพราะเห็นว่าเป็นเพียงวัตถุสิ่งของ หาใหม่ได้ไม่ยาก เก็บไว้ก็ใช้งานมิได้แล้ว แต่เขาก็เป็นตัวแทนของทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตที่เข้ามาหาเรา อยู่กับเรา ช่วยเหลือดูแล เคียงข้างกัน หรือทำหน้าที่ของตนเองที่มีต่อเรา ในวาระหนึ่งเท่านั้น เมื่อหมดวาระและหน้าที่ของกันแล้ว ความสัมพันธ์นั้นก็จะจบลงหรือจากกัน ทุกคนและทุกสิ่ง ต่างโคจรมาหาเราด้วยแรงดึงดูดของหน้าที่บางอย่าง ปฏิทินเองก็มาอยู่ด้วยกันกับเราเพราะหน้าที่ นอกจากบอกวันเดือนปีแล้ว อาจทำหน้าที่แทนสะพานหัวใจ แทนความห่วงใยจากใครบางคนที่มอบให้แก่เรา หรืออาจทำหน้าที่ส่งต่อข้อคิดกับภาพเตือนใจ ผ่านเนื้อหาที่สอดแทรกบนปฏิทินด้วยก็ได้ แม้แต่คนที่ไม่ชอบใจ สิ่งที่เลวร้าย ต่างก็โคจรมาหากายใจนี้เพื่อทำหน้าที่บางอย่างที่มีแก่กัน เพียงชั่วคราวเท่านั้น ก่อนจากลา เราไม่ได้ชี้วัดว่าปฏิทินที่มีค่าจะต้องอยู่กับเราตลอดไป ไม่ได้บอกว่าปฏิทินนี้แย่หรือไม่เพียงเพราะว่าอยู่ด้วยกันแค่หนึ่งปี ความสัมพันธ์ต่างๆ ก็เช่นเดียวกัน… Continue reading สิ่งที่เราเรียนรู้ได้จากปฏิทิน
8 ข้อคิด ไกด์โลกจิต ประจำปี 2563
รวมข้อความไขข้อคิดจากคอลัมน์ไกด์โลกจิต ประจำปีนี้ ทั้ง 8 ตอน ขอบคุณผู้ติดตาม ผู้อ่าน และศิษย์เก่าสถาบันธรรมวรรณศิลป์ที่ให้การติดตามมาตลอดทั้งปี และจากนี้ไป . 1 “ความกลัวนั้นเองทำให้ความตื่นตัวเป็นความ “ตื่นกลัว” ทำให้คิดมากหวาดระแวง วิตกกังวลไปต่างๆ จนเกินความเป็นจริง ความเครียดเกินครึ่งหนึ่งในชีวิตเกิดจากความคิดของเราเอง ความคิดที่ถูกผลักดันด้วยความกลัวอย่างไม่รู้ตัว ซึ่งทำให้สิ่งที่เราเจอหรือระลึกถึง แลดูเลวร้ายไปกว่าความเป็นจริงเสมอ นอกจากการวิตกกังวล ความตื่นกลัวยังผลักดันให้เราพยายามมากเกินไปในเรื่องต่างๆ ทำให้เราแบกรับความคาดหวัง หมกมุ่นความดีพอหรือความสมบูรณ์แบบ กดดันตนเอง ไม่ยอมรับความจริง หักโหมจนโทรมทรุด ฯ หรือในทางกลับกันก็ทำให้เราไม่พยายามเลย เพราะกลัวที่จะผิดหวัง หรือกลัวที่จะต้องเสียใจ ทำให้ละเลยหรือปิดโอกาสตนเอง . “ความกลัวยังทำให้เรายึดติดกับบางสิ่งมากเกินไป การยึดติดนั้นเองที่ทำให้เกิดความตึงในการใช้ชีวิตที่เกินพอดี กลายเป็นความ “ตึงเครียด” หากเรามีความกลัวไม่ดีพออยู่ภายในระหว่างการทำงาน เราอาจยึดติดผลลัพธ์ของงานมากเกินไป จนนำมาสู่ความบาดหมางระหว่างเพื่อนร่วมงาน และตนอาจหักโหมบ้างานมากเกินไปจนกายใจเหนื่อยล้า ความยึดติดนั้นเองที่ก่อน้ำหนักให้เราแบกรับ กลายเป็นความเครียดสะสมในร่างกายและจิตใจ รวมทั้งความสัมพันธ์อีกด้วย จนถึงวันที่เกินขีดจำกัดจะรับไหว . “คนแต่ละคนมีความต้านทานต่อความตึงเครียดไม่เท่ากัน บางคนทนทานรับได้ยาวนาน บางคนทนรับได้น้อย หากเรามิได้คอยดูแลหรือสังเกตกายจิตให้ดี กว่าจะรู้ตัวว่ามีความเครียดสะสมมากก็อาจถึงเกณฑ์ที่เราเริ่มทนไม่ไหวแล้วหรือเลยเกณฑ์นั้นไปแล้ว ซึ่งจะเป็นจุดที่อาการต่างๆ จะแสดงออกมาอย่างชัดเจน… Continue reading 8 ข้อคิด ไกด์โลกจิต ประจำปี 2563
ใครไม่รู้ก็โกรธ และเกลียดชังเพราะความเห็นต่างและความขัดใจ…
