ขออนุโมทนากับกุศลจากการภาวนาและการเปลี่ยนแปลงตนเอง
จากการอบรม “ปฏิบัติ เขียนภาวนา” รอบกลางปี 2565 ในเดือนมิถุนายน – เดือนกรกฎาคม (เสาร์อาทิตย์ รวม 5 สัปดาห์ทาง Zoom)
มีผู้ผ่านการอบรมทั้งสิ้น 14 ท่าน ตามรายนามดังนี้
- กัญญา ปลื้ม
- วาสนา เจี๊ยบ
- กัณทิมา อ้อย
- สุภัทรา ฝน
- ศิริพร เอ๋
- รัตติพร มด
- ภาคภูมิ เบส
- ปิยมาภรณ์ จุ๊บ
- กนกนุช นุช
- รวิวรรณ แนน
- เนติกา ป้อม
- กนกวรรณ หมี
- จิตชนก ขลุ่ย
- กนกรัตน์ Ink
จากการฝึกที่ผ่านมามีอะไรบ้างที่เป็น การเปลี่ยนแปลงของตนเอง
– ทำให้รู้ว่ายึดติดอะไร ต้องปล่อยวางอะไร เป็นความตระหนักที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน
– มีสติไตร่ตรองให้สงบใจก่อนตัดสินใจแก้ไขปัญหา ไม่ปล่อยตามกลไกอัตโนมัติ ช้าลง
– รู้สึกมั่นคงมากขึ้น เพราะได้ตอกย้ำความไม่ใช่ตัวตน ไม่ต้องรู้สึกเหนื่อยคอยปกป้องดูแลหรือเฝ้าระวังตัวตน เมื่อถึงเวลาก็สลายดับลงตามธรรมชาติ
– ประจักษ์ถึงภาวะหลงและการขาดสติของตัวเองทำให้ต้องระวังความไม่รู้สึกตัว และคอยตรวจสอบผลลัพธ์อย่างรับผิดชอบต่อผลที่เกิดขึ้น
– มีสติถี่มากขึ้น รู้ตัวไวมากขึ้น รอบคอบมากขึ้น
– รับรู้อารมณ์ของจิตใจตนเองเช่น ความน้อยใจ และความรู้สึกในจิตใต้สำนึก
– ถูกเขย่าอัตตาบ่อยครั้ง แต่ก็รู้สึกดีขึ้นทุกครั้งที่ได้เท่าทันอัตตาตน
– รู้จักกการเดินจงกรมอย่างมีสติ จากที่ไม่เคยมั่นใจว่าปฏิบัติได้ถูกต้อง
มีความตื่นตัวจากการถูกอบรม สร้างความกระตือรือร้นในการตระเตรียมในการเรียนรู้
– เห็นข้อบกพร่องในตัวเองอย่างชัดเจนในการหลงเพลินและความอยาก
– เป็นจุดเริ่มต้นในการเดินทางที่ถูกที่ควร ซึ่งนำไปสู่ความสุขสงบในชีวิต
– การคิดสั้นลง ตัดความฟุ้งซ่านและความหลงกับการคิด ด้วยการกลับมาอยู่กับลมหายใจ
– ความทุกข์จากการหมกมุ่นกับความคิดหายไป
– อยู่กับลมหายใจในชีวิตประจำวันบ่อยขึ้น และคอยสังเกตกาย เวทนา จิต และธรรม
– จากคนที่ไม่ค่อยละเอียดลออ กลายเป็นคนที่สังเกตมากขึ้น เห็นธรรมชาติสวยงาม ละเอียดต่อสิ่งรอบตัว
– เลือกนิ่งเงียบได้เมื่อสิ่งต่างๆ รุมเร้าอย่างไม่ทุรนทุราย
– เห็นการปรุงแต่งให้เกิดใจจากการความยึดในตัวตน
– มีความปราณี และแสดงออกความปราณีได้
– คาดคั้นในการแสดงออกน้อยลงมาก ทำให้ปัญหาน้อยลง
