บทเรียน เขียนค้นตน #เขียนเปลี่ยนชีวิต รุ่นที่ ๑๖
“ระหว่างทำกิจกรรมบันทึก สองด้านตัวตน
ขั้นตอนแรก
ภาพวาดแรกเป็นตัวตนสองตัวตน ตัวตนสัตว์ร้าย รุนแรง คุกรุ่น หมกมุ่น ร้อน
ตัวตนผู้โน้มน้าว ตอนที่ระบายรู้สึกเย็น รู้สึกกว้าง แผ่ขยาย
เหตุการณ์ที่นึกถึงในด้านผู้โน้มน้าว ระหว่างที่เขียนโดยไม่หยุด เป็นความรู้สึกดีดี รนู้สึกอยากให้เค้าทั้งคู่เข้าใจกัน ไม่อยากให้ถูกบังคับ ฝืนใจทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ (เพราะเคยเจอมากับตัวเอง) แต่สุดท้ายแล้วก็อยู่ที่คนทั้งสองนั้นที่เป็นคนเลือกตัดสินใจจะทำอย่างไร
ด้านสัตว์ร้าย เป็นเหตุการณืที่เมื่อประสบครั้งใด จะคุกรุ่นขึ้นทันทีทุกครั้ง สัตว์ร้ายจะผงกหัวขึ้นทุกครั้ง เหมือนสัตว์ที่นอนอยู่อย่างสงบ แต่เมื่อถูกใครมาแหย่ หรือเข้ามาถึงตัว จะผงกขึ้นตั้งท่าทันที ไม่อาจสงบใจให้หลับต่อได้ แต่ก็ไม่ได้ทำอะไรโต้ตอบ ได้ตั้งท่า มอง จ้อง แต่ไม่อาจหลับต่อได้ บางครั้งลุกขึ้นมาขู่ บางครั้งขยับตัวให้รู้ว่าอยู่ตรงนั้น แต่ไม่ฉก ไม่กัด ไม่ทำร้ายคนเหล่านั้น
.
ขั้นที่สอง
ระหว่างสนทนา รู้สึกถึงตัวตน และความรู้สึกของสัตว์ร้ายมากขึ้น ก่อนหน้านี้เข้าใจว่ามีแต่ความโกรธ ควาคับข้องใจ แต่ไม่ใช่แค่นั้น มันมีความพยายามที่เราเคยทำมา ความฝัน ความรักในสิ่งนั้น ความอุตสาหะที่ก่อร่างสร้างมาเพื่อสิ่งนั้น ความภูมิใจในสิ่งนั้น มันถูกริดรอนไปโดยไม่ชอบธรรม มันจึงติดแน่นอยู่ ซึ่งสิ่งเหล่านั้นยังคงอยู่ในตัวเรา
ตัวตนผู้โน้มน้าว ตอนที่เขียนโดยยไม่หยุด รู้สึกถึงการปล่อย ไม่ผูกไว้ ชักจูงให้หันกลับมามองตัวเองในปัจจุบันที่เป็นอยู่ ให้ใช้ความรู้สึกนั้นมาผลักดัน เปลี่ยนมุมมอง ให้หันมาสู้อีกครั้งในแบบของตัวเอง เดินในทางที่ตัวเองเลือกเอง
รู้สึกสัตว์ร้ายตัวน้อยอารมณ์อ่อนลง รู้สึกได้เช่นนั้น
.