1 ดีของเรา ชั่วของเขา เป็นธรรมดา . เหตุผลอะไรที่ทำให้เรามักเชื่อว่าสิ่งที่ดีสำหรับตนเอง จะต้องดีสำหรับคนอื่น แม้ลึกๆ ก็รู้ว่ามันไม่ใช่แบบนั้นก็ตาม . ใช้ความรู้ตามหลักพุทธศาสนาอธิบาย เหตุผลนั้นก็เพราะเรามี อคติ สองอย่างที่เรียกว่า ฉันทาคติ คือ ความลำเอียงเพราะพึงพอใจ กับ โมหาคติ คือ ความลำเอียงเพราะหลงและความไม่รู้ . พึงพอใจกับสิ่งใด เราก็คิดไปว่ามันจะต้องดี ดีสำหรับตนเองไม่พอ ต้องดีสำหรับคนอื่นด้วย . หลงกับความคิดความเชื่อใด เพราะใจยังไม่รู้แจ้งเห็นจริงในกฏแห่งธรรมชาติ ย่อมด่วนตัดสินตีความว่ามันจะต้องเป็นแบบที่เราคิดสำหรับทุกคน . อคติเหล่านี้เกิดจาก สาม พ. คือ เพลิดเพลิน พอใจ และพะเน้าพะนอ . เพลิดเพลินในการรับรู้และการเสพความคิดนั้นๆ พอใจชอบใจกับสิ่งดังกล่าว และการคลุกคลีเอาใจไปเกลือกกลั้ว หรือเรียกว่า พะเน้าพะนออยู่กับมัน จนทำให้จิตปรุงแต่งไปเอง . เหตุผลทางจิตวิทยา คือความต้องการเป็นคนสำคัญ และอยากให้คนอื่นสนใจตนเอง . เกี่ยวข้องกันอย่างไร… เพราะสิ่งที่เชื่อว่าดี จิตมักนำมาเป็นตัวแทนของตัวตนและคุณค่าของตนเอง… Continue reading ใครไม่รู้ก็โกรธ และเกลียดชังเพราะความเห็นต่างและความขัดใจ…
อิสระแท้จริงที่ใกล้ตัว
หลายๆ ครั้งในชีวิตที่เราต้องอยู่ในสถานการณ์ที่มีข้อจำกัด อาจเจ็บไข้ได้ป่วยจนไม่อาจใช้ชีวิตตามปกติ ต้องเผชิญกับรถติดและชีวิตที่ไม่อาจไหลลื่นได้ตามที่ต้องการ ต้องอยู่ร่วมกับสถานการณ์หรือความเป็นไปอันมิได้ดั่งใจ อึดอัดขัดข้องกับเรื่องราวชีวิตที่ร้อยรัด ต้องเล่นไปตามกติกาและเงื่อนไขที่ไม่อาจกระดิกตัวอย่างง่ายดาย มันทำให้เราเป็นทุกข์เพราะริดรอนอิสรภาพอันมีค่าไป . มีความไม่แน่นอนในชีวิตมากมายที่ทำให้เราไม่อาจเป็นอิสระอย่างที่ใฝ่หวัง แล้วน้อยครั้งนักที่สิ่งนอกตัวเหล่านี้จะเป็นไปอย่างที่เราต้องการอย่างแท้จริง ทำอย่างไรเราจึงจะรู้สึกอิสระได้แม้ดำรงกับความไม่แน่นอนและข้อจำกัดของชีวิต ทางออกสำคัญทางหนึ่งคือการกลับมายังอิสระแท้จริงที่อยู่ใกล้ตัวเราเอง . . ๑ โซ่ตรวจและคุกภายใน . ในความเข้าใจของคนทั่วไป อิสระคือการสามารถทำอะไรๆ ได้ตามที่ต้องการ เป็นอิสระที่หลายคนมักพอใจและใฝ่หา แต่นั่นยังเป็นที่ภายนอก เป็นเสรีภาพในทางหนึ่งเท่านั้น แต่ยังไม่ใช่ของแท้ที่ดีที่สุด เพราะท้ายที่สุดการมีเสรีภาพเหล่านั้นก็ยังไม่เป็นอิสระจากสองอย่าง คือความทุกข์ และ เหตุของความทุกข์ ซึ่งยังคงดำรงอยู่เรื่อยไปแล้วเวียนวนซ้ำซากไม่สิ้นสุด แม้จะได้มาในสิ่งที่อยากได้ก็ตาม . อิสระมีสองประการ ได้แก่ภายนอกกับภายใน อย่างแรกคือการสามารถทำอะไรได้ตามความพอใจ ไม่ถูกปิดกั้น ขัดขวาง หรือห้ามไว้ สามารถเป็นในสิ่งที่อยากเป็น มีในสิ่งที่อยากมีได้ตามปรารถนา และสามารถพูดหรือแสดงออกอย่างไม่มีข้อจำกัด . ปัญหาของอิสระที่ภายนอกเช่นนี้ คือมักจะมีความอยากเกี่ยวข้องเสมอๆ โดยที่จะสังเกตได้จากข้อความที่พูดถึงอิสระจะมีความอยากอยู่ด้วย ไม่ปรากฏชัดเจนก็แอบซ่อนอยู่เบื้องหลัง คือการได้ เป็น ทำ หรือพูดตามที่ใจอยาก อิสระเช่นนี้ยังไม่แท้ เพราะมีความอยากเป็นเครื่องผูกมัด ยิ่งสนองตอบยิ่งถูกมัดแน่นขึ้น… Continue reading อิสระแท้จริงที่ใกล้ตัว