– ระลึกถึงพระคุณแม่บ่อย และระลึกถึงบุคคลต่างๆ ด้วยความอ่อนโยน
– จดจ่อกับชีวิตประจำวัน ปรับเรื่องกิน อยู่ คือ , กิน กาม เกียรติ กลับสู่ความเป็นธรรมดา
– จัดตารางเวลาให้ชีวิตมีระเบียบวินัยมากขึ้น
– มองโลกตามเป็นจริงมากขึ้น ลดการปรุงแต่งทางความคิด
– จำความฝันได้
– หายใจเข้าออกยาวขึ้น
– มีสติในการเขียนมากขึ้น มองเห็นการขาดสติของตนเองจากเมื่อก่อน
– ปล่อยวางได้ดีขึ้น มองสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริงมากขึ้น
– ใจเย็นลง มองอุปสรรคเป็นการฝึกฝน ไม่อารมณ์เสีย
– เศร้าน้อยลงมากๆ และความกลัวสูญเสีย กลัวเปลี่ยนแปลง กลัวถูกรังเกียจ ลดลงไป
– ให้อภัยตัวเองได้แล้วจากสิ่งที่ทำผิดพลาด เริ่มรู้สึกรักตัวเองจากใจจริงได้เป็นครั้งแรก
– พึงพอใจกับความโดดเดี่ยว โดยปราศจากความเหงา
– กลับมาทบทวนตัวเองทุกวัน เขียนภาวนาก่อนนอนได้ต่อเนื่อง
– มองเห็นความตาย การเปลี่ยนแปลง ความไม่เที่ยง จากสิ่งต่างๆ รอบตัวได้อย่างละเอียด
– มองสิ่งต่างๆ รอบตัวอย่างไม่ตัดสินตีความ
– มีสติในการทำงาน และทำให้ทบทวนว่าตอนนี้กำลังโดนอะไรครอบงำอยู่ เราจึงเป็นทุกข์
– มีวินัยและการจัดระบบระเบียบในชีวิตมากขึ้น
– ดูลมหายใจได้อย่างละเอียด ละเอียดต่อสิ่งรอบตัว
– ช้าลง คิดก่อน หายใจก่อน ฝึกทำอะไรช้าลง
– ห้ามใจไม่ให้พูดแทรกได้
– มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่เขียน มีคนที่ทำงานบอกว่าลายมืออ่านง่ายมากขึ้น
– ก่อนแสดงความคิดเห็นออกไป อยู่กับลมหายใจก่อน ทำให้ลดความขัดแย้งลงไป และเข้าใจคนอื่นง่ายขึ้น
– สุขุมในการสื่อสาร ไม่พูดโพล่ง ยืนยันความต้องการผ่านการสื่อสารอย่างละมุนละม่อม
– ไม่ด่วนสรุปจากสิ่งที่เห็นตามความเชื่อความรู้ของตน
– แยกแยะได้ระหว่างสิ่งที่ทำ ทำด้วยความยึดหรืออยากไหม พอรู้ตัวก็คลายลงได้ดีขึ้น
– ลดความยินดียินร้ายในเวทนามากขึ้น
– เห็นโทษของความเพลิดเพลิน และการไม่ประมาณในกามคุณและกิเลสต่างๆ
– สนุกกับการขัดใจ ปักใจ และจูงใจตน ในชีวิตประจำวัน
– เกิดเจตนาปฏิบัติบูชา สืบทอดศาสนา
– ช่วยแก้ปัญหาเรื่องลมหายใจสั้น และการนอนหลับยาก
– ไวกับสิ่งที่มากระทบ และถามตัวเองทันว่า ทำเพื่ออะไร สะสมเยอะทำไม ? ไม่เหนื่อยบ้างหรือ ยังไม่พออีกหรือ ?