ขั้นที่สาม
เหตุการณ์แรก เป็นความรู้สึกที่รุนแรงมากในตอนนั้น รู้สึกอยากทำร้ายคนเหล่านั้น อยากทำร้ายมากๆ แต่ทำไม่ได้ หาทางออกไม่ได้ จึงหันกลับมาที่ตัวเอง รู้สึกตัวเองอ่อนด้อย (ตอนนั้นยังเด็ก) ทำอะไรไม่ได้ จึงทำร้ายตัวเอง เป็นครั้งแรกและครั้งเดียวที่ทำร้ายตัวเอง โกรธมากจนไม่รู้จะทำยังงัย และเหตุการณ์ในครั้งนั้นก็หายไปนานมาก จนมาระลึกถึงอีกครั้งตอนคอร์สพลังแห่งจิต
เมื่อนึกว่ามีสัตว์ร้ายเตรียมออกมาทำร้าย เหตุการณ์นี้ผุดขึ้นมาเป็นสิ่งแรก มันแค้นใจ มันโกรธ ผู้โน้มน้าว บอกกับสัตว์ร้ายตัวน้อยในตอนนั้นถึงความเป็นจริงในตอนนี้ มองให้เห็นความจริงที่เป็นอยู่ตอนนี้ ให้อภัยตัวเอง อย่าโกรธแค้นคนอื่น ภูมิใจในตัวเองที่เป็นอยู่ในวันนี้ ขอบคุณตัวเองในวันนี้
เหตุการณ์ที่สอง
สัตว์ร้ายตัวจิ๋ว เป็นความรู้สึกอยากชนะ อยากลบคำปรามาสนั้น ต้องทำยังงัยล่ะ ก็ต้องทำให้เห็นงัย เอาให้หงายไปเลย จากที่ดูถูก จากที่ปรามาส ต้องทำให้เอ่ยปากชื่นชมให้ได้
.
ขั้นที่สี่
ภาพวาดการอยู่ร่วมกัน เข้าใจสัตว์ร้ายในใจ ว่าเค้ารู้สึกยังงัยกันแน่ เค้าอึดอัดเรื่องอะไร เค้าอ่อนไหวเรื่องไหน ดูแลเค้า เข้าใจเค้า ไม่โทษเค้า รักเค้า ขณะเดียวกันเอาความรู้สึกของเค้ามาผลักดันตัวเอง เรียนรู้ตัวเอง ให้อภัยตัวเอง ก้าวไปด้วยกัน
หลังทำกิจกรรม
เข้าใจความรู้สึก ความคิดของสัตว์ร้ายในแต่ละเหตุการณ์มากขึ้น แต่ก่อนเข้าใจว่าคือความโกรธเพียงอย่างเดียว แต่่มันไม่ใช่ สัตว์ร้ายตัวน้อยที่เกิดขึ้นในแต่ละสถานการณ์มีที่มาที่ไป ไม่ใช่อยู่ดีดีจะโกรธขึ้นมาแบบดื้อๆ ไม่ใช่เลย นันท์เข้าใจว่าสัตว์ร้ายตัวน้อยของนันท์เป็นตัวแทนของความโกรธ อันนี้นันท์ดูจากคำแรกของสัตว์ร้าย ขึ้นมาด้วยคำว่า โกรธ ทุกครั้ง
จากเหตุการณ์ความโกรธที่หาทางออกไม่ได้เมื่อวัยเยาว์ จนถึงกับทำร้ายตัวเองเมื่อครั้งนั้น อาจเป็นความฝังใจ จนตัวเองไม่แสดงออก หรือพยายามไม่สนใจความโกรธนั้น จนก่อตัวและหาที่มั่นในตัวนันท์เอง และจากเหตุการณ์นั้น จึงมองความโกรธว่าเป็นสิ่งไม่ดี ควรหลีกเลี่ยง แต่ไม่ใช่เลย มันมีที่มาที่ไปในตัวของเค้าเอง
จากที่ทำกิจกรรมนี้ เมื่ออ่านทวนการสนทนา พบว่า สัตว์ร้ายบางตัวต้องการความท้าทายเพื่อเอาชนะ บางตัวต้องการความเข้าใจ ความเห็นใจ กำลังใจ บางตัวกลับต้องสอนให้รู้จักการปล่อย ปล่อยไป ไม่ถือไว้ ไม่ยึดไว้ แต่หากทุกตัวรู้จักการปล่อย ไม่ยึดติด ใจคงสงบมากยิ่งยิ่งขึ้นไปค่ะ
.
ขอบคุณค่ะ”
นันท์ ศาริณี พนักงานบริษัท
.
www.dhammaliterary.org