– ไม่โมโหตัวเองเวลาไม่ได้ทำตามเป้าหมาย
สิ่งที่เกิดขึ้นตลอดการฝึกที่ผ่านมา สอนอะไรบ้าง
– ทั้งดีและร้ายต่างมีภัยแฝง ไม่ควรยึดติดและโลภกับสิ่งเหล่านี้
– หนทางในการพ้นทุกข์ คือการละอัตตาให้มากที่สุด
– ลมหายใจอยู่กับเรามาตั้งแต่เกิด แต่เราไม่เคยรับรู้
– เราปล่อยชีวิตขึ้นลงตามผัสสะที่ถาโถมเข้ามารอบตัว โดยไม่มีหลักยึด
– ลมหายใจนี่แหละ จะเป็นหลุมหลบภัย เป็นที่ยึดเหนี่ยวเวลาต่อสู้กับ “ยลยิล ยวนยั่ว”
– เมื่อเรากลับมาอยู่กับลมหายใจ เราจะออกจากวงจร อยาก-ยึด-ยุ่ง-ยาก-ย้วย ในชีวิตได้
– ทุกครั้งที่คิด ความทุกข์ได้เกิดขึ้น
– การภาวนามีหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับความตั้งใจทำ
– การเขียนภาวนาเป็นอีกรูปแบบที่ช่วยให้มีสติมากขึ้น เพราะถ้าขาดสมาธิก็จะเกิดการเขียนผิด และการหลงไปในความคิด
– การเขียนเมื่อหายใจออก ช่วยฝึกในการเอาออกให้มากขึ้น ลดละความอยากและความยึดติดในตัวเราและของๆ เรา เอากิเลสและคาร์บอกไดออกไซด์ซึ่งเป็นโทษออกจากทั้งกายใจ
– การถูกสะท้อนจากครูอาจารย์ทำให้เห็นตนเองทั้งทางโลกและทางธรรมมากขึ้น
– ชีวิตเปี่ยมไปด้วยบททดสอบที่ยาก ต้องตั้งสติ ไม่ประมาท ต้องปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้นทีละน้อย และลดละเลิกอุปนิสัยที่ติดตัวมานาน
– ความรู้สึกทั้งหลาย สังขารทั้งหลาย สิ่งที่ดีมีคุณค่าทั้งหลาย ล้วน “อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา”
– การทำงานและการใช้ชีวิตที่ผ่านมาเต็มไปด้วยความอยาก การใช้ชีวิตด้วยกิเลสนำหน้าทำให้เป็นทุกข์ ที่บางครั้งไม่สามารถตอบสนองความอยากได้ อยากเป็น อยากมี ได้ทั้งหมด
– การตัดวงจรความอยาก ความยึดออกบ้าง ทำให้เราเป็นสุขมากขึ้น
– เราสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ดีขึ้นได้เสมอ
– ครูและเพื่อนที่ดีเป็นผู้ให้คำแนะนำเรา สะท้อนเรา จงเปิดใจรับฟังและยอมรับมาพัฒนาตน
– การติดสุข การไขว่คว้าหาความสุข ทำให้เป็นทุกข์ ทำให้ติดในมายาคติว่าสิ่งที่ตนเองเป็นและยึดมันดี ดูดี
– การรู้ตน นำมาสู่การฝึกละลดตัวตน
– ต้องฝึกสติในระหว่างวันมากขึ้น ไม่ใช่เพียงในรูปแบบเท่านั้น
– ควรหมั่นโยนิโสมนสิการเป็นประจำวัน และระวังวิปัสสนูปกิเลส ไม่ให้เกิดเป็นตัวตน
– ควรเพิ่มวินัย มีฐานของสติ ฝึกใช้คำบริกรรม และสังเกตอาสวะต่างๆ เพื่อปรับปรุงตน
– ยิ่งหา ยิ่งไม่เจอ ยิ่งอยากสงบ ยิ่งไม่สงบ
– เราเป็นอะไร และไม่เป็นอะไร ได้มากกว่าที่เราคิด
– เดินทางสายกลาง อยู่อย่างปากงูอย่างไร ไม่โดนเขี้ยวงู
– การออกนอกสภาพแวดล้อมเดิม และทำสิ่งใหม่ๆ ทำให้เรามีคุณค่ามากขึ้น เห็นเวลามีคุณค่ามากขึ้น
– การได้กลับมาอยู่กับตัวเอง ทำให้ไม่ต้องกดดันใครๆ แม้แต่กับตัวเอง
– ถ้าเรายึดติด สิ่งใด เราย่อมเป็นทุกข์
– ทำวันนี้ให้ดีที่สุด อยู่กับปัจจุบัน เพราะไม่มีอะไรที่เที่ยงแท้แน่นอน
หลักสูตร “ปฏิบัติ เขียนภาวนา”
https://www.dhammaliterary.org/meditation-writing/
รวมคำบอกเล่าสิ่งที่ได้รับจากการเขียนภาวนา
https://drive.google.com/file/d/1EAa22K8fTIRsYu5Zm7-Cl8IUAVh5os7s/view?usp=sharing